ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อภิสันทสูตรที่ ๓
ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ
[๑๖๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนก ธรรม นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่ง ความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระสงฆ์ ... นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวก เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นเหตุให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ เป็น ไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมา ซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล. [๑๖๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใครๆ จะนับจะประมาณบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วย ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศลอันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณ เท่านี้มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า [๑๖๑๓] ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งมั่นในกุศล เจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้นบรรลุธรรมที่เป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป (แห่งอาสวะ) ย่อมไม่หวั่นไหวในเมื่อมัจจุราชมาถึง.
จบ สูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๙๕๗๗-๙๕๙๗ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=9577&Z=9597&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=19&A=9577&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=361              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1611              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=19&A=9864              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8100              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=19&A=9864              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8100              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn55.43/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]