ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ทุสีลยสูตรที่ ๒
กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม ๔ ประการ
[๑๕๖๘] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็น ไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านจง ไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้ว จงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ขอ กราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก- *คฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิก- *คฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความ อนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับนิมนต์ด้วย ดุษณีภาพ. [๑๕๖๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิก- *คฤหบดีว่า [๑๕๗๐] ดูกรคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ? ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลา ไม่ปรากฏ. [๑๕๗๑] อ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม มีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาเห็นความไม่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน ภายหน้า. อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระธรรม ก็ เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า. อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ก็ เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตาย ที่จะมาถึงในภายหน้า. อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล ก็เมื่อเขาเห็น ความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมมีความ สะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า. [๑๕๗๒] ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม ไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน? อริยสาวกผู้ได้สดับในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความ ตายที่จะมาถึงในภายหน้า. อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อ เขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า. อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมไม่ มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า. อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็น ไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อเขาเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า. ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมไม่มีความ สะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า. [๑๕๗๓] ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ผู้เจริญ กระผมไม่กลัว กระผมจักพูดแก่ท่านได้ ด้วยว่ากระผมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ อันพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว กระผมยังไม่แลเห็นความขาดอะไรๆ ของสิกขาบทเหล่านั้นในตนเลย. อ. ดูกรคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผล ท่านพยากรณ์แล้ว.
จบ สูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๑๖๑-๙๒๒๒ หน้าที่ ๓๘๒-๓๘๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9161&Z=9222&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=9161&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=345              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1568              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=9454              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8066              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=9454              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8066              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.27/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]