ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๕. อธิกรณาธิปปายะ

๕. อธิกรณาธิปปายะ
ว่าด้วยอธิบายอธิกรณ์
วิวาทาธิกรณ์
[๓๔๘] ถาม : วิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์หรือ ตอบ : วิวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ แต่เพราะวิวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นอธรรม ฯลฯ นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น นี้เรียกว่า วิวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะวิวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็น อาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะวิวาทาธิกรณ์ เป็นปัจจัย อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้
อนุวาทาธิกรณ์
ถาม : อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิ- กรณ์หรือ ตอบ : อนุวาทาธิกรณ์ ไม่เป็นอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ แต่ เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อม มีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุด้วย สีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๕. อธิกรณาธิปปายะ

การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท การให้กำลัง สนับสนุนในเรื่องนั้น นี้เรียกว่า อนุวาทาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อม ต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอนุวาทาธิกรณ์เป็นปัจจัย อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ ย่อมมี อย่างนี้
อาปัตตาธิกรณ์
ถาม : อาปัตตาธิกรณ์ เป็นกิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทา- ธิกรณ์หรือ ตอบ : อาปัตตาธิกรณ์ ไม่เป็นกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ แต่เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนอาบัติทั้ง ๕ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์ นี้เรียกว่าอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันใน เพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็น อนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ สงฆ์ทำกรรม ตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมมีอย่างนี้
กิจจาธิกรณ์
ถาม : กิจจาธิกรณ์ เป็นวิวาทาธิกรณ์ เป็นอนุวาทาธิกรณ์ เป็นอาปัตตา- ธิกรณ์หรือ ตอบ : กิจจาธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ แต่เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมมีได้ เปรียบเหมือนอะไร เปรียบเหมือนความมีแห่งกิจ ความมีกิจอันจะพึงทำ ของสงฆ์ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม นี้เรียกว่า กิจจาธิกรณ์ สงฆ์วิวาทกันในเพราะอนุวาทาธิกรณ์ จัดเป็นวิวาทาธิกรณ์ เมื่อวิวาทกัน ย่อมโจท จัดเป็นอนุวาทาธิกรณ์ เมื่อโจทย่อมต้องอาบัติ จัดเป็นอาปัตตาธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๒๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๗. วิสัชชนาวาร

สงฆ์ทำกรรมตามอาบัตินั้น จัดเป็นกิจจาธิกรณ์ เพราะกิจจาธิกรณ์เป็นปัจจัย วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ย่อมมีอย่างนี้
๖. ปุจฉาวาร
ว่าด้วยวาระแห่งการถาม
อธิบายสมถะ
[๓๔๙] สติวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด สติวินัยมี ในที่นั้น อมูฬหวินัยมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด อมูฬห- วินัยมีในที่นั้น ปฏิญญาตกรณะมีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ปฏิญญาตกรณะมีในที่นั้น เยภุยยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัย มีในที่ใด เยภุยยสิกามีในที่นั้น ตัสสปาปิยสิกามีในที่ใด สัมมุขาวินัยมีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ตัสสปาปิยสิกามีในที่นั้น ติณวัตถารกะมีในที่ใด สัมมุขาวินัย มีในที่นั้น สัมมุขาวินัยมีในที่ใด ติณวัตถารกะมีในที่นั้น


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๒๘-๕๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=93              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9202&Z=9260                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1054              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1054&items=5              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1054&items=5                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/brahmali#pli-tv-pvr11:32.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/horner-brahmali#Prv.11.1.12



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :