ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ว่าด้วยเรื่องไตรเพท

๑๓. เตวิชชสูตร
ว่าด้วยเรื่องไตรเพท
[๕๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อมนสากฏะ ประทับอยู่ ณ อัมพวัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ด้านเหนือหมู่บ้านมนสากฏะ [๕๑๙] สมัยนั้น ในหมู่บ้านมนสากฏะ มีพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียง มาพักอาศัยอยู่หลายคน คือ๑- จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุสโสณิพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์๑- และยังมีพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียง คนอื่นๆ อีก [๕๒๐] ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพกับภารัทวาชมาณพไปเดินเล่น สนทนากันใน เรื่องทางและไม่ใช่ทาง วาเสฏฐมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า “ทางที่โปกขรสาติพราหมณ์ บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้” ฝ่ายภารัทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า “ทางที่ตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหมได้” วาเสฏฐมาณพไม่อาจให้ภารัทวาชมาณพยินยอมได้ ฝ่ายภารัทวาชมาณพก็ไม่ อาจให้วาเสฏฐมาณพยินยอมได้เช่นกัน [๕๒๑] วาเสฏฐมาณพจึงบอกภารัทวาชมาณพว่า “ภารัทวาชะ ก็พระสมณ- โคดมพระองค์นี้เป็นศากยบุตร ผนวชแล้วจากศากยตระกูล ประทับอยู่ที่อัมพวัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ด้านเหนือหมู่บ้านมนสากฏะ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อัน @เชิงอรรถ : @๑-๑ จังกีพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านโอปาสาทะ ตารุกขพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านอิจฉานังคละ โปกขรสาติพราหมณ์ @อยู่ที่เมืองอุกกัฏฐะ ชาณุสโสณิพราหมณ์อยู่ที่กรุงสาวัตถี โตเทยยพราหมณ์อยู่ที่หมู่บ้านตุทิ @(ที.สี.อ. ๕๑๙/๓๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ว่าด้วยเรื่องทางและไม่ใช่ทาง

งามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ๑- เป็นพระผู้มีพระภาค’ ภารัทวาชะ มาเถิด พวกเราจะไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมด้วยกัน ทูลถามเรื่องนี้แล้วทรงจำข้อความตามที่ พระสมณโคดมตรัสตอบแก่พวกเรา” ภารัทวาชมาณพรับคำของวาเสฏฐมาณพแล้ว
ว่าด้วยเรื่องทางและไม่ใช่ทาง
[๕๒๒] วาเสฏฐมาณพและภารัทวาชมาณพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ สนทนากับพระผู้มีพระภาคพอคุ้นเคยดีแล้ว นั่งลง ณ ที่สมควร วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ขอประทานวโรกาสเถิด เมื่อข้า พระองค์ทั้งสองไปเดินเล่น ได้สนทนากันในเรื่องทางและไม่ใช่ทาง ข้าพระองค์กล่าว อย่างนี้ว่า ‘ทางที่โปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ ภารัทวาชมาณพ กลับกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดิน ตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ ท่าน พระโคดม ในเรื่องนี้ยังมีการถือผิดกัน กล่าวผิดกัน กล่าวต่างกันอยู่” [๕๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ โปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ ภารัทวาชมาณพกลับกล่าว อย่างนี้ว่า ‘ทางที่ตารุกขพราหมณ์บอกไว้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ พวกเธอถือ ผิดกันในเรื่องไหน กล่าวผิดกันในเรื่องไหน กล่าวต่างกันในเรื่องไหน” [๕๒๔] วาเสฏฐมาณพกราบทูลว่า “ในเรื่องทางและไม่ใช่ทาง ท่านพระโคดม พวกพราหมณ์ทั้งหลาย คือ พวกอัทธริยพราหมณ์ พวกติตติริยพราหมณ์ พวก ฉันโทกพราหมณ์ พวกพวหาริชฌพราหมณ์บัญญัติทางไว้ต่างกันก็จริง ถึงกระนั้น @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในข้อ ๒๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ

