ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๑๒. รัชชุมาลาวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในรัชชุมาลาวิมาน
พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่า [๕๐] ดูกรนางเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก กรีดกรายร่ายรำอยู่ในวิมาน อันกึกก้องไปด้วยเสียงเพลงขับทิพย์ เมื่อท่านเยื้องย่างฟ้อนรำอยู่ เสียง ทิพย์อันไพเราะน่าฟังดังจับใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมระรื่นน่าชื่นใจ ย่อมฟุ้งขจรออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ ของท่านทุกส่วน เมื่อท่านไหวกายกลับกลอกไปมา เสียงของเครื่อง ประดับที่ท่านประดับบนช้องผม ย่อมเปล่งเสียงไพเราะกังวานปานดนตรี เครื่อง ๕ และเสียงมงกุฎของท่านที่ถูกลมรำเพยพัด ย่อมเปล่งเสียงดัง เสนาะ ดุจดนตรีเครื่อง ๕ แม้พวงดอกไม้บนเศียรเกล้าของท่าน ก็มีกลิ่น หอมระรื่นน่าชื่นใจ หอมตลบไปทั่วทุกทิศ ประดุจดอกอุโลกฉะนั้น ท่านย่อมสูดดมกลิ่นอันหอมระรื่น ทั้งได้เห็นรูปอันเป็นทิพย์ ดูกรนาง เทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร?

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๑.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า เมื่อชาติก่อน ดิฉันเป็นหญิงรับใช้ของพราหมณ์อยู่ในบ้านคยา เป็นคนมี บุญน้อย ต่ำทราม ชนทั้งหลายเรียกดิฉันว่ารัชชุมาลา ดิฉันถูกเจ้านาย ลงโทษด้วยการด่าว่าเฆี่ยนตี และขู่เข็ญอย่างหนัก จึงถือเอาหม้อน้ำออก จากบ้านเพื่อตักน้ำแล้ววางหม้อน้ำไว้เสียข้างทางบ่ายหน้าสู่ป่าชัฏ ด้วยตั้ง ใจว่า เราจักตายเสียในที่นี้แหละ ความเป็นอยู่ของเราหาประโยชน์อะไร มิได้เลย ครั้นแล้วผูกเชือกให้เป็นบ่วงรัดคออย่างแน่น แล้วปล่อยห้อย ไปตามต้นไม้ คิดว่าจะโดดลงไปให้ตาย เหลียวไปดูรอบทิศ ด้วย เกรงว่า จะมีผู้ใดมาแอบดูอยู่บ้าง ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็น ปราชญ์ ผู้ทรงเกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ กำลังประทับ นั่งเข้าณานอยู่ที่โคนไม้ ดิฉันนั้นเกิดความสังเวช โลมชาติชูชันไม่เคยมี มาแต่ก่อน ด้วยคิดว่า ใครหนอจะเป็นมนุษย์หรือเทวดามานั่งอยู่ เพราะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้สมควรที่จะเกิดความเลื่อมใสโดยแท้จริง ผู้หลีก ออกจากป่า คือกิเลสแล้วมาสู่นิพพาน ใจของดิฉันก็เกิดความเลื่อมใส เพราะคิดว่าท่านผู้สำรวมอินทรีย์ ยินดีณาน มีใจคงที่เช่นนี้ คงไม่ใช่ผู้อื่น จักเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลกทั้งปวง ทรงหวาดกลัวต่อภัย ทรงหลีกเลี่ยงเสียห่างไกล ดังพญาราชสีห์ หลีกเลี่ยงจากภัย เข้าอาศัย อยู่ในถ้ำฉะนั้น การได้พบเห็นพระพุทธเจ้าเช่นนี้เป็นการยาก ดังดอก มะเดื่อ อันบุคคลเห็นได้ยากฉะนั้น (ขณะที่ดิฉันกำลังคิดอยู่อย่างนี้) พระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ได้ตรัสเรียกดิฉันด้วยพระวาจาอันอ่อนหวาน ว่า ดูกรนางรัชชุมาลา ดังนี้แล้ว มีพระดำรัสสืบต่อไปว่า ท่านจงถึง ตถาคตเป็นที่พึ่งเถิด ดิฉันได้สดับพระวาจาอันปราศจากโทษ ประกอบ ด้วยประโยชน์บริสุทธิ์สะอาด เป็นพระวาจาละเอียดอ่อนหวาน ไพเราะ น่าฟัง สามารถบรรเทาความโศกเศร้าทั้งปวงเสียได้นั้น จึงเข้าไปเฝ้าตาม รับสั่ง พระตถาคตเจ้าผู้ทรงเกื้อกูลแก่สัตว์โลกทุกหมู่เหล่าทรงทราบ ว่า ดิฉันมีจิตอ่อนเลื่อมใส มีใจบริสุทธิ์แล้ว จึงตรัสสอนดิฉันต่อไปว่า นี้ทุกข์ นี้เป็นแดนเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๒.

