ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
วรรคที่ ๖ สุรุสุรุวรรค
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑
[๘๕๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตพระนคร โกสัมพี. ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งปรุงปานะน้ำนมถวายพระสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายซดน้ำนมดังซูดๆ ภิกษุรูปหนึ่งเคยเป็นนักฟ้อนรำกล่าวขึ้นอย่างนี้ว่า ชะรอยพระสงฆ์ทั้งปวงนี้อันความเย็นรบกวน แล้ว. บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุจึงได้พูด ปรารภพระสงฆ์เล่นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอได้พูดปรารภพระสงฆ์ เล่น จริงหรือ? ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้พูดปรารภสงฆ์เล่น เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงพูดปรารภพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เล่น รูปใด ฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ. ครั้นทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๙๖. ๕๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังซูดๆ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันดังซูดๆ. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารทำเสียง ดังซูดๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๕๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียมือ ...
พระบัญญัติ
๑๙๗. ๕๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียมือ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียมือ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลียมือ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๕๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารขอดบาตร ...
พระบัญญัติ
๑๙๘. ๕๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันขอดบาตร. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารขอด บาตร ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ข้าวสุกเหลือน้อยกวาดขอดรวมกันเข้าแล้ว ฉัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๕๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารเลียริมฝีปาก ...
พระบัญญัติ
๑๙๙. ๕๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก. ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันอาหารเลีย ริมฝีปาก ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนสัตว์เภสกฬาวัน เขต พระนครสุงสุมารคิระ แขวงภัคคะชนบท. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายรับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่ เปื้อนอามิส ในโกกนุทปราสาท. ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้ บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่ เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้รับประเคนโอน้ำ ด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุรับ ประเคนโอน้ำด้วยมือที่เปื้อนอามิส จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิสเล่า การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐๐. ๕๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงรับประเคนโอน้ำ ด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส. ภิกษุใดอาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ รับประเคนโอน้ำด้วยมือข้างที่เปื้อนอามิส ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ รับประเคนด้วยหมายว่าจักล้างเอง หรือ ให้ผู้อื่นล้าง ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๕๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่สวนสัตว์เภสกฬาวัน เขต พระนครสุงสุมารคิระ แขวงภัคคะชนบท. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวลง ในละแวกบ้าน ใกล้โกกนุทปราสาท. ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระ สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน เหมือนพวก คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้เทน้ำ ล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุเทน้ำ ล้างบาตรซึ่งมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้านเล่า การกระทำของพวกโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐๑. ๕๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวใน ละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่เทน้ำล้างบาตร ซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน. ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรซึ่งยังมีเมล็ดข้าวลงในละแวกบ้าน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ เก็บเมล็ดข้าวออกแล้วจึงเทน้ำล้างบาตร หรือขยี้เมล็ดข้าวให้ละลายแล้วเท หรือเทน้ำล้างบาตรลงในกระโถน แล้วนำไปเทข้างนอก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
โภชนปฏิสังยุต ๓๐ สิกขาบท จบ.
-----------------------------------------------------
ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ๑๖ สิกขาบท
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๕๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม. บรรดา ภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์จึงได้แสดงธรรม แก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนี้แก่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอแสดง ธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่ม จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้แสดง ธรรมแก่บุคคลผู้กั้นร่มเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๐๒. ๕๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่ม ในมือ. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้. [๘๕๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรังเกียจเพื่อจะแสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มใน มือ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่ แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้ซึ่งมีร่มในมือเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนไข้
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราอนุญาตให้แสดงธรรมแก่คนเป็นไข้มีร่มใน มือได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๐๒. ๕๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้ มีร่มในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ร่ม ๓ ชนิด คือ ร่มผ้าขาว ๑ ร่มลำแพน ๑ ร่มใบไม้ ๑ ที่เย็บ เป็นวงกลมผูกติดกับซี่. ที่ชื่อว่า ธรรม ได้แก่ ถ้อยคำที่อิงอรรถอิงธรรม เป็นพุทธภาษิต สาวกภาษิต อิสี ภาษิต เทวตาภาษิต. บทว่า แสดง คือแสดงโดยบท ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ อักขระ. อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่บุคคลไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดง ธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๕๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถือไม้พลอง ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๓. ๕๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้ มีไม้พลองในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ไม้พลอง ได้แก่ ไม้พลองยาวสี่ศอกของมัชฌิมบุรุษยาวกว่านั้นไม่ใช่ไม้พลอง สั้นกว่านั้น ก็ไม่ใช่ไม้พลอง. อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ถือไม้พลอง ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถือไม้พลอง ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๖๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถือศัสตรา ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๔. ๕๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้ มีศัสตราในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ศัสตรา ได้แก่ วัตถุเครื่องประหารมีคมข้างเดียว มีคมสองข้าง. อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรม แก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ผู้ถือศัสตรา ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อ เฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ไม่เป็นไข้ ผู้ถือศัสตรา ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๖๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่บุคคลผู้ถืออาวุธ ...
พระอนุบัญญัติ
๒๐๕. ๖๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่บุคคลไม่ใช่ ผู้เจ็บไข้ มีอาวุธในมือ.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า อาวุธ ได้แก่ ปืน เกาทัณฑ์. อันภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ถืออาวุธ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีมือถืออาวุธ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สุรุสุรุวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
วรรคที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๕๘๘๒-๑๖๐๙๓ หน้าที่ ๖๙๑-๗๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=15882&Z=16093&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=2&A=15882&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=140              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=851              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=10064              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10526              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=10064              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10526              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk51 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk52 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk53 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk54 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk55 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk56 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk57 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk58 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk59 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk60

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]