ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- *คหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีทะเลาะกับภิกษุณีทั้งหลาย โกรธ ขัดใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระธรรม ข้าพเจ้าขอบอกคืน พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติ พรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าจัณฑกาลี จึงได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณี ที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความ รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้าจักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้เล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีจัณฑกาลี โกรธ ขัดใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณี ที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความ รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลีจึงได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... ข้าพเจ้าขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่า สมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่าศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้เล่า การกระทำ ของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลาย จงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๘. ๗. ๑- อนึ่ง ภิกษุณีใด โกรธ ขัดใจ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืน พระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนั้น ภิกษุณี นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าอย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า ขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มี ความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนั้น ภิกษุณีทั้งหลายจึงกล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จง ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด และภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลาย ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาส กว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่ สละ กรรมนั้นเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากเธอไม่สละ ภิกษุณีแม้นี้ก็ต้องธรรมคือ สังฆาทิเสส ชื่อนิสสารณียะ มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๖๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ ประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า โกรธ ขัดใจ คือไม่พอใจ แค้นใจ เจ็บใจ. บทว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... บอกคืนสิกขา ภิกษุณี ที่มีชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีเหล่าศากธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความ รังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้. @ สิกขาบทที่ ๑๕, ๑๖, ๑๗ เป็นสาธารณบัญญัติ ฉะนั้นสิกขาบทที่ ๗ นี้ จึงเป็นที่ ๑๘ [๖๓] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ที่พูดอย่างนั้น. บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ภิกษุณีเหล่าอื่น คือ จำพวกที่ได้เห็น ได้ยิน เหล่านั้น พึงกล่าวว่า แม่เจ้าอย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... ขอบอกคืน สิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้นดังนี้ พึงกล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำ ที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากนางสละเสีย สละ ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีทั้งหลายทราบข่าวแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวว่า แม่เจ้า อย่าได้โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ... ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณี ที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรัง เกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ก็ยังมี ข้าพเจ้าจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักภิกษุณีเหล่านี้ ดังนี้ พึง กล่าวว่า แม่เจ้าจงยินดียิ่ง พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่ สุดทุกข์โดยชอบเถิด พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม ถ้าภิกษุณีนั้นสละเสีย สละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.
วิธีสวดสมนุภาส
[๖๔] ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสนั้น พึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่า ดังนี้:-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืน สิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณีจะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความ ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก สมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวด สมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ. แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวด สมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้านั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ... ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้นชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. [๖๕] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ. จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย. จบกรรม วาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติ ถุลลัจจัยเพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ. [๖๖] บทว่า แม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน. บทว่า มีอันให้ต้องอาบัติในเมื่อสวดสมนุภาสครบสามจบ คือ ต้องอาบัติเพราะสวด สมนุภาสจบครั้งที่สาม ไม่ใช่ต้องพร้อมกับการล่วงวัตถุ. ที่ชื่อว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ถูกขับออกจากหมู่. บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ... แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
ติกะสังฆาทิเสส
[๖๗] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
ติกะทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๖๘] ภิกษุณีผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ ภิกษุณีผู้เสียสละได้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๗ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๘๙๕-๑๐๐๕ หน้าที่ ๓๗-๔๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=895&Z=1005&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=3&A=895&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=11              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=61              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=849              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11086              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=849              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11086              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.061 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss10/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-ss10/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]