ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๖. มหากปิชาดก
ผลบาปของผู้ทำร้ายผู้มีคุณ
[๒๓๗๐] มีพระราชาแห่งชนชาวกาสีผู้ครองรัฐสีมา ในพระนครพาราณสี ทรง แวดล้อมด้วยมิตรและอำมาตย์ ได้เสด็จไปยังมิคาชินอุทยาน. ณ ที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ซึ่งเป็นโรคเรื้อนด่าง เป็นจุดตามตัว มากไปด้วยกลากเกลื้อนเรี่ยราดด้วยเนื้อที่หลุดออกมาจากปากแผล เช่น กับดอกทองกวาวที่บาน ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น. ครั้นทอด- พระเนตรเห็นคนถึงความลำบากน่าสงสารยิ่งนักแล้ว ทรงหวาดพระทัย จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นยักษ์ประเภทไหนในจำพวกยักษ์ทั้งหลาย? อนึ่ง มือและเท้าของท่านขาว ยิ่งกว่านั้นศีรษะก็ขาวโพลน ตัวของท่านก็ด่าง พร้อย มากไปด้วยเกลื้อนกลาก. หลังของท่านก็เป็นปุ่มเป็นปมดุจ เถาวัลย์อันยุ่ง อวัยวะของท่านดุจเถาวัลย์ข้อดำ ดูไม่เหมือนกับคนอื่น. เท้าเปรอะเปื้อนน่าหวาดเสียว ซูบผอม สะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น หิวระหาย ร่างกายซูบซีด ท่านมาจากไหน และจะไปไหน? ดูน่าเกลียดรูปร่างไม่ น่าดู ผิวพรรณทราม ดูน่ากลัว แม้มารดาบังเกิดเกล้าของท่าน ก็ไม่ ปรารถนาจะเหลียวแลเสียเลย. ในชาติก่อนท่านได้ทำกรรมอะไร ได้เบียด เบียนผู้ที่ไม่ควรเบียดเบียนไว้อย่างไร ได้เข้าถึงทุกข์อันนี้เพราะทำกรรม อันหยาบช้าอันใดไว้? [๒๓๗๑] ขอเชิญพระองค์ทรงสดับ ข้าพระองค์จักกราบทูลอย่างคนที่ฉลาดทูล เพราะว่าบัณฑิตทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญคนที่พูดจริง. ข้าพระ องค์ผู้เดียวเที่ยวตามหาโคได้หลงทางเข้าไปในป่าหิมพานต์แสนจะกันดาร เงียบสงัด อันหมู่กุญชรต่างๆ อาศัยอยู่. ข้าพระองค์ได้หลงทางเข้าไป ในป่าทึบ อันหมู่มฤคร้ายกาจท่องเที่ยวไปมา ต้องทนหิวกระหายเที่ยวไป ในป่านั้นตลอด ๗ วัน ณ ป่านั้นข้าพระองค์กำลังหิวจัด ได้เห็นต้น มะพลับต้นหนึ่งตั้งอยู่หมิ่นเหม่ เอนไปทางปากเหวมีผลดกดื่น. จึงเก็บ เอาผลที่ลมพัดหล่นมากินผลเหล่านั้นพอใจข้าพระองค์ยิ่งนัก เมื่อยังไม่ อิ่มจึงปีนขึ้นไปบนต้น ด้วยหวังใจว่ากินให้สบายบนต้นนั้น ข้าพระองค์ กินผลที่หนึ่งแล้ว ก็ปรารถนาจะกินผลที่สองต่อไป ทันใดนั้น กิ่งนั้นก็ หักลงดุจถูกขวานฟันฉะนั้น. ข้าพระองค์ศีรษะปักลง เท้าชี้ฟ้า ตกลง ไปในเหวซึ่งไม่มีที่ยึดที่เกาะเลย พร้อมด้วยกิ่งไม้นั่นเอง. ข้าพระองค์ หยั่งไม่ถึงเพราะน้ำลึก ต้องไปนอนไร้ความเพลิดเพลินอยู่ในเหวนั้น ๑๐ ราตรีเต็มๆ. ภายหลังมีลิงตัวหนึ่งมีหางดังหางโค เที่ยวไปตามซอกเขา เที่ยวไต่ไปตามกิ่งไม้หาผลไม้กิน ได้มาถึงที่นั้น มันเห็นข้าพระองค์ผอม เหลือง ก็เกิดความสงสารในข้าพระองค์ขึ้น. จึงถามว่า พ่อชื่อไร ทำไมจึงมาทนทุกข์อยู่ที่นี่อย่างนี้ เป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ขอได้โปรด แนะนำตนให้ข้าพเจ้าทราบด้วย? ข้าพระองค์จึงได้ประนมอัญชลีไหว้ลิง ตัวนั้นแล้วกล่าวว่า เราเป็นมนุษย์ผู้ถึงซึ่งความหายนะ เราไม่มีหนทาง ที่จะไปจากที่นี้ได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงขอบอกให้ท่านทราบไว้ ขอท่าน จงมีความเจริญ อนึ่ง ขอท่านจงเป็นที่พึ่งพาของเราด้วย. ลิงผู้ตัวองอาจ เที่ยวไปหาก้อนหินก้อนใหญ่ในภูเขามา แล้วผูกเชือกไว้ที่ก้อนหินร้อง บอกว่า. มาเถิดท่านขึ้นมาเกาะหลังข้าพเจ้า เอามือทั้ง ๒ กอดคอไว้ ข้าพเจ้าจักพาท่านกระโดดขึ้นจากเหวทันที. ข้าพระองค์ได้ฟังคำของพญา พานรินทร์ผู้ตัวมีศิรินั้นแล้ว จึงขึ้นเกาะหลังเอามือทั้ง ๒ โอบคอไว้. ลำดับนั้น พญาวานรผู้ตัวมีเดชกำลัง ก็พาข้าพระองค์กระโดดขึ้นจาก เหวโดยความยากลำบากทันที. ครั้นขึ้นมาได้แล้วพญาวานรผู้ตัวองอาจได้ ขอร้องข้าพระองค์ว่า แน่ะสหาย ขอท่านจงช่วยคุ้มครองข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักงีบสักหน่อย. ราชสีห์ เสือโคร่ง หมีและเสือดาว พึงเบียด- เบียนข้าพเจ้าผู้ตัวหลับไป. ท่านเห็นพวกมันแล้วจงป้องกันไว้. เพราะ ข้าพระองค์ช่วยป้องกันให้อย่างนั้น