ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๒๗] ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณอย่างไร ฯ
             คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม
อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม
โลกุตตรธรรม ฯ
             [๒๒๘] คำว่า ในการตัดขาดโดยชอบ ความว่า พระโยคาวจรย่อม
ตัดกามฉันทะขาดโดยชอบ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมตัดพยาบาทขาดโดยชอบ ด้วยความ
ไม่พยาบาท ย่อมตัดถีนมิทธะขาดโดยชอบ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมตัดอุทธัจจะขาด
โดยชอบ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมตัดวิจิกิจฉาขาดโดยชอบ ด้วยการกำหนดธรรม
ย่อมตัดอวิชชาขาดโดยชอบ ด้วยญาณ ย่อมตัดอรติขาดโดยชอบ ด้วยความปราโมทย์
ย่อมตัดนิวรณ์ขาดโดยชอบ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมตัดกิเลสทั้งปวงขาดโดยชอบ
ด้วยอรหัตมรรค ฯ
             [๒๒๙] คำว่า ในนิโรธ ความว่า พระโยคาวจรย่อมทำกามฉันทะ
ให้ดับ ด้วยเนกขัมมะ ย่อมทำพยาบาทให้ดับ ด้วยความไม่พยาบาท ย่อมทำถีนมิทธะ
ให้ดับ ด้วยอาโลกสัญญา ย่อมทำอุทธัจจะให้ดับ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมทำ
วิจิกิจฉาให้ดับ ด้วยการกำหนดธรรม ย่อมทำอวิชชาให้ดับด้วยญาณ ย่อมทำอรติให้
ดับ ด้วยความปราโมทย์ ย่อมทำนิวรณ์ให้ดับ ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมทำกิเลส
ทั้งปวงให้ดับ ด้วยอรหัตมรรค ฯ
             [๒๓๐] คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า บุคคลผู้ได้เนกขัมมะ
กามฉันทะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่พยาบาท ความพยาบาทย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้
อาโลกสัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ความไม่ฟุ้งซ่าน อุทธัจจะย่อม
ไม่ปรากฏ ผู้ได้การกำหนดธรรม วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ญาณ อวิชชาย่อม
ไม่ปรากฏ ผู้ได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ ผู้ได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อม
ไม่ปรากฏ ฯลฯ ผู้ได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ ฯ
             [๒๓๑] คำว่า สงบ ความว่า เนกขัมมะเป็นธรรมสงบ เพราะท่าน
ละกามฉันทะเสียแล้ว ความไม่พยาบาทเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละความพยาบาท
เสียแล้ว อาโลกสัญญาเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละถีนมิทธะเสียแล้ว ความไม่
ฟุ้งซ่านเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอุทธัจจะเสียแล้ว การกำหนดธรรมเป็น
ธรรมสงบ เพราะท่านละวิจิกิจฉาเสียแล้ว ญาณเป็นธรรมสงบ เพราะท่าน
ละอวิชชาเสียแล้ว ความปราโมทย์เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอรติเสียแล้ว
ความปราโมทย์เป็นธรรมสงบ เพราะท่านละอรติเสียแล้ว ปฐมฌานเป็นธรรมสงบ
เพราะท่านละนิวรณ์เสียแล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นธรรมสงบ เพราะท่านละกิเลส
ทั้งปวงเสียแล้ว ฯ
             [๒๓๒] คำว่า เป็นประธาน ความว่า ธรรมเป็นประธาน ๑๓ ประการ
คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน ๑ มานะมีความผูกพันเป็นประธาน ๑ ทิฐิ
มีความยึดมั่นเป็นประธาน ๑ อุทธัจจะมีความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลส
เป็นประธาน ๑ ศรัทธามีความน้อมใจเชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้
เป็นประธาน ๑ สติมีการเข้าไปตั้งไว้เป็นประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นประธาน ๑ ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไป
เป็นประธาน ๑ วิโมกข์มีอารมณ์เป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ๑ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการ
ตัดขาดโดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๕๒๑-๒๕๖๓ หน้าที่ ๑๐๓-๑๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2521&Z=2563&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=2521&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=40              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=227              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=2956              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7544              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=2956              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7544              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]