ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
กฏุวิยสูตร
[๕๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤค- *ทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรง ผ้าอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังพระนครพาราณสีเพื่อ บิณฑบาต พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไร้ความ แช่มชื่น มีความแช่มชื่นแต่ภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มี สมาธิ มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในสำนัก ของพวกมิลักขะ ซึ่งชุมนุมกันอยู่ ณ สถานที่ขายโค แล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้น ว่า ดูกรภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ข้อที่ว่า แมลงวัน จักไม่ไต่ตอม จักไม่กัดตนที่ทำให้มักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้นแล ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้น อันพระผู้มีพระภาคตรัสสอน ด้วยพระโอวาทนี้ ได้ถึงความสลดใจแล้ว ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครพาราณสี ในเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับ จากเที่ยวบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเช้านี้ เรานุ่งผ้าอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังพระนครพาราณสี เพื่อบิณฑบาต เราได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งผู้ไร้ความแช่มชื่น มีความแช่มชื่นแต่ ภายนอก หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในสำนักของพวกมิลักขะ ซึ่งชุม นุมกันอยู่ ณ สถานที่ขายโค ครั้นแล้ว เราได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ดูกร ภิกษุ เธออย่าได้ทำตนให้เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ข้อที่ว่าแมลงวันจักไม่ไต่ ตอม จักไม่กัดตนที่ทำให้มักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้นแล ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นอันเราสอนด้วย โอวาทนี้ ได้ถึงความสลดใจแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมักใหญ่ใฝ่สูงคืออะไร กลิ่นดิบ คืออะไร แมลงวันคืออะไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ความ มักใหญ่ใฝ่สูง คือ อภิชฌา กลิ่นดิบ คือ พยาบาท แมลงวัน คือ วิตกที่ เป็นบาปเป็นอกุศล ดูกรภิกษุ ข้อที่ว่า แมลงวันจักไม่ไต่ตอม จักไม่กัดตนที่ทำ ให้มักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบนั้นแล ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ แมลงวันคือความดำริที่อิงราคะ จักตอมบุคคลผู้ไม่คุ้ม ครองในจักษุและโสต ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ทำตนให้เป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง ชุ่มเพราะกลิ่นดิบ ย่อม อยู่ห่างไกลจากนิพพาน เป็นผู้มีส่วนแห่งความคับแค้นถ่าย เดียว คนพาลสันดานเขลา ถูกแมลงวันทั้งหลายไต่ตอม ไม่ได้เพื่อนที่เสมอตน พึงเที่ยวไปในบ้านบ้าง ในป่าบ้าง ส่วน ชนพวกที่สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในธรรมเป็นที่เข้าไปสงบด้วย ปัญญา เป็นผู้สงบระงับ อยู่เป็นสุข แมลงวันไม่ อาศัยเขา ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๗๓๖๙-๗๔๐๕ หน้าที่ ๓๑๕-๓๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=7369&Z=7405&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=20&A=7369&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=173              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=568              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=20&A=7627              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6262              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=20&A=7627              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6262              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i563-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.126.than.html https://suttacentral.net/an3.128/en/sujato https://suttacentral.net/an3.128/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]