ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๘๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถาน ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบน ยอดภูเขา เหล่าภิกษุณีฉัพพัคคีย์ได้พากันไปดูมหรสพบนยอดภูเขา พวกชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การ ประโคมดนตรีบ้าง เหมือนสตรีคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ... ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้น พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากันไปดูการ ฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรีบ้างเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ พากันไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรีบ้าง จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้พากัน ไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การประโคมดนตรีบ้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๖๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปดูการฟ้อนรำก็ดี การขับร้องก็ดี การประโคม ดนตรีก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า การฟ้อนรำ ได้แก่ การฟ้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง. ที่ชื่อว่า การขับร้อง ได้แก่ เพลงขับอย่างใดอย่างหนึ่ง. ที่ชื่อว่า การประโคมดนตรี ได้แก่ เครื่องดีดสีตีเป่าอย่างใดอย่างหนึ่ง. ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ. ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็นหรือได้ยิน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. พ้นสายตาไปแล้ว กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดูเครื่องมหรสพเฉพาะอย่างๆ ต้องอาบัติทุกกฏ. ยืนอยู่ ณ ที่ใด ยังแลเห็นหรือได้ยิน ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์. พ้นสายตาไปแล้ว กลับแลดูหรือฟังอีก ก็ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๘๔] ยืนอยู่ในอารามแลเห็นหรือได้ยิน ๑ เขาฟ้อนรำขับร้อง หรือประโคมผ่านมายัง สถานที่ภิกษุณียืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ ๑ เดินสวนทางไป แลเห็นหรือได้ยิน ๑ เมื่อมีกิจ จำเป็นเดินผ่านไปแลเห็นหรือได้ยิน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๖๔๙-๒๖๙๐ หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=2649&Z=2690&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=3&A=2649&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=38              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=182              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=2178              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11364              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=2178              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11364              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc10/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc10/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]