ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
สัปปุริสสูตร
[๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึง ทราบว่าเป็นอสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความเสียหายของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า และเมื่อ ถูกถามเข้าก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๐.

เสียหายของผู้อื่นเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่าท่านผู้นี้เป็น อสัตบุรุษ ฯ อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของ ผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม และเมื่อถูกถามแล้ว ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวสรรเสริญคุณผู้อื่นโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ฯ อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความเสีย หายของตน จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม และเมื่อถูกถามแล้ว ก็ไม่แก้ปัญหาโดย ตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของตนโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ฯ อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความดีของ ตน จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า และเมื่อถูกถามแล้วก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อม ค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความดีของตนเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นอสัตบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึงทราบว่า เป็นสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่ เปิดเผยความเสียหายของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถาม เข้า ก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว กล่าวความเสียหายของผู้ อื่นโดยย่อไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ฯ อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลก แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความดีของผู้อื่น จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้าก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่อ้อมค้อม ไม่ หน่วงเหนี่ยว กล่าวความดีของผู้อื่นเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึง ทราบว่าท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๑.

อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ไม่ถูกถามก็เปิดเผยความเสียหาย ของตน จะกล่าวอะไรถึงถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้าก็แก้ปัญหาโดยตรง ไม่ อ้อมค้อม ไม่หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความเสียหายของตนเต็มที่อย่างกว้างขวาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ฯ อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษในโลกนี้ แม้ถูกถามก็ไม่เปิดเผยความดีของตน จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถามเล่า แต่เมื่อถูกถามเข้าก็ไม่แก้ปัญหาโดยตรง อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว แล้วกล่าวความดีของตนโดยย่อ ไม่เต็มที่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึง ทราบว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นสัตบุรุษ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงสะใภ้ที่ถูกนำมาคืนหนึ่งหรือวันหนึ่งเท่านั้น นาง ตั้งหิริและโอตตัปปะได้อย่างแรงกล้าในแม่ผัว พ่อผัว และผัว โดยที่สุดใน คนรับใช้และคนทำงาน สมัยต่อมา นางอาศัยอยู่คุ้นเคย จึงกล่าวกะแม่ผัว บ้าง พ่อผัวบ้าง และผัวบ้าง อย่างนี้ว่า จงหลีกไป ก็พวกท่านรู้อะไร ดังนี้ ฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพียงออกบวชได้วันหนึ่ง หรือคืนหนึ่งเท่านั้น เธอตั้งหิริและโอตตัปปะไว้อย่างแรงกล้า ในพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย โดยที่สุดในคนวัดและสามเณร สมัยต่อมา เธออาศัยความอยู่ร่วม จึงกล่าวกะอาจารย์บ้าง กะอุปัชฌาย์บ้าง อย่างนี้ว่า จงหลีก ไปก็พวกท่านรู้อะไร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เราจักมีใจเสมือนหญิงสะใภ้ซึ่งมาใหม่อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๐๗๙-๒๑๒๘ หน้าที่ ๘๙-๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=2079&Z=2128&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=21&A=2079&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=73              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=73              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=21&A=2100              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8298              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=21&A=2100              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8298              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i071-e.php#sutta3 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i071-e2.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.073.than.html https://suttacentral.net/an4.73/en/sujato https://suttacentral.net/an4.73/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]