ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในสังฆาทิเสสกัณฑ์
[๒๔๘] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาทเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ทรงปรารภใคร เพราะเรื่องอะไร ฯลฯ ใครนำมา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้ก่อคดีพิพาทเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาก่อคดีพิพาท ถาม : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมีพระบัญญัติ พระอนุบัญญัติ อนุป- ปันนบัญญัติ อยู่หรือ ตอบ : ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ไม่มีพระอนุ- บัญญัติและอนุปปันนบัญญัติ ถาม : มีสัพพัตถบัญญัติ ปเทสบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีสัพพัตถบัญญัติ ถาม : มีสาธารณบัญญัติ อสาธารณบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีอสาธารณบัญญัติ ถาม : มีเอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติอยู่หรือ ตอบ : มีเอกโตบัญญัติ ถาม : บรรดาพระปาติโมกขุทเทส ๔ อุทเทส สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑ นี้ จัดเข้าในอุทเทสไหน นับเนื่องในอุทเทสไหน ตอบ : จัดเข้าในนิทานุทเทส นับเนื่องในนิทานุทเทส ถาม : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสไหน ตอบ : มาสู่อุทเทส โดยอุทเทสที่ ๓ ถาม : บรรดาวิบัติ ๔ อย่าง เป็นวิบัติอย่างไหน ตอบ : เป็นสีลวิบัติ ถาม : บรรดากองอาบัติ ๗ กอง เป็นกองอาบัติไหน ตอบ : เป็นกองอาบัติสังฆาทิเสส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

ถาม : บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : เกิดด้วยสมุฏฐาน ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่ เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ ถาม : ใครนำมา ตอบ : พระเถระทั้งหลายนำสืบๆ กันมา
รายนามพระเถระผู้ทรงจำพระวินัยสืบกันมา
พระเถระเหล่านี้ คือ พระอุบาลี พระทาสกะ พระโสณกะ พระสิคควะ และพระโมคคัลลีบุตร รวมเป็น ๕ รูป เป็นผู้นำพระวินัยสืบๆ กันมาในชมพูทวีปอันมีสิริ จากนั้น พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ คือ พระมหินทะ พระอิฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ ฯลฯ พระเถระผู้ประเสริฐมีปัญญามากเหล่านี้ รู้พระวินัย ฉลาดในมรรค ได้ประกาศพระวินัยปิฎกไว้ในเกาะตามพปัณณิ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะการบวชให้สตรีผู้เป็นโจรเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สตรีผู้เป็นโจร ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วย ๒ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิดทางวาจากับจิต มิใช่เกิดทางกาย (๒) เกิดทางกายวาจากับจิต ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียวเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งไปสู่ละแวกบ้านรูปเดียว ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๓ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๓ พระอนุบัญญัติ บรรดา สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิก สมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนีย กรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอกการกสงฆ์ ทั้ง ไม่รับรู้ฉันทะของคณะเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาเรียกภิกษุณีที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง อุกเขปนียกรรม โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ให้กลับเข้าหมู่ โดยไม่บอก การกสงฆ์ ทั้งไม่รับรู้ฉันทะของคณะ ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๔ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีมีความกำหนัด รับของเคี้ยว หรือของฉันจาก มือของชายผู้กำหนัด ด้วยมือของตนแล้วฉันเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีสุนทรีนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีสุนทรีนันทากำหนัดรับอามิสจากมือของชายผู้กำหนัด ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๕ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นปฐมปาราชิกสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับ ประเคนของนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ดังนี้ เป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีรูปหนึ่ง ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีรูปหนึ่งส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้า ชายผู้นั้น จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตาม ก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นั้นจะถวายสิ่งใดเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตามแก่ท่าน ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วยมือของตน แล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๖ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๓ สมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้โกรธ ไม่พอใจ ไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่ง สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีโกรธไม่พอใจกล่าวอย่างนี้ว่า “ดิฉันขอบอก คืนพระพุทธ บอกคืนพระธรรม บอกคืนพระสงฆ์ บอกคืนสิกขา” ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีผู้ถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่องโกรธ ไม่ ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีจัณฑกาลี ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีจัณฑกาลีถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์บางเรื่อง โกรธไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียง เพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์

ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีทั้งหลายคลุกคลีกัน ไม่ยอมสละกรรม จน กระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีหลายรูป ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีหลายรูป อยู่คลุกคลีกัน ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๙ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน ฯลฯ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติสังฆาทิเสส เพราะภิกษุณีส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่” ยังไม่ยอมสละกรรม จนกระทั่งสงฆ์สวด สมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้งเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภภิกษุณีถุลลนันทา ถาม : เพราะเรื่องอะไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [ภิกขุนีวิภังค์]

๑. กัตถปัญญัตติวาร ๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์

ตอบ : เพราะเรื่องที่ภิกษุณีถุลลนันทาส่งเสริมกล่าวชักชวนว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่” ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ บรรดาสมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๑ สมุฏฐาน เป็นธุรนิกเขปสมุฏฐาน
ฯลฯ
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
คำถาม - คำตอบในปาฏิเทสนียกัณฑ์
ฯลฯ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘
ถาม : พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบัญญัติปาฏิเทสนียะ เพราะภิกษุณีออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันเป็นปัจจัย ณ ที่ไหน ตอบ : ทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ถาม : ทรงปรารภใคร ตอบ : ทรงปรารภพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ถาม : เพราะเรื่องอะไร ตอบ : เพราะเรื่องที่พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ในปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘ นั้นมี ๑ พระบัญญัติ ๑ พระอนุบัญญัติ บรรดา สมุฏฐานแห่งอาบัติ ๖ สมุฏฐาน เกิดด้วยสมุฏฐาน ๔ สมุฏฐาน คือ (๑) เกิด ทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๒) เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิต (๓) เกิดทางกายกับจิต มิใช่เกิดทางวาจา (๔) เกิดทางกายวาจากับจิต
ฯลฯ
กัตถปัญญัตติวารที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๓๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๓๒๑-๓๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=56              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=5583&Z=5724                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=793              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=793&items=11              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=793&items=11                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.9/en/brahmali#pli-tv-pvr2.9:9.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr2.9/en/horner-brahmali#Prv.2.9:Bi-Ss.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :