ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เวสาลีสูตร
ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน
[๑๓๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภแก่ภิกษุทั้งหลาย โดย อเนกปริยาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา ปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่า นั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว ใครๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค เว้นแต่ภิกษุ ผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว. [๑๓๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัส- *สรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวาย ประกอบการเจริญอสุภ อันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นอึดอัดระอา เกลียด- *กายนี้ ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำ ศาตรามาโดยวันเดียวกัน. [๑๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น โดยล่วงกึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัส เรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนเบาบาง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๗.

ไป? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัส อสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่ง อสุภ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภ โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญ อสุภอันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนกอยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาตรา สำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาตรามาโดยวันเดียวกัน ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ ในอรหัตผลเถิด. [๑๓๕๑] พ. ดูกรอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด ที่อาศัยเมืองเวสาลี อยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัส พระผู้มีพระภาคแล้ว ยังภิกษุทั้งหมดที่อาศัยเมืองเวสาลีอยู่ ให้มาประชุมกันในปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุม กันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด. [๑๓๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา แล้วประทับนั่งบน อาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน สงบไปโดยพลัน. [๑๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนธุลีและละอองที่ฟุ้งขึ้นในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังธุลีและละอองนั้นให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันใด สมาธิ อันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน สงบไปโดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร เป็นสภาพสงบ ... ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ ไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติ หายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๒๘.

เห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจ เข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้ มากแล้วอย่างนี้ เป็นสภาพสงบ ... ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน.
จบ สูตรที่ ๙

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๗๙๔-๗๘๔๐ หน้าที่ ๓๒๖-๓๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=7794&Z=7840&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=7794&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=307              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1348              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=7863              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7505              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=7863              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7505              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn54/sn54.009.than.html https://suttacentral.net/sn54.9/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]