ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. ภัททสาลชาดก
ว่าด้วยการบำเพ็ญประโยชน์แก่ญาติ
[๑๖๑๓] ท่านเป็นใคร มีผ้าอันสะอาดหมดจด มายืนอยู่บนอากาศ เพราะเหตุไร น้ำตาของท่านจึงไหล ภัยมาถึงท่านแต่ที่ไหน? [๑๖๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ เมื่อหม่อมฉันได้รับการบูชาอยู่ ๖๐,๐๐๐ ปี ชนทั้งหลาย รู้จักหม่อมฉันว่า ภัททสาละ ในแว่นแคว้นของพระองค์นี้แล. [๑๖๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ในทิศ พระราชาพระองค์ก่อนๆ เมื่อสร้าง พระนคร อาคาร และปราสาทต่างๆ พระราชาเหล่านั้นมิได้ดูหมิ่น หม่อมฉันเลย พระราชาเหล่านั้นบูชาหม่อมฉัน ฉันใด แม้พระองค์ ก็จงบูชาหม่อมฉัน ฉันนั้นเถิด.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๓.

[๑๖๑๖] ก็ข้าพเจ้ามิได้เห็นต้นไม้อื่นที่จะใหญ่โตเหมือนท่าน โดยประมาณท่าน เป็นไม้งามแต่กำเนิดด้วยย่านและปริมณฑล. [๑๖๑๗] ข้าพเจ้าจะให้นายช่างทำปราสาทมีเสาเดียว เป็นที่รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าจะ เชื้อเชิญท่านมาอยู่ที่ปราสาทนั้น ดูกรเทวดา ชีวิตของท่านจักยั่งยืน. [๑๖๑๘] ถ้าพระองค์ทรงดำริอย่างนี้ ก็จำต้องพลัดพรากจากต้นรังอันเป็นร่างกาย ของหม่อมฉัน พระองค์จงตัดหม่อมฉันทำเป็นท่อนๆ ให้มากเถิด. [๑๖๑๙] พระองค์จงตัดปลายก่อนแล้วจงตัดท่อนกลาง ภายหลังจึงตัดที่โคน เมื่อหม่อมฉันถูกตัดอย่างนี้ ถึงจะตายลงก็ไม่มีทุกข์. [๑๖๒๐] ราชบุรุษตัดมือและเท้า ตัดหูและจมูก ภายหลังจึงตัดศีรษะของโจรผู้เป็น อยู่ ความตายนั้นชื่อว่าตายเป็นทุกข์. [๑๖๒๑] ดูกรต้นรังผู้เป็นเจ้าแห่งป่า เขาตัดเป็นท่อนๆ เป็นสุขหรือหนอ ท่าน มีเหตุอะไร มั่นใจอย่างไร จึงปรารถนาให้ตัดเป็นท่อนๆ ? [๑๖๒๒] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันยึดมั่นเหตุอันใด อันเป็นเหตุประกอบด้วยธรรม ปรารถนาให้ตัดเป็นท่อนๆ ขอพระองค์จงทรงสดับเหตุอันนั้น. [๑๖๒๓] หมู่ญาติของหม่อมฉัน เจริญอยู่ด้วยความสุข เกิดแล้วใกล้ต้นรังข้าง หม่อมฉัน หม่อมฉันพึงเข้าไปเบียดเบียนหมู่ญาติเหล่านั้น เมื่อเป็น เช่นนี้ หม่อมฉันชื่อว่าเข้าไปสั่งสมสิ่งที่มิใช่ความสุขให้แก่คนเหล่าอื่น เหตุนั้นหม่อมฉันจึงปรารถนาให้ตัดเป็นท่อนๆ . [๑๖๒๔] ดูกรต้นรังผู้เป็นเจ้าแห่งป่า ท่านย่อมคิดสิ่งที่ควรคิด ท่านเป็นผู้ปรารถนา ประโยชน์แก่หมู่ญาติ ดูกรสหาย ข้าพเจ้าให้อภัยแก่ท่าน.
จบภัททสาลชาดกที่ ๒.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๖๔๑๗-๖๔๔๗ หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=6417&Z=6447&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=27&A=6417&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=465              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1613              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=6620              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=40&A=1511              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=6620              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=40&A=1511              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja465/en/rouse

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]