ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๗. สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๖๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเดินทางไปสู่พระนครสาวัตถี ในโกศลชนบท เดินทางไปทางประตูบ้านแห่งหนึ่ง. สตรีผู้หนึ่งทะเลาะกับสามีแล้วเดินออกจาก บ้านไป พบภิกษุรูปนั้นแล้วได้ถามว่า พระคุณเจ้าจักไปไหน เจ้าข้า? ภิกษุนั้นตอบว่า ฉันจักไปสู่พระนครสาวัตถี จ้ะ. สตรีนั้นขอร้องว่า ดิฉันจักไปกับพระคุณเจ้าด้วย. ภิกษุนั้นกล่าวรับรองว่า ไปเถิด จ้ะ. ขณะนั้น สามีของสตรีนั้นออกจากบ้านแล้ว ถามคนทั้งหลายว่า พวกท่านเห็นสตรีมี รูปร่างอย่างนี้บ้างไหม? คนทั้งหลายตอบว่า สตรีมีรูปร่างเช่นว่านั้นเดินไปกับพระ. ในทันที เขาได้ติดตามไปจับภิกษุนั้นทุบตีแล้วปล่อยไป ภิกษุนั้นนั่งพ้อตนเองอยู่ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. จึงสตรีนั้นได้กล่าวกะบุรุษผู้สามีว่า นาย พระรูปนั้นมิได้พาดิฉันไป ดิฉันต่างหากไปกับ ท่าน พระรูปนั้นไม่ใช่เป็นตัวการ นายจงไปขอขมาโทษท่านเสีย. บุรุษนั้นได้ขอขมาโทษภิกษุนั้น ในทันใดนั้นแล. ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่ เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้ชักชวนแล้วเดินทางไกล สายเดียวกันกับมาตุคามเล่า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอชักชวนแล้วเดินทาง ไกลสายเดียวกับมาตุคาม จริงหรือ? ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ชักชวนแล้วเดินทาง ไกลสายเดียวกับมาตุคามเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๖. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับมาตุคาม โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่หญิงมนุษย์ มิใช่หญิงยักษ์ มิใช่หญิงเปรต มิใช่สัตว์ดิรัจฉาน ตัวเมีย เป็นสตรีผู้รู้เดียงสา สามารถทราบซึ้งถึงถ้อยคำเป็นสุภาษิต ทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบและ สุภาพ. บทว่า กับ คือร่วมกัน. บทว่า ชักชวนแล้ว คือ ชักชวนว่า เราไปกันเถิดจ้ะ เราไปกันเถิดค่ะ เราไปกัน เถิดพระคุณเจ้า เราไปกันเถิดน้องหญิง เราไปกันวันนี้ ไปกันพรุ่งนี้ หรือไปกันมะรืนนี้ ดังนี้ เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ. บทว่า โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ความว่า ในตำบลบ้าน กำหนดชั่วไก่บินถึง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน. ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะ กึ่งโยชน์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๖๖๐] มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ชักชวนกันแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดย ที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์. มาตุคาม ภิกษุสงสัย ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์. มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุด แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จตุกกะทุกกฏ
ภิกษุชักชวน มาตุคามมิได้ชักชวน ... ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับหญิงยักษ์ หญิงเปรต บัณเฑาะก์ หรือ สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมีกายคล้ายมนุษย์ โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่ามาตุคาม ... ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. ไม่ใช่มาตุคาม ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่มาตุคาม ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๖๑] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ มาตุคามชักชวน ภิกษุไม่ได้ชักชวน ๑ ภิกษุไป ผิดวันผิดเวลา ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๒๙๓๐-๑๒๙๙๖ หน้าที่ ๕๕๓-๕๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=12930&Z=12996&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=2&A=12930&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=103              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=658              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=7698              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9778              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=7698              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9778              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc67/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc67/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]