ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๕. อัสสาทสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความปริวิตกของพระโพธิสัตว์
เกี่ยวกับขันธ์ ๕
[๕๙] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อ เรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นคุณของรูป อะไร เป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก. อะไรเป็นคุณของเวทนา ... อะไรเป็นคุณของสัญญา ... อะไรเป็นคุณของสังขาร ... อะไรเป็นคุณของวิญญาณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นเครื่องสลัดออก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้ปริวิตกต่อไปว่า สุขโสมนัสอันใด อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณของรูป รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษของรูป การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป. สุขโสมนัสอันใด อาศัยเวทนา เกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใด อาศัยสัญญาเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใด อาศัยสังขารเกิดขึ้น ... สุขโสมนัสอันใด อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณใด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะใน วิญญาณเสียได้ นี้เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ. [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ และเครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็น จริงอย่างนี้ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. เมื่อใด เรารู้ยิ่งซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งเครื่องสลัดออก โดยความเป็นเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. ก็แลญาณทัสสนะได้เกิดขึ้น แล้วแก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
จบ สูตรที่ ๕.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๒๒-๖๔๕ หน้าที่ ๒๗-๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=622&Z=645&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=17&A=622&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=26              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=59              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=685              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=17&A=685              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i049-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn22.26/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.26/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]