ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
กุลสูตร
[๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงนาฬันทคามได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้ มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวันใกล้นาฬันทคาม สมัยนั้นแล ชาว นาฬันทคามมีภิกษาหาได้ยาก เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่ายด้วยสลาก (บัตรปันส่วน) สมัยนั้นแล นิครณถ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ใน นาฬันทคาม พร้อมด้วยบริษัทนิครณถ์เป็นอันมาก ครั้งนั้น นายบ้านนามว่า อสิพันธกบุตรสาวกนิครณถ์ เข้าไปหานิครณถ์นาฏบุตรยังที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว นิครณถ์นาฏบุตรได้พูดกับนายคามณีอสิพันธกบุตร ว่า มาเถิดนายคามณี จงยกวาทะแก่พระสมณโคดม กิตติศัพท์อันงามของท่านจัก ขจรไปอย่างนี้ว่า นายคามณีอสิพันธกบุตรยกวาทะแก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มาก อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ นายคามณีถามว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะยกวาทะ แก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างไร นิครณถ์นาฏบุตรกล่าวว่า มาเถิดท่านคามณี จงเข้าไปหาพระสมณโคดม ครั้นแล้วจงกล่าวกะพระสมณโคดม อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความเอ็นดู การ ตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ถ้าพระสมณ โคดมถูกท่านถามอย่างนี้แล้ว ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า อย่างนั้นนายคามณี ตถาคต สรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนก ปริยาย ท่านจงกล่าวกะพระสมณโคดมนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ เช่นนั้นทำไมพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์เป็นอันมากจึงเที่ยวจาริกอยู่ในนาฬันทคาม อันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้อง จับจ่ายด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดูกรนายคามณี พระสมณโคดมอันท่านถามปัญหา ๒ เงื่อน นี้แล้ว จะไม่อาจคาย จะไม่อาจกลืน (กลืนไม่เข้าคายไม่ออก) ได้เลย ฯ [๖๒๑] นายอสิพันธกบุตรรับคำนิครณถ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจากอาสนะ ไหว้นิครณถ์นาฏบุตรทำประทักษิณแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความเอ็นดู การ ตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ พระผู้มี พระภาคตรัสตอบว่า อย่างนั้น นายคามณี ตถาคตสรรเสริญความเอ็นดู การตาม รักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ฯ คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้น ทำไมพระผู้มีพระภาคพร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก จึงเที่ยวจาริกอยู่ในนาฬันทคามอันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยง ชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่ายด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อม ปฏิบัติเพื่อให้สกุล คับแค้น ฯ [๖๒๒] พ. ดูกรนายคามณี แต่ภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัป ที่เราระลึกได้ เราไม่รู้สึกว่าเคยเบียดเบียนสกุลไหนๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่สุกแล้วเลย อนึ่งเล่า สกุลเหล่าใดมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีทรัพย์คือ เครื่องอุปกรณ์มาก มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมาก สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการ ให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ ดูกรนายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเพื่อความ คับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจากพระราชา ๑ จาก โจร ๑ จากไฟ ๑ จากน้ำ ๑ ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนจากที่ ๑ ย่อมวิบัติเพราะ การงานที่ประกอบไม่ดี ๑ ทรัพย์ในสกุลเกิดเป็นถ่านไฟ ๑ คนในสกุลใช้จ่าย โภคทรัพย์เหล่านั้นฟุ่มเฟือย ให้พินาศสูญหายไป ๑ ความไม่เที่ยงเป็นที่ ๘ ดูกรนายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้แล เพื่อความคับแค้นของสกุลทั้งหลาย เมื่อเหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ผู้ใดพึงว่าเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคปฏิบัติ เพื่อให้สกุลขาดสูญ เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้ ผู้นั้นยังไม่ ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฐินั้น ต้องดิ่งลงในนรกแน่แท้ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายคามณีอสิพันธกบุตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มี พระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอด ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ
จบสูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๘๑๗๓-๘๒๒๗ หน้าที่ ๓๕๓-๓๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=8173&Z=8227&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=18&A=8173&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=275              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=620              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=8093              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3672              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=8093              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3672              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i586-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn42/sn42.009.than.html https://suttacentral.net/sn42.9/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]