ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. นิรุตติปถสูตร
ว่าด้วยวิถีทางแห่งนิรุตติ ๓ ประการ
[๑๓๔] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย วิถีทาง ๓ ประการ คือ หลักภาษา ชื่อ และบัญญัตินี้? ไม่ถูกทอดทิ้ง และยังไม่ เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้านแล้ว. ๓ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย การนับรูปผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ว่าได้มีแล้ว การให้ชื่อรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว รูปนั้นไม่นับว่า มี อยู่ ไม่นับว่า จักมี. การนับเวทนาที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนแล้วว่าได้มีแล้ว การให้ ชื่อเวทนานั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติเวทนานั้นว่า ได้มีแล้ว เวทนานั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า จักมี. การนับสัญญาที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อ สัญญานั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติสัญญานั้นว่า ได้มีแล้ว สัญญานั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับ ว่า จักมี การนับสังขารที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อ สังขารนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติสังขารนั้นว่า ได้มีแล้ว สังขารเหล่านั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่ นับว่า จักมี การนับวิญญาณที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การ ให้ชื่อวิญญาณนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ได้มีแล้ว วิญญาณนั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า จักมีฯ [๑๓๕] การนับรูปที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อรูปเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติรูปเช่นนั้นว่า จักมี รูปนั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว. การนับเวทนาที่ ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อเวทนาเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติเวทนาเช่นนั้น ว่า จักมี เวทนานั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว. การนับสัญญาที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อสัญญาเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติสัญญาเช่นนั้นว่า จักมี สัญญานั้นไม่นับ ว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว. การนับสังขารที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อสังขาร เช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติ สังขารเช่นนั้นว่า จักมี สังขารเหล่านั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว. การนับวิญญาณที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อวิญญาณเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติวิญญาณเช่นนั้นว่า จักมี วิญญาณนั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว. [๑๓๖] การนับรูปที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อรูปนั้นว่า มีอยู่ และ การบัญญัติรูปเช่นนั้นว่า มีอยู่ รูปนั้นไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี. การนับเวทนาที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อเวทนาเช่นนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติเวทนาเช่นนั้นว่า มีอยู่ เวทนานั้นไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี. การนับสัญญาที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อสัญญาเช่นนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติสัญญาเช่นนั้นว่า มีอยู่ สัญญานั้นไม่นับว่า มี แล้ว ไม่นับว่า จักมี. การนับสังขารที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อสังขารเช่นนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติสังขารเช่นนั้นว่า มีอยู่ สังขารเหล่านั้น ไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี. การนับวิญญาณที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อวิญญาณเช่นนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติ วิญญาณเช่นนั้นว่า มีอยู่ วิญญาณนั้นไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิถีทาง ๓ ประการ คือ หลักภาษา การตั้งชื่อ และบัญญัติ เหล่านี้แล ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ยังไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูกทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนไม่ คัดค้านแล้ว. [๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาววัสสภัญญชนบททั้งสอง นั้น ล้วนพูดว่าไม่มีเหตุ บุญบาปที่ทำไปแล้ว ไม่เป็นอันทำ ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ก็ได้ สำคัญวิถีทาง ๓ ประการนี้ คือ หลักภาษา การตั้งชื่อ และข้อบัญญัติว่า ไม่ควรติ ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะกลัวถูกนินทา กลัวกระทบกระทั่ง กลัวใส่โทษ และกลัวจะต่อ ความยาว.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ อุปายวรรคที่ ๑.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อุปายสูตร ๖. พุทธสูตร ๒. พีชสูต ๗. ปัญจวัคคิยสูตร ๓. อุทานสูตร ๘. มหาลิสูตร ๔. ปริวัฏฏสูตร ๙. อาทิตตสูตร ๕. สัตตัฏฐานสูตร ๑๐. นิรุตติปถสูตร.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๕๘๖-๑๖๓๗ หน้าที่ ๖๙-๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1586&Z=1637&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=17&A=1586&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=62              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=134              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=1769              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6744              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=17&A=1769              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6744              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i105-e.php#sutta10 https://suttacentral.net/sn22.62/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.62/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]