พญาวานรจึงหลับไปสักครู่หนึ่ง ในกาลครั้งนั้น ข้าพระองค์ก็ไม่มีความคิด กลับได้ความเห็นอันเลวทราม ว่า ลิงนี้ก็เป็นอาหารของมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนเนื้อในป่าเหล่า อื่นเช่นกัน ถ้ากระไร เราพึงฆ่าลิงนี้กินแก้หิวเถิด. อนึ่ง อิ่มแล้วจัก จักถือเอาเนื้อไปเป็นเสบียงเดินทาง เราจักต้องผ่านทางกันดาร เนื้อก็ จักได้เป็นเสบียงของเรา. ทันใดนั้น ข้าพระองค์จึงหยิบเอาหินมาทุ่ม ศีรษะลิง การประหารของข้าพระองค์ผู้ลำบากเพราะอดอาหาร มีกำลัง น้อย. ด้วยกำลังก้อนหินที่ข้าพระองค์ทุ่มลง ลิงนั้นผลุดลุกขึ้นทั้งๆ ที่ ตัวอาบไปด้วยเลือด ร้องไห้น้ำตาไหลพรู มองดูข้าพระองค์. พลางก็ กล่าวขึ้นว่า นายอย่าทำข้าพเจ้าเลย ขอท่านจงมีความเจริญ แต่ท่านได้ ทำกรรมอันหยาบช้าเช่นนี้ ก็แลท่านมีอายุยืนมาได้ สมควรจะห้ามปราม คนอื่น. แน่ะท่านผู้ทำกรรมอันยากที่บุคคลจะทำลงได้ น่าอดสูใจจริงๆ ข้าพเจ้าช่วยให้ท่านขึ้นมาจากเหวลึกซึ่งยากที่จะขึ้นมาได้. ท่านดุจว่าเรา นำมาจากปรโลก ยังสำคัญข้าพเจ้าว่า ควรจะฆ่าเสีย ด้วยจิตอันเป็นบาป กรรม ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านคิดชั่ว. เวทนาอันเผ็ดร้อนอย่าได้ต้องท่านผู้ตั้ง อยู่ในอธรรมเลย อนึ่ง บาปกรรมก็อย่าได้ตามฆ่าท่านอย่างขุยไผ่เลย. แน่ะท่านผู้มีธรรมอันเลว หาความสำรวมมิได้ ความคุ้นเคยของข้าพเจ้า จะไม่มีอยู่ในท่านเลย มาเถิด ท่านจงเดินไปห่างๆ เรา พอมองเห็น หลังกันเท่านั้น. ท่านพ้นจากเงื้อมมือแห่งสัตว์ร้าย ถึงทางเดินของมนุษย์ แล้ว แน่ะท่านผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นี่ทาง ท่านจงไปตามสบายโดยทาง นั้นเถิด. วานรครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ล้างเลือดที่ศีรษะเช็ดน้ำตาเสร็จ แล้ว กระโดดขึ้นไปยังภูเขา. ข้าพระองค์เป็นผู้อันวานรนั้นอนุเคราะห์ แล้ว ถูกความกระวนกระวายเบียดเบียน มีตัวอันร้อน ได้ลงไปยัง ห้วงน้ำแห่งหนึ่งเพื่อจะดื่มกินน้ำ. ห้วงน้ำก็เดือดพล่านดุจต้มด้วยไฟ นองไปด้วยเลือด คล้ายกับน้ำเลือด น้ำหนอง ฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่าง ปรากฏแก่ข้าพระองค์นั้น. หยาดน้ำซึ่งตกถูกที่กายของข้าพระองค์มีเท่าใด ฝีก็ผุดขึ้นเท่านั้น มีสัณฐานเหมือนมะตูมครึ่งลูก. น้ำเลือดน้ำหนองก็ ไหลออกจากแผลฝีของข้าพระองค์ซึ่งแตกแล้ว ข้าพระองค์จะเดินไปทาง ไหนในคามนิคมทั้งหลาย. พวกหญิง และชายพากันถือท่อนไม้ห้ามกัน ข้าพระองค์ ผู้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นว่า อย่าเข้ามาข้างนี้นะ บัดนี้ ข้าพระ องค์ได้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ ๗ ปี ซึ่งเป็นผลกรรมชั่วของตน ในปางก่อน. เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายเท่าที่มาประชุมกันอยู่ในที่นี้ ขอพระ องค์อย่าได้ประทุษร้ายต่อมิตร เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลว. ในโลกนี้ ผู้ที่ประทุษร้ายต่อมิตร ย่อมเป็นโรคเรื้อน เกลื้อนกลาก เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรก.
จบ มหากปิชาดกที่ ๖.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๙๖๑๘-๙๗๐๒ หน้าที่ ๔๑๙-๔๒๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=9618&Z=9702&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=27&A=9618&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=516              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2370              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=10388              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=5582              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=10388              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=5582              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja516/en/francis

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]