ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

หน้าที่ ๒๔๕.

๘. จักกวากชาดก
ว่าด้วยความเป็นอยู่ของนกจักรพราก
[๑๒๗๔] ข้าพเจ้าขอถามนกทั้งหลาย ผู้มีสีดังคลุมด้วยผ้าย้อมน้ำฝาด มีใจเพลิด เพลินเที่ยวอยู่ นกทั้งหลายย่อมสรรเสริญชาติของนกอะไรในหมู่มนุษย์ ทั้งหลาย ขอเชิญท่านทั้งสองบอกนกนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด? [๑๒๗๕] ดูกรท่านผู้เบียดเบียนมนุษย์ ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย นกทั้งหลายย่อมกล่าว ถึงข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่านกจักรพราก ติดต่อกันมาว่า ในบรรดานกทั้งหลาย เขายกย่องกันว่า เราเป็นนกที่มีความงดงาม (เราเป็นนกมีรูปร่างงดงาม เที่ยวอยู่ที่สระ) เรามิได้ทำบาปแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร. [๑๒๗๖] ดูกรนกจักรพราก ท่านทั้งหลายกินผลไม้อะไรที่สระนี้ หรือว่าท่านกินเนื้อ ที่ไหน หรือว่าท่านกินโภชนาหารอะไร กำลังและวรรณะของท่านจึงไม่ เสื่อมทรามผิดรูปไป? [๑๒๗๗] ดูกรกา ที่สระนี้จะมีผลไม้ก็หาไม่ เนื้อที่นกจักรพรากจะกิน ก็มิได้มีที่ ไหน เราจะกินแต่สาหร่ายกับน้ำ (เรามิได้ทำบาปแม้เพราะเหตุแห่งอาหาร) เราเป็นนกมีรูปร่างงดงามเที่ยวอยู่ที่สระนี้. [๑๒๗๘] ดูกรนกจักรพราก อาหารที่ท่านกินนี้เราไม่ชอบใจ อาหารที่ท่านกินใน ภพนี้อย่างไร ท่านก็คล้ายกันกับอาหารนั้น ครั้งก่อนเราเคยเป็นอย่างนี้มา แล้ว แต่บัดนี้เรากลายเป็นอย่างอื่นไป ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเกิด ความสงสัยในสีกายของท่าน. [๑๒๗๙] แม้เราได้กินเนื้อ ผลไม้ และข้าวคลุกด้วยเกลือเจือด้วยน้ำมัน เรา ได้กินอาหารมีรสที่เขากินกันในหมู่มนุษย์ จึงได้กล้าหาญเข้าต่อสู่สงคราม ได้ ดูกรนกจักรพราก แต่สีสันวรรณะของเราหาได้เหมือนของท่านไม่. [๑๒๘๐] ดูกรกา ท่านเป็นผู้กินอาหารไม่บริสุทธิ์ มักจะโฉบลงในขณะที่เขา พลั้งเผลอ จะได้กินข้าวน้ำก็โดยยาก ผลไม้ทั้งหลายท่านก็ไม่ชอบใจกิน หรือเนื้อในกลางป่าช้าท่านก็ไม่ชอบใจกิน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔๖.

[๑๒๘๑] ดูกรกา ผู้ใดอาศัยบริโภคโภคสมบัติด้วยกรรมอันสาหัส มักจะโฉบ ลงในขณะที่เขาพลั้งเผลอ ภายหลังสภาวธรรมก็ย่อมติเตียนผู้นั้น ผู้นั้น ถูกสภาวธรรมติเตียนแล้ว ก็ย่อมละทิ้งสีและกำลังเสีย. [๑๒๘๒] ถ้าผู้ใดได้บริโภคอาหารแม้สักนิดหน่อย ซึ่งเป็นของเย็นไม่เบียดเบียน ผู้อื่นด้วยกรรมอันผลุนผลัน กำลังกายและวรรณะก็ย่อมมีแก่ผู้นั้น วรรณะทั้งปวงจะได้มีแก่ผู้นั้นด้วยอาหารมีประการต่างๆ เท่านั้นก็หาไม่.
จบ จักกวากชาดกที่ ๘.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๒๙๖-๕๓๒๗ หน้าที่ ๒๔๕-๒๔๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5296&Z=5327&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=27&A=5296&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=434              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1274              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=5339              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=39&A=7823              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=5339              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=39&A=7823              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja434/en/francis-neil

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]