ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
โทณปากสูตรที่ ๓
[๓๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระสุธาหารหุงด้วยข้าวสารหนึ่ง- *ทะนาน ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยแล้วทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ- *ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๓๖๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล นั้นเสวยแล้วทรงอึดอัด จึงได้ทรงภาษิตพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๗.

ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน ฯ [๓๖๖] ก็สมัยนั้น มาณพชื่อสุทัศนะ ยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ พระเจ้าปเสนทิโกศล ฯ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกสุทัสสนมาณพมารับสั่งว่า มาเถิด เจ้าสุทัศนะ เจ้าจงเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วจงกล่าวใน เวลาเราบริโภคอาหาร อนึ่ง เราจะให้นิตยภัตแก่เจ้าวันละ ๑๐๐ กหาปณะทุกวัน ฯ สุทัสสนมาณพรับสนองพระดำรัสพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เป็นพระมหา- *กรุณาอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ แล้วเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาค กล่าวในเวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศล เสวยพระกระยาหารว่า มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง เขาย่อมแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน ฯ [๓๖๗] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงดำรงอยู่โดยมีพระกระยาหาร หนึ่งทะนานข้าวสุกเป็นอย่างมากเป็นลำดับมา ฯ ในลำดับต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่าดี ทรง ลูบพระวรกายด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ภพนี้ และ ประโยชน์ภพหน้าหนอ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๖๓๑-๒๖๕๖ หน้าที่ ๑๑๖-๑๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2631&Z=2656&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=15&A=2631&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=124              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=364              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=15&A=2276              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=3790              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=15&A=2276              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=3790              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i354-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.013.olen.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn03/sn03.013.wlsh.html https://suttacentral.net/sn3.13/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]