ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ราสิยสูตร
[๖๒๙] ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าราสิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรง ชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใด ได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่า บุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่า นั้นเป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี ชนเหล่าใดได้กล่าวแล้วอย่างนี้ ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้นย่อมไม่เป็นอันกล่าว ตามคำที่เรากล่าวแล้ว และกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ไม่เป็นจริง ฯ [๖๓๐] ดูกรนายคามณี บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่างนี้ คือ ๑. การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็นธรรมเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ๒. การประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า ซึ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่ เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ดูกรนายคามณี ข้อปฏิบัติสาย กลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างนั้น อันพระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอัน ยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรนายคามณี ก็ข้อปฏิบัติสายกลาง อันพระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน คืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลางนี้แล อันตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญา อันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ [๖๓๑] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหา โภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุข สบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ ๑ ฯ [๖๓๒] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหา โภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความ ไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบ ธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้ เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดย ความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ ฯ [๖๓๓] ดูกรนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็น สุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุข สบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุข สบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ หลงพัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่ ดูกรนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้ บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่อนสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่ ฯ [๖๓๔] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยง ตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูก ติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียน โดย ๓ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๓๕] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริ- *โภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้ว เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดย ความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวว่า เลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๓๖] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานอย่างเดียว ควร สรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูก ติเตียนโดยสถานเดียวว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควร สรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๓๗] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดย ไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน ควรสรรเสริญโดย สถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความ ผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถาน ที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคล บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน เหล่านี้ ฯ [๖๓๘] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดยไม่ ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยง ตัวให้เป็นสุขสบาย พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึง ถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียน ๒ สถาน เหล่านี้ ฯ [๖๓๙] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยผลุนผลันบ้าง โดย ไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญนี้ ควร สรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์ โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยง ตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ พึง ถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวง หาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ดูกรนายคามณี บุคคลผู้ บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถาน เดียวนี้ ฯ [๖๔๐] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่เลี้ยง ตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทานไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูก ติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือควรสรรเสริญ โดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๑] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถาน ที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย พึงถูก ติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ไม่ จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญ โดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๔๒] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญ โดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน เป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ พึงถูกติเตียนโดยสถาน เดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า เป็นคนละโมภ หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ ดูกรนาย คามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียน โดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๔๓] ดูกรนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น ผู้บริโภค กามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัว ให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มี ปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญ โดย ๔ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควร สรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควร สรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ สถานที่ ๔ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เป็นคน ไม่ละโมภ ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๔] ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีตบะทรงชีพ อยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย แต่ ก็ไม่บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑ ดูกรนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย บรรลุ กุศลธรรมอย่างเดียว แต่กระทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑ ดูกรนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่าง เศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้ บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ๑ ฯ [๖๔๕] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้า- *หมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวน กระวาย ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียน โดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรน กระวนกระวาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอย่างเศร้าหมอง นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๖] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้า หมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวน กระวาย ได้บรรลุกุศลธรรมเท่านั้น แต่ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมชั้นเยี่ยมอย่าง บริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึง ถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัว ให้ร้อนรนกระวนกระวาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่ง อุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ควรสรรเสริญ โดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ได้บรรลุ กุศลธรรม ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึง ถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้ ฯ [๖๔๗] ดูกรนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้า- *หมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัวให้ร้อนรนกระวน กระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์นี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๒ ควร สรรเสริญดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตริมนุสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ได้ ดูกรนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านี้ ฯ [๖๔๘] ดูกรนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา ในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การที่บุคคล เป็นผู้กำหนัดตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจ ที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะราคะเป็นเหตุ เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา ในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑ การที่บุคคลผู้ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะ โทสะเป็นเหตุ เมื่อละโทสะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่น บ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วย กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑ การที่บุคคลผู้หลงแล้ว ตั้งใจจะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจจะ เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจจะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะโมหะ เป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่ ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้ เฉพาะตน ๑ ดูกรนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้แล เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา ในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว นายบ้านนามว่าราสิยะได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของ ที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจัก เห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต ฯ
จบสูตรที่ ๑๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๘๓๔๕-๘๕๘๐ หน้าที่ ๓๖๐-๓๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=8345&Z=8580&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=18&A=8345&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=278              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=629              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=18&A=8270              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3721              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=18&A=8270              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3721              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i586-e.php#sutta12 https://suttacentral.net/sn42.12/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]