ทางทั้งปวงก็ล้วนเป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้ เปรียบเหมือนในที่ใกล้หมู่บ้านหรือนิคม ถึงจะมีทางอยู่หลายเส้นทางก็จริง ถึงกระนั้น ทุกเส้นทางก็มาบรรจบกันที่กลางหมู่บ้านนั่นเอง ฉันใด พวกพราหมณ์ทั้งหลาย คือ พวกอัทธริยพราหมณ์ พวกติตติริยพราหมณ์ พวกฉันโทกพราหมณ์ พวก พวหาริชฌพราหมณ์บัญญัติทางไว้ต่างกันก็จริง ถึงกระนั้น ทางทั้งปวงก็ล้วนเป็นทาง นำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้ ฉันนั้น”
ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ
[๕๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้น นำออกได้หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กล่าวว่านำออกได้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้นนำออกได้หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กล่าวว่านำออกได้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอกล่าวว่า ทางเหล่านั้นนำออกได้หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์กล่าวว่านำออกได้” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ บรรดาพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท มี พราหมณ์แม้สักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท แม้สักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ มีปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ ได้ไตรเพทแม้สักคนหนึ่งไหมที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท สักคนหนึ่งไหมที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนซึ่งเคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็น พยานได้” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” [๕๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ พวกฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์ ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท ได้แก่ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษี เวสสามิตร ฤๅษียมตัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ และฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทในเวลานี้ ขับตามกล่อมตามซึ่งบทมนตร์เก่าที่ท่านขับไว้กล่อมไว้ รวบรวมไว้ กล่าวได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นมีไหมที่กล่าว อย่างนี้ว่า พวกเรารู้ พวกเราเห็นพระพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด หรืออยู่ภพใด” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเลย ท่านพระโคดม” [๕๒๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า บรรดา พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทไม่มีเลยแม้สักคนเดียวที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยาน ได้ แม้อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทก็ไม่มีเลยแม้สักคนเดียวที่เคยเห็นพรหม พอจะอ้างเป็นพยานได้ แม้ปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทก็ไม่มีเลย แม้สักคนเดียวที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ ไตรเพทที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนก็ไม่มีเลยแม้สักคนเดียวที่เคยเห็น พรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ พวกฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท ได้แก่ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตร ฤๅษียมตัคคิ ฤๅษี อังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ และฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทในเวลานี้ขับตามกล่อมตามซึ่งบทมนตร์เก่า ที่ท่านขับไว้กล่อมไว้รวบรวมไว้ กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นก็ไม่มีเลยที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเรารู้ พวกเรา เห็นพระพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด หรืออยู่ภพใด’ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเราไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อความเป็นผู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ

อยู่ร่วมกับพระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ [๕๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอย๑- มิใช่หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้ ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นไม่ใช่ฐานะที่เป็นไปได้” [๕๒๙] วาเสฏฐะ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหมือนคนตาบอดเข้าแถว เกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถวต่างก็มองไม่เห็น ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นช่างน่าขบขัน ต่ำต้อย เหลวไหล ไร้สาระ [๕๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทมองเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น แต่ก็ยังอ้อนวอนชื่นชมประนมมือนอบน้อมเดินเวียนอยู่” เขาทูลตอบว่า “เป็นเช่นนั้น ท่านพระโคดม พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทมองเห็นดวง จันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น แต่ก็ยังอ้อนวอนชื่นชมประนมมือ นอบน้อมเดินเวียนอยู่” [๕๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทมองเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น แต่ก็ยังอ้อนวอนชื่นชมประนมมือนอบน้อมเดินเวียนอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นจะ สามารถแสดงทางไปอยู่ร่วมกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทาง @เชิงอรรถ : @ เลื่อนลอย (อปฺปาฏิหีรกตํ) หมายถึง เป็นคำที่ไม่มีปาฏิหาริย์ ขาดเหตุผลที่จะจูงใจฝ่ายตรงข้ามให้เชื่อถือ @หรือยินยอมได้ [ที.สี.ฎีกา(อภินว.) ๒/๔๒๕/๔๙๓] {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ความขวนขวายของวาเสฏฐมาณพ

ตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ละหรือ” เขาทูลตอบว่า “หามิได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พราหมณ์ผู้ได้ ไตรเพทมองเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ขึ้นลงเหมือนคนเหล่าอื่น แต่ก็ยังอ้อนวอน ชื่นชมประนมมือนอบน้อมเดินเวียนอยู่ พราหมณ์เหล่านั้นไม่สามารถแสดงทาง ไปอยู่ร่วมกับดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดิน ตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ได้ [๕๓๒] วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ไม่มีพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็น พรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็น พรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เป็น อาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนซึ่งเคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ พวกฤๅษี ผู้เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท ได้แก่ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษี วามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตร ฤๅษียมตัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ และฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท ในเวลานี้ขับตามกล่อมตามซึ่งบทมนตร์เก่าที่ท่านขับไว้กล่อมไว้รวบรวมไว้ กล่าว ได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นก็ไม่ มีเลยที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเรารู้ พวกเราเห็นพระพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด หรืออยู่ภพใด’ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเรา ไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหมได้’ [๕๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท

เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้ ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้
เปรียบด้วยชายหลงรักหญิงงามแห่งชนบท
[๕๓๔] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนชายคนหนึ่งปรารภถึงหญิงสาวอย่างนี้ว่า ‘เราปรารถนารักใคร่หญิงงามแห่งชนบทนี้’ คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอรู้จักหญิง คนนั้นหรือว่าเป็นนางกษัตริย์ นางพราหมณี นางแพศย์ หรือนางศูทร’ เมื่อถูกถาม อย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอรู้จักหญิงคนนั้นหรือว่ามีชื่อ ตระกูล สูง ต่ำ สันทัด ดำ คล้ำ หรือผิวเหลือง อยู่ในบ้าน นิคม หรือเมืองโน้น’ เมื่อถูกถาม อย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอปรารถนารักใคร่หญิงที่ไม่ รู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’ [๕๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า เลื่อนลอยแน่นอน” [๕๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่า ไม่มีพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี ปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนที่เคย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เปรียบด้วยคนสร้างบันได

เห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ฯลฯ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเราไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับ พระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้ เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ [๕๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ ไตรเพทถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้ ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้”
เปรียบด้วยคนสร้างบันได
[๕๓๘] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนบุรุษทำบันไดที่หนทางใหญ่สี่แพร่งเพื่อขึ้น ปราสาท คนจะถามเขาว่า ‘พ่อคุณ เธอจะทำบันไดขึ้นปราสาท เธอรู้จักปราสาทนั้น หรือว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ มีขนาดสูง ต่ำ หรือปานกลาง’ เมื่อถูกถามอย่างนี้เขาจะตอบว่า ‘ยังไม่รู้จัก’ จะถูกถามต่อไปว่า ‘เธอจะทำบันไดขึ้นปราสาทที่ยังไม่เคยรู้จักทั้งไม่เคยเห็นอย่างนั้นหรือ’ เมื่อถูกถาม อย่างนี้ เขาจะตอบว่า ‘ใช่’ [๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ คำพูดของชายผู้นั้นถือว่า เลื่อนลอยแน่นอน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี

