ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๔๒] ปัญญาในความสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกัน และ
การแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมหมวดเดียวกันเป็นทัสสนวิสุทธิญาณอย่างไร ฯ
             คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ขันธ์  ๕ ฯลฯ โลกุตตรธรรม ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๘.

คำว่า ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน ความว่า ธรรมทั้งปวงท่าน สงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกันโดยอาการ ๑๒ คือ โดยสภาพถ่องแท้ ๑ โดยสภาพ มิใช่ตัวตน ๑ โดยสภาพจริง ๑ โดยสภาพควรแทงตลอด ๑ โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง ๑ โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ ๑ โดยสภาพที่เป็นธรรม ๑ โดยสภาพที่เป็นธาตุ ๑ โดย สภาพที่อาจรู้ ๑ โดยสภาพควรทำให้แจ้ง ๑ โดยสภาพที่ควรถูกต้อง ๑ โดยสภาพที่ ควรตรัสรู้ ๑ ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ ๑๒ นี้ ฯ คำว่า ความต่างและความเป็นอันเดียวกัน ความว่า กามฉันทะเป็นความ ต่าง เนกขัมมะเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรค เป็นอันเดียวกัน ฯ คำว่า ในการแทงตลอด ความว่า พระโยคาวจรย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ แทงตลอดสมุทัยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย การละ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง แทงตลอด มรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ฯ คำว่า ทสฺสนวิสุทธิ ความว่า ในขณะโสดาปัตติมรรค ทัสนะย่อม หมดจด ในขณะโสดาปัตติผล หมดจดแล้ว ในขณะสกทาคามิมรรค ย่อมหมด จด ในขณะสกทาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอนาคามิมรรค ย่อมหมดจด ในขณะอนาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอรหัตมรรค ย่อมหมดจด ในขณะ อรหัตตผล หมดจดแล้ว ฯ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวง เป็นหมวดเดียว กัน และการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมหมวดเดียวกัน เป็นทัสสนวิสุทธิ- *ญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๖๓๔-๒๖๕๘ หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2634&Z=2658&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=2634&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=44              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=242              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=3077              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=7669              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=3077              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=7669              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]