ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุ
อื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความประมาท
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความไม่ประมาท
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้
เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการปรารภความ
เพียร ดูกรภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้
มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักน้อย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้
ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประ-
*โยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้สันโดษ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดย
ไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดย
แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้
ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายนอก เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มี
มิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายนอก เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบ
อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบ
อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น
เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบ
กุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบ
กุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
อย่างใหญ่ ฯ
             [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความ
ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อ
ความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อม
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม ฯ
             [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
ผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนการปรารภความเพียร ดูกรภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม ฯ
             [๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
ผู้มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม ฯ
             [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้
ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม ฯ
             [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการใส่ใจ
โดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดย
แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่
อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
ผู้ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม ฯ
             [๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น
ผู้มีมิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม ฯ
             [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการประกอบ
อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบ
อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ
             [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง
สัทธรรม ฯ
จบวรรคที่ ๑๐

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๘๗-๕๒๑ หน้าที่ ๑๗-๒๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=387&Z=521&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=20&A=387&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=10              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=99              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=413              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=1783              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=20&A=413              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=1783              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i099-e.php# https://suttacentral.net/an1.98-139/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]