ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ปังกธาสูตร
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมแห่งชาวโกศลชื่อปังกธา ได้ยินว่าสมัยนั้น พระองค์ประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกศลชื่อปังกธา ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุชื่อ กัสสปโคตร เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ ปังกธานิคม ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มี- *พระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงยัง ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอัน ปฏิสังยุตด้วยสิกขาบทอยู่ ภิกษุกัสสปโคตรได้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะ นี้ขัดเกลายิ่งนัก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปังกธานิคมตามควร แก่อภิรมย์แล้ว เสด็จจาริกกลับไปทางพระนครราชคฤห์ เมื่อเสด็จจาริกไปโดย ลำดับ ได้เสด็จถึงพระนครราชคฤห์แล้ว ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ภิกษุกัสสปโคตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปได้ไม่นาน ได้เกิดความรำคาญ เดือดร้อนว่า เราผู้เกิดความขัดใจ ไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก ในเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมี- *ถกาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขา ชื่อว่าเป็นอันหมดลาภ ไม่มีลาภ ได้ชั่ว ไม่ได้ดี แล้วหนอ ถ้ากระไร เราควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ แล้วพึง แสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของพระผู้มีพระภาคเถิด ลำดับนั้นแล ภิกษุ กัสสปโคตรเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและจีวร หลีกไปทางพระนครราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์โดย ลำดับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวโกศล ชื่อปังกธา ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา อันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท พระเจ้าข้า ขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบทอยู่ ข้าพระองค์ นั้นได้เกิดขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ปังกธานิคมตามควรแก่อภิรมย์ เสด็จจาริกกลับไปทางพระนคร- *ราชคฤห์ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ได้เกิดความรำคาญ เดือดร้อนว่า เราผู้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ ขัดเกลายิ่งนัก ในเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท ชื่อว่าเป็นอันหมด ลาภ ไม่มีลาภ ได้ชั่ว ไม่ได้ดีแล้วหนอ อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วพึงแสดงโทษโดยความเป็นโทษ ในสำนักของ พระผู้มีพระภาค พระเจ้าข้า โทษได้ถึงตัวข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่เขลา งมงาย ไม่ ฉลาด ข้าพระองค์ได้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก ใน เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค ได้โปรดทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวัง ต่อไปเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้เป็นคน โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด เธอใดได้เกิดความขัดใจไม่แช่มชื่นว่า สมณะนี้ขัด- *เกลายิ่งนัก ในเมื่อเรายังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท ก็เพราะเหตุที่เธอนั้นเห็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม ฉะนั้น เราก็รับโทษอันนั้นของเธอ ดูกรกัสสปะ ก็การที่ บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปนี้ เป็นการเจริญในอริยวินัย ดูกรกัสสปะ ถ้าภิกษุปูนเถระเป็นผู้ไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการสมาทานการศึกษา เธอย่อมจะไม่ชักชวนภิกษุอื่นๆ ที่ไม่ใคร่ต่อ การศึกษาในการศึกษา และไม่แสดงคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุรูปอื่นๆ ที่ใคร่ ต่อการศึกษาตามกาล ดูกรกัสสปะ ภิกษุปูนเถระเห็นปานดังนี้ เราไม่สรรเสริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นๆ จะพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า พระศาสดา สรรเสริญเขา ภิกษุพวกที่คบหาภิกษุนั้น พึงถือเอาภิกษุนั้นเป็นแบบอย่าง ข้อนั้น พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เธอทั้งหลาย สิ้นกาลนาน ดูกรกัสสปะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุปูนเถระเห็นปานดังนี้ ดูกรกัสสปะ ถ้าภิกษุปูนกลาง ฯลฯ ถ้าภิกษุใหม่เป็นผู้ไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการ สมาทานการศึกษา เธอย่อมจะไม่ชักชวนภิกษุอื่นๆ ที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาในการ ศึกษาและไม่แสดงคุณที่เป็นจริงมีจริงของภิกษุอื่นๆ ที่ใคร่ต่อการศึกษาตามกาล ดูกรกัสสปะ ภิกษุใหม่เห็นปานดั่งนี้ เราไม่สรรเสริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ภิกษุอื่นๆ จะพึงคบหาเธอโดยเห็นว่าพระศาสดาสรรเสริญเขา ภิกษุที่คบหาภิกษุนั้น พึงถือภิกษุนั้นเป็นแบบอย่าง ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เธอ ทั้งหลายสิ้นกาลนาน ดูกรกัสสปะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุ ใหม่เห็นปานนั้น ดูกรกัสสปะ ถ้าภิกษุปูนเถระ ฯลฯ ถ้าภิกษุปูนกลาง ฯลฯ ถ้าภิกษุใหม่ เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา สรรเสริญการสมาทานการศึกษา เธอย่อมจะ ชักชวนภิกษุอื่นๆ ที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษา และแสดงคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุ อื่นๆ ที่ใคร่ต่อการศึกษาตามกาล ดูกรกัสสปะ ภิกษุใหม่เห็นปานดั่งนี้ เรา สรรเสริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นๆ จะพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า พระศาสดาสรรเสริญเขา ภิกษุพวกที่คบหาภิกษุนั้นพึงถือเอาภิกษุนั้นเป็นแบบอย่าง ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เธอทั้งหลาย สิ้นกาลนาน ดูกร- *กัสสปะ เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เราจึงสรรเสริญภิกษุใหม่เห็นปานดังนี้ ฯ
จบสมณวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมณสูตร ๒. คัทรภสูตร ๓. เขตตสูตร ๔. วัชชีปุตตสูตร ๕. เสขสูตรที่ ๑ ๖. เสขสูตรที่ ๒ ๗. เสขสูตรที่ ๓ ๘. เสขสูตรที่ ๔ ๙. สิกขาสูตรที่ ๑ ๑๐. สิกขาสูตรที่ ๒ ๑๑. ปังกธาสูตร ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๒๖๖-๖๓๔๑ หน้าที่ ๒๖๗-๒๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6266&Z=6341&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=20&A=6266&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=136              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=531              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=6417              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=5700              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=20&A=6417              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=5700              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i521-e.php#sutta11 https://suttacentral.net/an3.91/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]