เป็นทางหยั่งลงสู่อมตธรรม ดิฉันตั้งอยู่ในพระโอวาทของพระตถาคต ผู้ทรงพระมหากรุณา ฉลาดในเทศนาสั่งสอนสัตว์ จึงได้บรรลุถึงทาง นิพพานเป็นธรรมอันไม่ตาย สงบระงับ ไม่มีจุติต่อไป ดิฉันเป็นผู้มี ความภักดีมั่น ไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยด้วยความเชื่อมั่นเป็นราก ฐาน เพราะเห็นว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ ชอบ จึงถวายตัวเป็นสาวิกาผู้เกิดแต่พระอุระของพระพุทธเจ้า ดิฉันรื่น เริงบันเทิงอยู่เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ ทัดทรงทิพย์มาลา ดื่มน้ำผึ้งทิพย์อัน มีรสหวานสนิท มีนางฟ้าหกหมื่นบรรเลงดนตรี กระทำความปลาบปลื้ม ให้แก่ดิฉัน นางเทพอัปสร มีชื่อต่างๆ กัน คือ อาฬัมพา คัครา ภีมา สาธุวาที สังสยา โบกขรา สุผัสสา วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี ปุณฑริกา เอณิปัสสา สุปัสสา สุภัททา มุทุกาวที เหล่านี้และเหล่าอื่น ล้วนประเสริฐกว่า นางเทพอัปสรทั้งหลาย ในทางบำเรอ ให้ปลาบปลื้ม นางเทพธิดา เหล่านั้น เมื่อถึงเวลา จะเข้ามาใกล้ชิด แล้วกล่าวประเล้าประลมดิฉัน ว่า เอาเถอะ พวกดิฉันจะฟ้อนรำ ขับร้อง บำเรอท่านให้รื่นรมย์ทีเดียว ก็เทพอุทยานชื่อว่านันทวัน อันหาความโศกเศร้ามิได้ มีแต่ความรื่นเริง บันเทิงใจ นับว่าเป็นเทพอุทยานอันใหญ่ยิ่งของเทวดาชาวไตรทศนี้ ไม่ เป็นที่อยู่ของผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ แต่เป็นที่อยู่ของผู้ทำบุญไว้เท่านั้น ความ ผาสุกย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น แต่ย่อมมี แก่ผู้ทำบุญไว้ ทั้งในโลกนี้และโลกอื่น นรชนผู้ปรารถนาจะอยู่กับเทวดา เหล่านั้น ควรทำกุศลไว้ให้มาก เพราะผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อม ด้วยโภคสมบัติบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์ ทายกทั้งหลายได้กระทำสักการะ บูชาในพระตถาคตเจ้าเหล่าใดแล้ว ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์ พระ ตถาคตเจ้าเหล่านั้นเป็นทักขิไณยบุคคล และเป็นบ่อเกิดแห่งเนื้อนาบุญ ของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติขึ้น เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ เป็นอันมากหนอ.
จบ รัชชุมาลาวิมานที่ ๑๒

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๓.

รวมวิมานที่มีในวรรค
รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มัญชิฏฐกวิมาน ๒. ปภัสสรวิมาน ๓. นาควิมาน ๔. อโลมวิมาน ๕. กัญชิกทายิกาวิมาน ๖. วิหารวิมาน ๗. จตุริตถีวิมาน ๘. อัมพวิมาน ๙. ปีตวิมาน ๑๐. อุจฉุวิมาน ๑๑. วันทนวิมาน ๑๒. รัชชุมาลาวิมาน.
จบ วรรคที่ ๔ ในอิตถีวิมาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๑๗๒๕-๑๘๐๒ หน้าที่ ๗๐-๗๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=1725&Z=1802&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=26&A=1725&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=50              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=50              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=26&A=1731              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=30&A=5023              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=26&A=1731              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=30&A=5023              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vv50/en/kiribathgoda

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]