[๕๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่า ไม่มีพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี อาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มี ปาจารย์ของอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เคยเห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ ไม่มีอาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่เป็นอาจารย์สืบทอดกันมาเจ็ดชั่วคนซึ่งเคย เห็นพรหมพอจะอ้างเป็นพยานได้ พวกฤๅษีผู้เป็นบูรพาจารย์ของพราหมณ์ผู้ได้ ไตรเพท ได้แก่ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตร ฤๅษี ยมตัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารัทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ และฤๅษีภคุ ซึ่ง เป็นผู้ผูกมนตร์บอกมนตร์ที่พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทในเวลานี้ขับตามกล่อมตาม ซึ่งบทมนตร์เก่าที่ท่านขับไว้กล่อมไว้รวบรวมไว้ กล่าวได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านบอกไว้ แม้ฤๅษีเหล่านั้นก็ไม่มีเลยที่กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวก เรารู้ พวกเราเห็นพรหมนั้นว่าอยู่ที่ใด โดยที่ใด หรืออยู่ภพใด’ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราไม่รู้ พวกเราไม่เห็น แต่พวกเราแสดงทางเพื่อ ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมว่า ทางนี้เท่านั้นเป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหมได้’ [๕๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทก็ถือว่าเลื่อนลอยมิใช่หรือ” เขาทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ ไตรเพทก็ถือว่าเลื่อนลอยแน่นอน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทซึ่งไม่รู้ ไม่เห็นพรหม แต่กลับแสดงทางเพื่อความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมว่า ‘ทางนี้เท่านั้น เป็นทางตรง เป็นทางเดินตรงไป เป็นทางนำออก นำผู้เดินตามไปสู่ความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหมได้’ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้
เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี
[๕๔๒] วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีมีน้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม) ดื่มกินได้ ชายคนหนึ่งต้องการจะข้ามฝั่ง แสวงหาฝั่ง ไปถึงฝั่ง ประสงค์จะข้าม เขา ยืนอยู่ที่ฝั่งนี้ตะโกนเรียกฝั่งโน้นว่า ‘ฝั่งโน้นจงเลื่อนมาฝั่งนี้ๆ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี

[๕๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เพราะเหตุที่ชายผู้นั้นร้องเรียก อ้อนวอน ปรารถนา หรือสรรเสริญ ฝั่งโน้นของแม่น้ำ อจิรวดีจะเลื่อนมายังฝั่งนี้ได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “ไม่ได้ ท่านพระโคดม” [๕๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ การที่ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์๑- กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้ เป็นพราหมณ์มาประพฤติ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกเราร้องเรียกพระอินทร์ ร้องเรียก พระจันทร์ ร้องเรียกพระพิรุณ ร้องเรียกพระอีสาน ร้องเรียกพระปชาบดี ร้องเรียก พระพรหม ร้องเรียกพระมหิทธิ์’ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้น ละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์มา ประพฤติ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เพราะการเรียกร้อง การอ้อนวอน การปรารถนา หรือการสรรเสริญ นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ [๕๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีมี น้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ชายคนหนึ่งต้องการข้ามไปฝั่งโน้น แต่กลับเอา เชือกเหนียวมัดแขนไพล่หลังแน่นหนาอยู่ที่ฝั่งนี้ วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ชายคนนั้นจะข้ามแม่น้ำอจิรวดีได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “ไม่ได้ ท่านพระโคดม” [๕๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ กามคุณ๒- ๕ ต่อไปนี้ ในวินัยของพระอริยะเรียกว่า ขื่อคาบ้าง เครื่องจองจำบ้าง กามคุณ ๕ อะไรบ้าง คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนารักใคร่พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ ใคร่ พาใจให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู อันน่าปรารถนารักใคร่พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก อันน่าปรารถนารักใคร่พอใจ @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ (พฺราหฺมณการกา) ในที่นี้หมายถึง ศีล ๕ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐ @(ที.สี.อ. ๕๔๔-๕๔๕/๓๓๕) @ กาม (สิ่งที่ทำให้เกิดความใคร่) และ คุณ (เครื่องผูกพันหรือพันธนาการ) [ที.สี.อ. ๕๔๖/๓๓๕] ฉะนั้น @กามคุณ จึงหมายถึงสิ่งที่ผูกพันสัตว์ไว้คือกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เปรียบด้วยแม่น้ำอจิรวดี

ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น อันน่าปรารถนารักใคร่ พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่า ปรารถนารักใคร่พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทผู้กำหนัด สยบ หมกมุ่น มองไม่เห็นโทษ ไม่มี ปัญญาที่จะสลัดออก บริโภคกามคุณ ๕ อย่างนี้อยู่ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท ละธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์ กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์มา ประพฤติ กำหนัด สยบ หมกมุ่น มองไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะสลัดออก บริโภค กามคุณ ๕ อยู่ ติดตรวนคือกาม หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ [๕๔๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดีมี น้ำเต็มเสมอฝั่ง นกกา(ก้ม)ดื่มกินได้ ชายคนหนึ่งต้องการข้ามไปฝั่งโน้น แต่กลับนอน คลุมโปงอยู่ที่ฝั่งนี้ วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ชายคนนั้นจะข้ามแม่น้ำ อจิรวดีได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “ไม่ได้ ท่านพระโคดม” [๕๔๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่างนั้นเหมือนกัน วาเสฏฐะ นิวรณ์ ๕ ต่อไปนี้ ในวินัยของพระอริยะเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตรึงตราบ้าง นิวรณ์ ๕ อะไรบ้าง คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา วาเสฏฐะ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล ในวินัย ของพระอริยะเรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยวบ้าง เครื่องกางกั้นบ้าง เครื่องรัดรึงบ้าง เครื่องตราตรึงบ้าง” [๕๔๙] วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทถูกนิวรณ์ ๕ เหล่านี้แลหน่วงเหนี่ยว กางกั้น รัดรึง ตรึงเอาไว้แล้ว การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทละธรรมที่ทำให้เป็น พราหมณ์ กลับไปถือเอาธรรมที่ไม่ทำให้เป็นพราหมณ์มาประพฤติ ถูกนิวรณ์ ๕ หน่วงเหนี่ยว กางกั้น รัดรึง ตรึงเอาไว้ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม กับพรหม นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์

เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์
[๕๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร เธอเคยได้ยินพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่าผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวว่าอย่างไร พรหม มีเครื่องเกาะเกี่ยว(ภรรยา) หรือไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมคิดจองเวรหรือไม่คิดจองเวร” เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดจองเวร ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมคิดเบียดเบียนหรือไม่คิดเบียดเบียน” เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดเบียดเบียน ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมมีจิตเศร้าหมองหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง” เขาทูลตอบว่า “มีจิตไม่เศร้าหมอง ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พรหมบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือบังคับจิต ให้อยู่ในอำนาจไม่ได้” เขาทูลตอบว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ ผู้ได้ไตรเพทมีเครื่องเกาะเกี่ยวหรือไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว” เขาทูลตอบว่า “มีเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์คิดจองเวรหรือไม่คิดจองเวร” เขาทูลตอบว่า “คิดจองเวร ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์คิดเบียดเบียนหรือไม่คิดเบียดเบียน” เขาทูลตอบว่า “คิดเบียดเบียน ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์มีจิตเศร้าหมองหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์

เขาทูลตอบว่า “มีจิตเศร้าหมอง ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือบังคับ จิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้” เขาทูลตอบว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ ท่านพระโคดม” [๕๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พราหมณ์ผู้ ได้ไตรเพทยังมีเครื่องเกาะเกี่ยว แต่พรหมไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ดังนั้น จะเปรียบ เทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังมีเครื่องเกาะเกี่ยวกับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยวได้ ละหรือ” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพท เหล่านั้นซึ่งยังมีเครื่องเกาะเกี่ยว หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม ผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว นั่นมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังคิด จองเวร แต่พรหมไม่คิดจองเวร ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังคิด จองเวรกับพรหมผู้ไม่คิดจองเวรได้ละหรือ” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังคิดเบียดเบียน แต่ พรหมไม่คิดเบียดเบียน ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังคิด เบียดเบียนกับพรหมผู้ไม่คิดเบียดเบียนได้ละหรือ” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังมีจิตเศร้าหมอง แต่ พรหมมีจิตไม่เศร้าหมอง ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยังมีจิต เศร้าหมองกับพรหมผู้มีจิตไม่เศร้าหมองได้ละหรือ” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

