ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สีหสูตร
[๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหา วัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติผลแห่งทานที่ประจักษ์ ในปัจจุบันได้หรือไม่ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสีหะ ถ้าอย่างนั้น จักย้อนถามท่านในปัญหา ข้อนี้ก่อน ท่านพึงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นตามชอบใจท่าน ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ในเมืองเวสาลีนี้ มีบุรุษอยู่ ๒ คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ถี่เหนียว พูดเสียดสี คนหนึ่งมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับ สนุน ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อจะ อนุเคราะห์พึงอนุเคราะห์คนไหนก่อน จะเป็นคนไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน ฯ สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ จักอนุเคราะห์คนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วน คนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อ อนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์คนนั้นก่อนเทียว ฯ พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อเข้าไป พึงเข้าไปหาใครก่อน จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูด เสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๗.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหา จักเข้าไปหาคนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคน ที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไป หา พึงเข้าไปหาคนนั้นก่อนเทียว ฯ พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อรับ พึงรับของใครก่อน จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน ฯ สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ จักรับของคนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มี ศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ พึง รับของคนนั้นก่อนเทียว ฯ พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อแสดงธรรม พึงแสดงแก่คนไหนก่อน จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่- *เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน ฯ สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม จักแสดงแก่คนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วน คนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อ แสดงธรรม พึงแสดงแก่คนนั้นก่อนเทียว ฯ พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กิตติศัพท์อันงามของ คนไหน พึงขจรไป จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือ คนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน ฯ สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี กิตติศัพท์อันงามของคนนั้น จักขจรไปได้อย่างไร ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็น ทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน กิตติศัพท์อันงามของคนนั้นเทียวพึงขจรไป ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๘.

พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหนที่จะพึงเข้าไป สู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณ บริษัท พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไป จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดี ให้ความสนับสนุน ฯ สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี จักเข้าไปสู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดี บริษัท สมณบริษัท จักเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไปอย่างไรได้ ส่วนคน ที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน เขาผู้นั้นพึงเข้าไปสู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท พึง เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไป ฯ พ. ดูกรสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหนเมื่อตายไปจะ พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน ฯ สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียด สี เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็น ทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ในผลแห่งทาน ๖ ประการ ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน อันพระผู้มี พระภาคตรัสแล้ว ข้าพระองค์มิได้ดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาค แม้ ข้าพระองค์เองก็รู้ผลแห่งทานเหล่านี้ ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ข้าพระองค์ก่อน เมื่อเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาข้าพระองค์ก่อน เมื่อรับ ย่อมรับของข้าพระองค์ก่อน เมื่อแสดงธรรม ย่อมแสดงแก่ข้าพระองค์ก่อน กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ขจรไปแล้วว่า สีห- *เสนาบดีเป็นทายก เป็นการกบุคคล เป็นผู้อุปัฏฐากพระสงฆ์ ข้าพระองค์ผู้เป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๙.

ทายก เป็นทานบดี เข้าไปสู่บริษัทใดๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์ บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในผลแห่งทาน ๖ ประการที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน อัน พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ข้าพระองค์มิได้ดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาค แม้ข้าพระองค์เองก็รู้ผลแห่งทานเหล่านี้ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสผลแห่งทานใดกะ ข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรสีหะ ทายก ทานบดี เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ข้าพระองค์ยังไม่รู้ผลแห่งทานนั้น และในผลแห่งทานข้อนี้ ข้าพระองค์ ขอดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ฯ พ. อย่างนั้น สีหะ อย่างนั้น สีหะ ดูกรสีหะ ทายก ทานบดี เมื่อ ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๑๗๓๔-๑๘๑๑ หน้าที่ ๗๖-๗๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=1734&Z=1811&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=23&A=1734&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=54              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=54              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=23&A=1700              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4271              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=23&A=1700              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4271              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i051-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an7.57/en/sujato https://suttacentral.net/an7.57/en/hare

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]