ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พลสูตรที่ ๒
[๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ศรัทธาพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม วินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะ เหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ศรัทธาพละ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิริยพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่ง กุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยพละ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หิริพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔.

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โอตตัปปพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่า โอตตัปปพละ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สติพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อม ระลึกนึกถึงแม้สิ่งที่ทำคำที่พูดไว้นานๆ ได้ นี้เรียกว่า สติพละ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เรียกว่า สมาธิพละ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาพละเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิดและ ความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล ฯ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗ ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗ ประการนี้ เป็นบัณฑิตย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรม โดยแยบคาย ย่อมเห็นอรรถแห่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความ หลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของภิกษุนั้น ย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๔

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๔-๘๗ หน้าที่ ๓-๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=54&Z=87&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=23&A=54&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=23&siri=4              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=4              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=23&A=46              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3555              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=23&A=46              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3555              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i001-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an7.4/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]