เรื่องที่ตรัสเทียบเคียงระหว่างพรหมกับพราหมณ์

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทยังบังคับจิตให้อยู่ใน อำนาจไม่ได้ แต่พรหมบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ดังนั้น จะเปรียบเทียบพราหมณ์ผู้ ได้ไตรเพทที่ยังบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้กับพรหมผู้บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ละหรือ” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันไม่ได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทที่ยัง บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมผู้ บังคับจิตอยู่ในอำนาจได้ นั่นมิใช่ฐานะที่เป็นไปได้ [๕๕๒] วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรเพทเหล่านั้นจมลงแล้วก็ยังจะจมอยู่ต่อไป ในโลกนี้ เมื่อจมแล้ว ก็ถึงความย่อยยับ แต่ก็ยังเข้าใจว่า ตนข้ามไปได้ง่ายๆ ดังนั้น เราจึงเรียกไตรเพทของพราหณ์ผู้ได้ไตรเพทว่า ป่าใหญ่คือไตรเพทบ้าง ดงกันดารคือ ไตรเพทบ้าง ความพินาศคือไตรเพทบ้าง” [๕๕๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วาเสฏฐมาณพกราบทูลว่า “ท่าน พระโคดม ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมทรงทราบทางไปเพื่อความเป็นผู้ อยู่ร่วมกับพระพรหม” พระผู้มีพระภาคตรัสย้อนถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร หมู่ บ้านมนสากฏะอยู่ใกล้แค่นี้ ไม่ไกลไปจากนี้ใช่ไหม” เขาทูลตอบว่า “เป็นเช่นนั้น ท่านพระโคดม” [๕๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร คน ที่เติบโตมาในหมู่บ้านมนสากฏะนี้ เมื่อถูกถามถึงทางไปหมู่บ้านมนสากฏะที่เขาเพิ่ง จะออกมา มีหรือที่เขาจะชักช้าหรือรีรออยู่” เขาทูลตอบว่า “ไม่ชักช้าหรือรีรอเลย ท่านพระโคดม เพราะเขาเติบโตมาในหมู่ บ้านมนสากฏะ จึงรู้หนทางในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ผู้ที่เติบโตมาในหมู่บ้านมนสากฏะถูกถาม ถึงทางไปหมู่บ้านนั้นก็ยังอาจจะชักช้าหรือรีรออยู่บ้าง แต่(เรา)ตถาคตถูกถามถึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ทรงแสดงทางไปพรหมโลก

พรหมโลกหรือข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก จะไม่ชักช้าหรือรีรอเลย เพราะเรารู้จัก พรหมโลกและข้อปฏิบัติที่พาไปพรหมโลก อีกทั้งรู้ว่า พรหมปฏิบัติอย่างไรจึงได้เข้า ถึงพรหมโลก” [๕๕๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วาเสฏฐมาณพกราบทูลว่า “ท่าน พระโคดม ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า พระสมณโคดมทรงแสดงทางไปเพื่อความเป็นผู้อยู่ ร่วมกับพระพรหม ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงทางไปเพื่อ ความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพระพรหม โปรดอนุเคราะห์ชุมชนพราหมณ์ด้วยเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจะกล่าว” เขาทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว
ทรงแสดงทางไปพรหมโลก
[๕๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วาเสฏฐะ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑- (พึงนำข้อความเต็มในสามัญญผลสูตร มาใส่ไว้ในที่นี้) ภิกษุชื่อว่าสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล ฯลฯ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณา เห็นนิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้วย่อมเกิดความเบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจก็ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อม ตั้งมั่น ภิกษุนั้นมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ วาเสฏฐะ กรรมที่ทำพอประมาณในเมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้ว อย่างนี้จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจร เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึง @เชิงอรรถ : @ ความเต็มเหมือนในสามัญญผลสูตร ข้อ ๑๙๔-๒๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ทรงแสดงทางไปพรหมโลก

ให้ผู้อื่นได้ยินตลอดทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก วาเสฏฐะ นี้แลเป็นทางไปเพื่อความเป็น ผู้อยู่ร่วมกับพรหม ยังมีอีก วาเสฏฐะ ภิกษุมีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไป ตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน เบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไป ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่ มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ วาเสฏฐะ กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติที่บุคคลอบรมแล้วอย่าง นี้ จะไม่เหลืออยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจร เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ผู้แข็งแรงพึงให้ ผู้อื่นได้ยินตลอดทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยาก วาเสฏฐะ นี้แลเป็นทางไปเพื่อความเป็นผู้ อยู่ร่วมกับพรหม [๕๕๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้จะมีเครื่องเกาะเกี่ยวหรือไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว” เขาทูลตอบว่า “ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คิดจองเวรหรือไม่คิดจองเวร” เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดจองเวร ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “คิดเบียดเบียนหรือไม่คิดเบียดเบียน” เขาทูลตอบว่า “ไม่คิดเบียดเบียน ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มีจิตเศร้าหมองหรือมีจิตไม่เศร้าหมอง” เขาทูลตอบว่า “มีจิตไม่เศร้าหมอง ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้หรือบังคับจิตให้อยู่ ในอำนาจไม่ได้” เขาทูลตอบว่า “บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ท่านพระโคดม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

ทรงแสดงทางไปพรหมโลก

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ ที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ภิกษุไม่มีเครื่อง เกาะเกี่ยว พรหมก็ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่มีเครื่อง เกาะเกี่ยวกับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยวได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่ภิกษุนั้นผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมผู้ไม่มีเครื่องเกาะเกี่ยว นั่น เป็นฐานะที่เป็นไปได้ [๕๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “วาเสฏฐะ ภิกษุไม่คิดจองเวร พรหมก็ไม่ คิดจองเวร ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่คิดจองเวรกับพรหมผู้ไม่คิดจองเวรได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุไม่คิดเบียดเบียน พรหมก็ไม่คิดเบียดเบียน ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้ไม่คิดเบียดเบียนกับพรหมผู้ไม่คิดเบียดเบียนได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุมีจิตไม่เศร้าหมอง พรหมก็มีจิตไม่เศร้า หมอง ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้มีจิตไม่เศร้าหมองกับพรหมผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง ได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ พรหมก็บังคับ จิตให้อยู่ในอำนาจได้ ดังนั้น จะเปรียบเทียบภิกษุผู้บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้กับ พรหมผู้บังคับจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ได้ไหม” เขาทูลตอบว่า “เปรียบเทียบกันได้ ท่านพระโคดม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถูกละ วาเสฏฐะ การที่ภิกษุนั้นผู้บังคับจิตให้อยู่ใน อำนาจได้ หลังจากตายแล้วจะถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมผู้บังคับจิตให้อยู่ใน อำนาจได้ นั่นเป็นฐานะที่เป็นไปได้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑๓. เตวิชชสูตร]

มาณพทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก

มาณพทั้งสองประกาศตนเป็นอุบาสก
[๕๕๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ วาเสฏฐมาณพกับภารัทวาชมาณพ ได้กราบทูลว่า“ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดโดยตั้งใจว่า คนมีตาดี จักเห็นรูปได้ ข้าพระองค์ทั้งสองนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและ พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
เตวิชชสูตรที่ ๑๓ จบ
สีลขันธวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พรหมชาลสูตร ๒. สามัญญผลสูตร ๓. อัมพัฏฐสูตร ๔. โสณทัณฑสูตร ๕. กูฏทันตสูตร ๖. มหาลิสูตร ๗. ชาลิยสูตร ๘. มหาสีหนาทสูตร ๙. โปฏฐปาทสูตร ๑๐. สุภสูตร ๑๑. เกวัฏฏสูตร ๑๒. โลหิจจสูตร ๑๓. เตวิชชสูตร
สีลขันธวรรค จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒๔๗}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๒๓๐-๒๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=13              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=8549&Z=7279                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=365              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=9&item=365&items=-29              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=4&A=8660              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=9&item=365&items=-29              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=4&A=8660                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu9              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/09i365-e.php# https://suttacentral.net/dn13/en/sujato https://suttacentral.net/dn13/en/tw_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :