ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๑๒๖.

วินัยวรรคที่ ๓
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึง พร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้ ฯ [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดีแล้ว วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็น วินัยธรได้ ฯ [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ หนักอยู่ในพระวินัยไม่ง่อนแง่น ๑ มีปรกติได้ ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึง อยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็น วินัยธรได้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๗.

[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้ ฯ [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น พระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรงาม ฯ [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น วินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จัก อาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ จำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดีแล้ว วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ ๑ มีปรกติได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม ฯ [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น พระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๘.

รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ หนักอยู่ในพระวินัย ไม่ง่อนแง่น ๑ มีปรกติ ได้ตามความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโต- *วิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม ฯ [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็น พระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยประการฉะนี้ ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม ฯ [๘๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่- *พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม โดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรม เหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความ สงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงธรรม เหล่านั้นไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอนของ ศาสดา อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๙.

นิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา ฯ [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการนี้ เพื่อ สงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดแล้วๆ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สงฆ์พึงให้ สัมมุขาวินัย (สำหรับระงับต่อหน้า) ๑ พึงให้สติวินัย (สำหรับพระอรหันต์ผู้มี สติไพบูลย์) ๑ พึงให้อมูฬหวินัย (สำหรับภิกษุบ้า) ๑ ปฏิญญาตกรณะ (ให้ ทำการปรับโทษตามคำปฏิญาณ) ๑ เยภุยยสิกา (ปรับโทษถือข้างมากเป็น ประมาณ) ๑ ตัสสปาปิยสิกา (ปรับโทษสมกับความผิดแก่ภิกษุจำเลยนั้น) ๑ ติณวัตถารกะ (ตัดสินทำนองกลบหญ้า คือ ทำการประนีประนอม) ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการนี้แล เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ ที่เกิดแล้วๆ ฯ
จบวินัยวรรคที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๒๙๐๐-๒๙๘๔ หน้าที่ ๑๒๖-๑๒๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=2900&Z=2984&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=23&A=2900&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=72              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=72              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=23&A=3051              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4684              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=23&A=3051              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4684              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i072-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.079.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/07/an07-083.html https://suttacentral.net/an7.75/en/sujato https://suttacentral.net/an7.76/en/sujato https://suttacentral.net/an7.77/en/sujato https://suttacentral.net/an7.78/en/sujato https://suttacentral.net/an7.79/en/sujato https://suttacentral.net/an7.80/en/sujato https://suttacentral.net/an7.81/en/sujato https://suttacentral.net/an7.82/en/sujato https://suttacentral.net/an7.83/en/sujato https://suttacentral.net/an7.83/en/thanissaro https://suttacentral.net/an7.84/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]