ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท

คาถาสังคณิกะ
ว่าด้วยกลุ่มคาถา
๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท
ว่าด้วยสิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน ๗ พระนคร
พระอุบาลีเข้าเฝ้าทูลถามปัญหา
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “เธอห่มผ้าเฉวียงบ่า ประณมมือ ดูเหมือนมีความมุ่งหวังมา ณ สถานที่นี้เพื่อประโยชน์อะไร” ท่านพระอุบาลีกราบทูลว่า “สิกขาบทที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในวินัยทั้งสอง มาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้นมีเท่าไร ทรงบัญญัติ ณ พระนครกี่นคร” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปัญญาของเธอดี เธอสอบถามอย่างแยบคาย เพราะฉะนั้น เราจักบอกเธอ สมกับที่เธอฉลาดถาม สิกขาบทที่บัญญัติไว้ในวินัยทั้งสองมาสู่อุทเทสทุกวันอุโบสถนั้น มี ๓๕๐ สิกขาบท เราบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร” พระอุบาลีกราบทูลว่า “สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ พระนคร ๗ นคร พระนครไหนบ้าง ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงพระนคร ๗ นครนั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังถ้อยพระดำรัส ของพระองค์แล้วจะปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อความเกื้อกูลแก่ข้าพระพุทธเจ้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิกขาบทเหล่านั้น เราบัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ณ กรุงราชคฤห์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๐๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท

ณ กรุงสาวัตถี ณ เมืองอาฬวี ณ กรุงโกสัมพี ณ แคว้นสักกะ ณ ภัคคชนบท”
สิกขาบทบัญญัติ
พระอุบาลีกราบทูลว่า “สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมีเท่าไร ณ กรุงราชคฤห์มีเท่าไร ณ กรุงสาวัตถีมีเท่าไร ณ เมืองอาฬวีมีเท่าไร ณ กรุงโกสัมพีมีเท่าไร ณ แคว้นสักกะมีเท่าไร ณ ภัคคชนบทมีเท่าไร พระองค์อันข้าพระพุทธเจ้าทูลถามแล้ว ขอได้โปรดตอบข้อนั้น แก่ข้าพระพุทธเจ้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลีมี ๑๐ สิกขาบท ณ กรุงราชคฤห์มี ๒๑ สิกขาบท ณ กรุงสาวัตถี รวมทั้งหมดมี ๒๙๔ สิกขาบท ณ เมืองอาฬวีมี ๖ สิกขาบท ณ กรุงโกสัมพีมี ๘ สิกขาบท ณ แคว้นสักกะมี ๘ สิกขาบท ณ ภัคคชนบทมี ๓ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ ณ กรุงเวสาลี ตามลำดับต่อไป สิกขาบทว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม สิกขาบทว่าด้วยการพรากกายมนุษย์ สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีจริง สิกขาบทว่าด้วยทรงอติเรกจีวร สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำล้วน สิกขาบทว่าด้วยการบอกอุตตริมนุสสธรรมที่มีจริง สิกขาบทว่าด้วยการฉันปรัมปรโภชนะ สิกขาบทว่าด้วยการรับประเคนอาหารนอกจากน้ำและไม้ชำระฟัน สิกขาบทว่าด้วยการให้ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก ในหมู่ภิกษุณี สิกขาบทว่าด้วยภิกษุณีด่า บริภาษภิกษุ รวมสิกขาบทที่บัญญัติ ณ กรุงเวสาลี ๑๐ สิกขาบท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๐๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท

เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ตามลำดับต่อไป สิกขาบทว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ในกรุงราชคฤห์ สิกขาบทว่าด้วยใส่ความภิกษุ ๒ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยทำลายสงฆ์และประพฤติตาม ๒ สิกขาบท สิกขาบทว่าด้วยการรับอันตรวาสก(จีวร) สิกขาบทว่าด้วยแลกเปลี่ยนรูปิยะ สิกขาบทว่าด้วยการออกปากขอด้าย สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ สิกขาบทว่าด้วยฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้จัดเตรียม สิกขาบทว่าด้วยการฉันภัตตาหารในที่พักแรม สิกขาบทว่าด้วยการฉันคณโภชนะ สิกขาบทว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป สิกขาบทว่าด้วยการสรงน้ำนอกสมัย สิกขาบทว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี สิกขาบทว่าด้วยการให้จีวร สิกขาบทว่าด้วยการไม่ห้ามภิกษุณีผู้คอยบงการ สิกขาบทว่าด้วยการเที่ยวดูมหรสพบนยอดเขา สิกขาบทว่าด้วยการไม่หลีกจาริกไป(๒ สิกขาบท) สิกขาบทว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาโดยให้ปริวาสิกฉันทะ สิกขาบทเหล่านี้บัญญัติ ณ กรุงราชคฤห์ รวม ๒๑ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ตามลำดับต่อไป ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๖ อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๒๔ สิกขาบทที่เรียกว่าขุททกสิกขาบทมี ๑๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๐๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๑. สัตตนคเรสุปัญญัตตสิกขาบท

สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ ๑๐ สิกขาบท๑- เสขิยวัตร ๗๒ สิกขาบท รวมสิกขาบททั้งหมดที่เราบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี ๒๙๔ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ตามลำดับต่อไป สิกขาบทว่าด้วยการก่อสร้างกุฎี สิกขาบทว่าด้วยการทำสันถัตผสมใยไหม สิกขาบทว่าด้วยนอนร่วมกับอนุปสัมบัน สิกขาบทว่าด้วยการขุดดิน สิกขาบทว่าด้วยการพรากภูตคาม สิกขาบทว่าด้วยการเอาน้ำมีสิ่งมีชีวิตรดหญ้าหรือดิน รวมสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ เมืองอาฬวี ๖ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงโกสัมพี ตามลำดับต่อไป สิกขาบทว่าด้วยการสร้างวิหารใหญ่ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุเป็นคนว่ายากสอนยาก สิกขาบทว่าด้วยการกล่าวกลบเกลื่อน สิกขาบทว่าด้วยการติดตั้งบานประตู สิกขาบทว่าด้วยการดื่มสุราและเมรัย สิกขาบทว่าด้วยไม่เอื้อเฟื้อ ต่อคำตักเตือน สิกขาบทว่าด้วยกล่าวตักเตือนโดยชอบธรรม สิกขาบทว่าด้วยการฉันน้ำนมเสียงดังซู้ดๆ รวม ๘ สิกขาบท เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ (๘ สิกขาบท)ตามลำดับต่อไป สิกขาบทว่าด้วยการให้ซักขนเจียม สิกขาบทว่าด้วยบาตรมีรอยซ่อม ๕ แห่ง สิกขาบทว่าด้วยเข้าไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่อยู่ สิกขาบทว่าด้วยขอเภสัช @เชิงอรรถ : @ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่น่าตำหนิ หมายถึงปาฏิเทสนียะ ๑๐ สิกขาบท คือ ปาฏิเทสนียะ สิกขาบท @ที่ ๑ ที่ ๓ ของภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๕๒/๖๒๗, ๕๖๒/๖๓๕) และปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๑-๘ @ของภิกษุณี (วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๑๒๒๘/๓๘๕, ๓/๑๒๓๔/๓๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๐๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๒. จตุวิบัติ

สิกขาบทว่าด้วยการทำกล่องเข็ม สิกขาบทว่าด้วยการอยู่ในเสนาสนะป่า สิกขาบทว่าด้วยการใช้น้ำชำระ สิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาท เรากล่าวไว้ในหมู่ภิกษุณี เธอจงฟังสิกขาบทที่เราบัญญัติ ณ ภัคคชนบท ตามลำดับต่อไป สิกขาบทว่าด้วยก่อไฟผิง สิกขาบทว่าด้วยการจับภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอามิส สิกขาบทว่าด้วยการเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวสุกในละแวกบ้าน สิกขาบททั้งหลาย คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๗ นิสสัคคีย์ ๘ ขุททกะ ๓๒ สิกขาบทที่น่าตำหนิ(ปาฏิเทสนียะ) ๒ เสขิยวัตร ๓ อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ บัญญัติ ณ ๖ พระนคร รวม ๕๖ สิกขาบท พระโคดมผู้มีพระยศทรงบัญญัติ ณ กรุงสาวัตถี รวมทั้งหมด ๒๙๔ สิกขาบท”
๒. จตุวิบัติ
ว่าด้วยวิบัติ ๔
ทรงพยากรณ์อาบัติหนัก และอาบัติเบา เป็นต้น [๓๓๖] พระอุบาลีกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ทูลถามปัญหาข้อใดกับพระองค์ พระองค์ได้ตรัสแก้ปัญหาข้อนั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทูลถามเรื่องใดๆ พระองค์ก็ได้ทรงแก้เฉพาะเรื่องนั้นๆ โดยมิได้ทรงแก้โดยประการอื่น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอทูลถามปัญหาข้ออื่นกับพระองค์ ขอพระองค์โปรดตอบปัญหาข้อนั้นต่อไป คือ อาบัติหนัก อาบัติเบา อาบัติที่มีส่วนเหลือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๐๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๒. จตุวิบัติ

อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ อาบัติชั่วหยาบ อาบัติที่ไม่ชั่วหยาบ สิกขาบทเป็นยาวตติยกะ สิกขาบททั่วไป สิกขาบทไม่ทั่วไป สิกขาบทที่จำแนกไว้ระงับด้วยสมถะ ๑ ขอพระองค์ได้โปรดชี้แจงเรื่องนั้นแม้ทั้งหมดเถิด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะฟังพระดำรัสของพระองค์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อาบัติหนักมี ๓๑ ในอาบัติหนักเหล่านั้น อาบัติไม่มีส่วนเหลือมี ๘ อาบัติหนักจัดเป็นอาบัติชั่วหยาบ อาบัติชั่วหยาบจัดเป็นสีลวิบัติ
สีลวิบัติ และอาจารวิบัติ
ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต คือ ด่าด้วยประสงค์จะล้อเล่น อาบัตินี้นั้น รวมเรียกว่า อาจารวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ
บุคคลมีปัญญาเขลาทั้งหลาย ถูกโมหะครอบงำ ถูกอสัทธรรมรุมล้อม ยึดถือความเห็นวิปริต กล่าวตู่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้นั้น รวมเรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
อาชีววิบัติ
ภิกษุมีความปรารถนาชั่ว ถูกความอยากครอบงำ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม ที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นจริง เพราะเหตุแห่งอาชีวะ๑- เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุทำหน้าที่ ชักสื่อ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุกล่าวว่า ภิกษุรูปใด @เชิงอรรถ : @ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ คือมุ่งเลี้ยงชีวิต (วิสุทฺธิ.มหา.ฏีกา ๑/๑๑๖/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๓. เฉทนกาทิ

อยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะ การณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน เพราะเหตุ แห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะ ภิกษุณีออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตน แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ ภิกษุไม่อาพาธออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาเพื่อตน แล้วฉัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะ เพราะการณ์แห่งอาชีวะนี้นั้น รวมเรียกว่า อาชีววิบัติ
ยาวตติยกสิกขาบท
ยาวตติยกะ ๑๑ สิกขาบทนั้น เธอจงฟังตามลำดับต่อไป อุกขิตตานุวัตติกาสิกขาบท๑- ยาวตติยกสังฆาทิเสส ๘ สิกขาบท๒- อริฏฐสิกขาบท จัณฑกาลีสิกขาบท๓- สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อว่า ยาวตติยกสิกขาบท”
๓. เฉทนกาทิ
ว่าด้วยเฉทนกสิกขาบท เป็นต้น
ทรงพยากรณ์เฉทนกสิกขาบท และเภทนกสิกขาบท เป็นต้น
[๓๓๗] พระอุบาลีกราบทูลว่า “สิกขาบทว่าด้วยการตัดมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมีเท่าไร สิกขาบท ว่าด้วยการรื้อมีเท่าไร สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมีเท่าไร สิกขาบทว่า ด้วยการสมมติภิกษุมีเท่าไร สิกขาบทว่าด้วยการทำที่สมควรมีเท่าไร สิกขาบทที่ว่า ด้วยอย่างยิ่งมีเท่าไร สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ ทรงบัญญัติว่า ‘รู้อยู่’ มีเท่าไร” @เชิงอรรถ : @ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๖๖๘/๑๔ @ สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๑๐-๑๑-๑๒-๑๓ ของภิกษุและสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗-๘-๙-๑๐ ของภิกษุณี @ สิกขาบทที่ ๖ แห่งตุวัฏฏวรรค วิ.ภิกฺขุนี. (แปล) ๓/๙๕๕/๒๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๑๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [คาถาสังคณิกะ]

๔. อสาธารณาทิ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สิกขาบทว่าด้วยการตัดมี ๖ สิกขาบทว่าด้วยการทำลายมี ๑ สิกขาบทว่า ด้วยการรื้อมี ๑ สิกขาบทในปาจิตตีย์ว่าด้วยไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการ สมมติภิกษุมี ๔ สิกขาบทว่าด้วยการกระทำที่สมควรมี ๗ สิกขาบทที่ว่าด้วยอย่าง ยิ่งมี ๑๔ สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระราชาผู้สูงศักดิ์ทรงบัญญัติว่า ‘รู้อยู่’ มี ๑๖ สิกขาบท”


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๐๕-๕๑๒. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=89              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=8789&Z=8904                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1016              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1016&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10852              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1016&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10852                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr10/en/horner-brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :