ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. สีลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย
[๓๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน- *มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลา เย็น เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควร กระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุ ผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ อุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็น ดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๑.

[๓๑๑] โก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล. [๓๑๒] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหน ไว้ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกร ท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง อนาคามิผล. [๓๑๓] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล. [๓๑๔] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย? สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่น แล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดัง ลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๖๒.

ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.
จบ สูตรที่ ๑๐.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๓๗๒๑-๓๗๖๔ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=3721&Z=3764&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=17&A=3721&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=122              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=310              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=4178              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=8031              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=17&A=4178              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=8031              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i300-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.122.than.html https://suttacentral.net/sn22.122/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]