ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องภิกษุณีทั้งหลายอยู่ป่า
[๔๓๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า ถูกพวกนักเลงทำมิดีมิร้าย ภิกษุ ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า รูปใดอยู่ ต้อง อาบัติทุกกฏ” สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๖๐}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

โรงเก็บของไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่” ที่อยู่ไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนวกรรม” นวกรรมไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นของส่วนตัวได้”
เรื่องแต่งตั้งภิกษุณีให้เป็นเพื่อนภิกษุณีลูกอ่อน
[๔๓๒] สมัยนั้น สตรีคนหนึ่งมีครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อนางบวช แล้วจึงคลอดบุตร ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้ อย่างไรดี” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดูจนกว่าเด็กจะ รู้เดียงสา”๑- ต่อมา ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่น จะอยู่กับเด็กนี้ก็ไม่ได้ เราจะปฏิบัติอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น” @เชิงอรรถ : @ คือจนกว่า จะเคี้ยว จะกิน จะอาบน้ำ จะแต่งตัวได้ด้วยตนเอง (วิ.อ. ๓/๔๓๒/๔๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๖๑}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้น ต้องขอร้อง ภิกษุณี จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม วาจาว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น เพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี ชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้ ต่อมา ภิกษุณีเพื่อนของนางได้มีความคิดกันดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้อย่างไรดี” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติต่อเด็กนั้นเหมือน ปฏิบัติต่อบุรุษอื่น โดยเว้นการนอนร่วมเรือน” [๔๓๓] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต ลำดับ นั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่นจะอยู่กับ เราก็ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๓๖๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนีขันธกะ]

๓. ตติยภาณวาร

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ในเบื้องต้น ต้องขอร้องภิกษุณี จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น เพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี ผู้มีชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๗ หน้าที่ ๓๖๐-๓๖๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=7112&Z=7167                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=597              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=7&item=597&items=4              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=7&item=597&items=4                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/brahmali#pli-tv-kd20:23.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/horner-brahmali#Kd.20.23



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :