ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๗. ทกรักขสชาดก
ว่าด้วยผีเสื้อน้ำ
[๒๓๗๒] ถ้าผีเสื้อน้ำผู้ตนแสวงหาเครื่องเซ่น ด้วยมนุษย์พึงจับเรือของพระนาง สลากเทวีพระราชชนนีพระนางนันทาเทวีอัครมเหสี พระติขินนกุมารราช- อนุชา ธนุเสขกุมารผู้สหาย เกวัฏพราหมณ์ปุโรหิต มโหสถบัณฑิต และ พระองค์รวมเป็น ๗ ผู้แล่นเรือไปในทะเล พระองค์จะพระราชทาน ใครอย่างไร ให้ตามลำดับแก่ผีเสื้อน้ำ พระเจ้าข้า. [๒๓๗๓] ข้าพเจ้าจะให้พระราชมารดาก่อน ให้มเหสี ให้กนิษฐาภาดา ต่อแต่นั้น ไปก็จะให้สหาย ให้พราหมณ์ปุโรหิตเป็นลำดับที่ ๕ ให้ตนเองเป็นที่ ๖ มโหสถให้ไม่ได้เลย. [๒๓๗๔] ก็พระราชชนนีของพระองค์ เป็นผู้บำรุงเลี้ยงทรงอนุเคราะห์ตลอดราตรี นาน เมื่อฉัพภิพราหมณ์ประทุษร้ายในพระองค์ พระราชมารดาเป็นผู้ ฉลาด ทรงเห็นประโยชน์ ทำรูปเปรียบอื่น ปลดเปลื้องพระองค์จาก การถูกปลงพระชนม์ พระองค์จะพระราชทานพระชนนีผู้มีพระทัยคงที่ ประทานพระชนม์ชีพให้ ทรงให้เจริญ ณ ระหว่างพระทรวง ทรงพระ ครรภ์นั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร. [๒๓๗๕] พระราชมารดาทรงเป็นเหมือนหญิงสาวทรงเครื่องประดับซึ่งไม่สมควรจะ ประดับ ตรัสสรวลเสเฮฮากะพวกรักษาประตูและพวกฝึกหัดม้า จนเกิน เวลาอันควร อนึ่ง พระราชมารดาของเรา ย่อมส่งทูตทั้งหลายถึงอริราช- ศัตรูเอง ข้าพเจ้าจะให้พระราชมารดาแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอันนั้น. [๒๓๗๖] พระนางอุพพรีเทวีผู้ประเสริฐกว่าหมู่สนมนารี มีพระเสาวนีย์น่ารักยิ่งนัก ทรงประพฤติตาม ทรงมีศีลาจารวัตร ดุจเงามีปกติไปตาม ไม่ทรงพิโรธ ง่ายๆ ทรงมีบุญบารมี เฉลียวฉลาด ทรงเห็นประโยชน์ พระองค์จะ พระราชทานพระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร. [๒๓๗๗] นางอุพพรีนั้นรู้ว่า ข้าพเจ้า ถึงพร้อมด้วยความยินดีในการเล่นอันกระทำ ความพินาศ ก็ขอทรัพย์ที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาของตนและชายาอื่นๆ ข้าพเจ้ามีความกำหนัดมากก็ให้ทรัพย์ทั้งประณีตและทรามเป็นอันมาก ครั้นสละสิ่งที่สละได้ยากแล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ ข้าพเจ้าจะให้ นางอุพพรีแก่ผีเสื้อน้ำโดยโทษนั้น. [๒๓๗๘] พระกนิษฐาภาดา ทรงบำรุงชาวนาชนบททั้งหลาย ให้เจริญรุ่งเรือง เชิญ พระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ ประเทศอื่นมาสู่พระนครนี้ ทรงอนุเคราะห์พระ องค์ ครอบงำพระราชาทั้งหลาย เอาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติ อื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความ คิดหลักแหลมทั้งหลาย พระองค์จะพระราชทานพระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อ- น้ำ ด้วยโทษอะไร. [๒๓๗๙] กนิษฐภาดาของข้าพเจ้าดูหมิ่นข้าพเจ้าว่า ชาวชนบททั้งหลาย เจริญก็ เพราะเขา ข้าพเจ้ากลับมาได้ก็เพราะเขา อนุเคราะห์ข้าพเจ้าครอบงำ พระราชาทั้งหลาย นำเอาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็น เลิศกว่านายขมังธนูทั้งหลาย กล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลักแหลมทั้งหลาย ข้าพเจ้านี้เป็นพระราชาเด็กๆ ได้ความสุขก็เพราะเขา อนึ่ง เมื่อก่อน เขามาบำรุงข้าพเจ้าแต่เช้า แต่บัดนี้เขาไม่มาอย่างก่อน ข้าพเจ้าจะให้ กนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น. [๒๓๘๐] พระองค์ประสูติวันเดียวกันกับธนุเสขกุมาร ทั้งสองพระองค์เป็นชาว ปัญจาลนคร เกิดในกรุงปัญจาละ เป็นสหายมีวัยเสมอกัน ธนุเสข- กุมารเป็นผู้ติดตามพระองค์ โดยเสด็จจาริกไปยังชนบทร่วมสุขร่วมทุกข์ กับพระองค์ ขวนขวายจัดแจงในกิจทุกอย่างของพระองค์ทั้งกลางวัน กลางคืน พระองค์จะพระราชทานพระสหายแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร. [๒๓๘๑] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ธนุเสขกุมารนี้ เป็นผู้หัวร่อต่อกระซิกกับข้าพเจ้า ด้วย ความประพฤติมาแต่ก่อน แม้วันนี้ เขาก็ยังซิกซี้เฮฮาเกินเวลาด้วยกิริยา นั้นอีก ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าจะปรึกษาหารือกันในที่ลับกับนางอุพพรี เทวีบ้าง ข้าพเจ้าไม่ทันเรียกก็เข้ามา มิให้ข้าพเจ้ารู้ตัวก่อน ถึงจะได้รับ อนุญาตให้เข้าเฝ้าได้ไม่กำจัดเวลาและโอกาสก็ตาม ข้าพเจ้าจะให้สหายผู้ ไม่มีความละอายแก่ใจ หาความเอื้อเฟื้อมิได้ แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น. [๒๓๘๒] เกวัฏปุโรหิตเป็นผู้ฉลาดในนิมิตทุกอย่าง รู้เสียงร้องทุกชนิด รู้จบไตรภพ เป็นผู้ฉลาด ในจันทรุปราคาเป็นต้นที่จะเกิดขึ้น รู้ทำนายความฝัน รู้การ ถอยทัพ หรือการรุกเข้าไปต่อสู้ เป็นผู้สามารถรู้โทษหรือคุณในภูมิภาค และอากาศ เป็นผู้รอบรู้ในโคจรแห่งนักษัตร พระองค์จะพระราชทาน เกวัฏพราหมณ์แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร. [๒๓๘๓] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า อาจารย์เกวัฏลืมตาทั้ง ๒ เพ่งดูข้าพเจ้าแม้ในบริษัท เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงจะให้อาจารย์เกวัฏผู้ร้ายกาจดุจมีคิ้วอันเลิกขึ้นแก่ ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น. [๒๓๘๔] พระองค์เป็นผู้อันอำมาตย์แวดล้อม ทรงครอบครองพสุนธรมหิดล มี สมุทรเป็นขอบเขตดุจกุณฑลแห่งสาคร พระองค์มีมหารัฐซึ่งมีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะสงครามเสร็จแล้ว มีพระกำลังมาก เป็นเอกราช ในปฐพี มีพระอิสริยยศ ถึงความไพบูลย์ พระสนมนารีจากชนบทต่างๆ ๑๖,๐๐๐ นาง สวมใส่กุณฑลแก้วมณี งามดังเทพกัญญา ดูกรขัตติยราช นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตอันสมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวง อันสำเร็จด้วย สิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่าง อันยืนนานอย่างนี้ ของชนทั้งหลายผู้ถึงความสุขว่า เป็นที่รัก เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ตามรักษามโหสถบัณฑิตยอมทรงสละ พระชนมชีพซึ่งแสนยากจะพึงสละได้ ด้วยเหตุหรือว่ากรณีอะไร. [๒๓๘๕] ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า จำเดิมแต่มโหสถมาอยู่กับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าไม่เห็น มโหสถผู้มีปัญญาทำชั่ว แม้แต่สักเล็กน้อยเลย ถ้าแม้ความตายจะพึงมี แก่ข้าพเจ้าเสียก่อนในเวลาหนึ่งมโหสถก็จะพึงยังเหล่าโอรส และนัดดา ทั้งหลายของข้าพเจ้าให้เป็นสุขได้ เพราะมโหสถย่อมมองเห็นประโยชน์ ทั้งปวง ทั้งอนาคต ปัจจุบันและอดีต โดยไม่ผิด ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า จึงจะไม่ให้มโหสถผู้มีการงานอันหาความผิดมิได้แก่ผีเสื้อน้ำ. [๒๓๘๖] ท่านทั้งหลายชาวปัญจาลนคร จงฟังราชภาษิตของพระเจ้าจุฬนีพรหมทัตนี้ พระองค์ทรงตามรักษามโหสถบัณฑิตถึงกับสู้สละพระชนมชีพ ซึ่งแสน ยากที่จะสละได้ คือ พระเจ้าปัญจาลราชทรงสละชีวิตแห่งชนทั้ง ๖ คือ พระราชชนนี พระอัครมเหสี พระกนิษฐภาดา พระสหาย และ พราหมณ์ กับทั้งพระองค์เองแก่ผีเสื้อน้ำ ปัญญามีประโยชน์ใหญ่หลวง ละเอียดลออมีปกติคิดยังประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อ กูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ทกรักขสชาดกที่ ๗.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๙๗๐๓-๙๗๘๖ หน้าที่ ๔๒๓-๔๒๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=9703&Z=9786&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=27&A=9703&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=27&siri=517              ศึกษาอรรถกถาชาดกได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2372              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=27&A=10489              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=41&A=5811              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=27&A=10489              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=41&A=5811              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ja517/en/francis

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]