ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๖๗] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรม
ที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร
             ธรรมอย่างหนึ่งควรเจริญ คือ กายคตาสติอันสหรคตด้วยความสำราญ
ธรรม ๒ ควรเจริญ คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ธรรม ๓ ควรเจริญ คือ สมาธิ ๓
ธรรม ๔ ควรเจริญ คือ สติปัฏฐาน ๔ ธรรม ๕ ควรเจริญ คือ สัมมาสมาธิ
มีองค์ ๕ ธรรม ๖ ควรเจริญ คือ อนุสสติ ๖ ธรรม ๗ ควรเจริญ คือ โพชฌงค์ ๗

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๔.

ธรรม ๘ ควรเจริญ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ธรรม ๙ ควรเจริญ คือ องค์อันเป็น ประธานแห่งความบริสุทธิ์ [ปาริสุทธิ] ๙ ธรรม ๑๐ ควรเจริญ คือ กสิณ ๑๐ ฯ [๖๘] ภาวนา ๒ คือโลกิยภาวนา ๑ โลกุตรภาวนา ๑ ภาวนา ๓ คือ การเจริญธรรมอันเป็นรูปาวจรกุศล ๑ การเจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล ๑ การ เจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก [โลกุตรกุศล] ๑ การเจริญธรรมอันเป็น รูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็นส่วนประณีตก็มี การ เจริญธรรมอันเป็นอรูปาวจรกุศล เป็นส่วนเลวก็มี เป็นส่วนปานกลางก็มี เป็น ส่วนประณีตก็มี การเจริญกุศลธรรมอันไม่นับเนื่องในโลก เป็นส่วนประณีตอย่าง เดียว ภาวนา ๔ คือ เมื่อแทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ชื่อว่าเจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดสมุทัยสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ ชื่อว่า เจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดนิโรธสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า เจริญอยู่ ๑ เมื่อแทงตลอดมรรคสัจอันเป็นการแทงตลอดด้วยภาวนา ชื่อว่าเจริญ อยู่ ๑ ภาวนา ๔ นี้ ฯ [๖๙] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ เอสนาภาวนา ๑ ปฏิลาภภาวนา ๑ เอกรสาภาวนา ๑ อาเสวนาภาวนา ๑ ฯ เอสนาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิอยู่ ธรรม ทั้งหลายที่เกิดในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั้น มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เพราะ ฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าเอสนาภาวนา ฯ ปฏิลาภภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรทั้งปวงเข้าสมาธิแล้ว ธรรม ทั้งหลายที่เกิดในสมาธินั้น ไม่เป็นไปล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ภาวนานี้ จึงชื่อว่าปฏิลาภภาวนา ฯ [๗๐] เอกรสาภาวนาเป็นไฉน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธินทรีย์ ด้วยอรรถว่าน้อมใจเชื่อ อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถ แห่งสัทธินทรีย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕.

อย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยินทรีย์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อ เจริญสตินทรีย์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสมาธินทรีย์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ... เมื่อเจริญปัญญินทรีย์ด้วยอรรถว่าเห็น อินทรีย์อีก ๔ อย่าง มีกิจอย่างเดียว กันด้วยสามารถปัญญินทรีย์ เพราะฉะนั้นชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัทธาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว เพราะ อสัทธิยะ พละอีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัทธาพละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา เพราะอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญวิริยพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะโกสัชชะ ... เมื่อ พระโยคาวจรเจริญสติพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะปมาทะ ... เมื่อ พระโยคาวจรเจริญสมาธิพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... เมื่อ พระโยคาวจรเจริญปัญญาพละ ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา พละ อีก ๔ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถปัญญาพละ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าพละทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสติสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น โพชฌงค์ อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสติสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจร เจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าเลือกเฟ้น ... เมื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่า ซาบซ่านไป ... เมื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ ... เมื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ... เมื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง โพชฌงค์อีก ๖ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าโพชฌงค์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ฯ เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็นชอบ องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖.

องค์มรรคทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน เมื่อพระโยคาวจรเจริญสัมมาสังกัปปะด้วย อรรถว่าตรึก ... เมื่อเจริญสัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดเอา ... เมื่อเจริญสัมมา- *กัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... เมื่อเจริญสัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว ... เมื่อเจริญสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ... เมื่อเจริญสัมมาสติด้วยอรรถว่า ตั้งมั่น ... เมื่อเจริญสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน องค์มรรคอีก ๗ อย่าง มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถสัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนาด้วย อรรถว่าองค์มรรถทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ภาวนานี้ ชื่อว่าเอกรสาภาวนา ฯ [๗๑] อาเสวนาภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพ เป็นอันมากซึ่งสมาธิที่ถึงความสำราญ ตลอดเวลาเช้าก็ดี ตลอดเวลาเที่ยงก็ดี ตลอดเวลาเย็นก็ดี ตลอดเวลาก่อนภัตก็ดี ตลอดเวลาหลังภัตก็ดี ตลอดยามต้นก็ดี ตลอดยามหลังก็ดี ตลอดคืนก็ดี ตลอดวันก็ดี ตลอดคืนและวันก็ดี ตลอดกาฬปักษ์ ก็ดี ตลอดชุณหปักษ์ก็ดี ตลอดฤดูฝนก็ดี ตลอดฤดูหนาวก็ดี ตลอดฤดูร้อนก็ดี ตลอดส่วนวัยต้นก็ดี ตลอดส่วนวัยกลางก็ดี ตลอดส่วนวัยหลังก็ดี ภาวนานี้ ชื่อว่าอาเสวนาภาวนา ภาวนา ๔ ประการนี้ ฯ [๗๒] ภาวนา ๔ อีกประการหนึ่ง คือ ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกัน แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอย่างเดียวกัน ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม นั้นๆ ๑ ภาวนาด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ๑ ฯ [๗๓] ภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกันแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิด ในภาวนานั้น อย่างไร ฯ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถเนกขัมมะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าไม่ล่วงกันและกัน แห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น เมื่อพระโยคาวจรละพยาบาท ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถความไม่พยาบาท ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละถีนมิทธะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗.

ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาโลกสัญญา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละ อุทธัจจะ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละวิจิกิจฉา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถการกำหนดธรรม ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอวิชชา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถแห่งญาณ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอรติ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ความ ปราโมทย์ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละนิวรณ์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เกิด ด้วยสามารถปฐมฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละวิตกและวิจาร ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละปีติ ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถตติยฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสุขและทุกข์ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถจตุตถฌาน ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละรูป สัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากาสานัญ- *จายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอากาสานัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละวิญญาณัญจายตนสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอากิญจัญญายตน สมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอากิญจัญญายตนสัญญา ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละนิจจสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอนิจจานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละสุขสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถทุกขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอัตตสัญญา ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ อนัตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละความเพลิดเพลิน ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถนิพพิทานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละราคะ ธรรม ทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิราคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละ ฆนสัญญา ธรรมทั้งหลายเกิดด้วยสามารถขยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสมุทัย ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถนิโรธานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘.

และกัน ... เมื่อละความถือมั่น ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถปฏินิสสัคคานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอายูหนะ (การทำความเพียรเพื่อประโยชน์ แก่สังขาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวยานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละธุวสัญญา (ความสำคัญว่ายั่งยืน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถวิปริณา มานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละนิมิต ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย สามารถอนิมิตตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละปณิธิ ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถอัปปณิหิตานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอภินิเวส (ความยึดมั่นว่ามีตัวตน) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถสุญญตานุปัสนา ย่อม ไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสาราทานาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยการถือว่าเป็น แก่นสาร) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง ซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสัมโมหาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยความหลงใหล) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถยถาภูตญาณ- *ทัสนะ ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละอาลยาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วย ความอาลัย) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถอาทีนวานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละอัปปฏิสังขา (ความไม่พิจารณา) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วย สามารถปฏิสังขานุปัสนา ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละสัญโญคาภินิเวส (ความยึดมั่นด้วยกิเลสเครื่องประกอบสัตว์) ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ ด้วยวิวัฏฏานุปัสนา (ความตามเห็นกามเป็นเครื่องควรหลีกไป) ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฐิ ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยสามารถ โสดาปัตติมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละกิเลสอย่างหยาบ ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดด้วยสามารถสกทาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน ... เมื่อละกิเลสอย่าง ละเอียด ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอนาคามิมรรค ย่อมไม่ล่วงกัน และกัน ... เมื่อละกิเลสทั้งปวง ธรรมทั้งหลายที่เกิดด้วยความสามารถอรหัตมรรค ย่อมไม่ล่วงกันและกัน เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙.

ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงกันและกัน อย่างนี้ ฯ [๗๔] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน อย่างไร เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วย สามารถเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อละพยาบาท อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกันด้วยสามารถ ความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมด อินทรีย์ ๕ มีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ ทั้งหลายมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอย่างเดียวกัน อย่างนี้ ฯ [๗๕] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม นั้นๆ อย่างไร ฯ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถ เนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควร แก่ธรรมนั้นๆ เมื่อละพยาบาท ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถความ ไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำไปซึ่งความเพียรด้วยสามารถ อรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควร แก่ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม นั้นๆ อย่างนี้ ฯ [๗๖] ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก อย่างไร ฯ เมื่อพระโยคาวจรละกามฉันทะ ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งเนกขัมมะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก เมื่อละพยาบาท ย่อมเสพเป็นอันมากซึ่งความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมเสพ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐.

เป็นอันมากซึ่งอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมาก ชื่อว่าภาวนา ด้วยอรรถว่าเสพเป็นอันมากอย่างนี้ ภาวนา ๔ ประการนี้ ฯ พระโยคาวจรพิจารณาเห็นรูป ชื่อว่าเจริญภาวนา พิจารณาเห็นเวทนา ... พิจารณาเห็นสัญญา ... พิจารณาเห็นสังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณ ... พิจารณา เห็นจักษุ ฯลฯ พิจารณาเห็นชราและมรณะ ... พิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงใน อมตะด้วยอรรถว่าเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญภาวนา ธรรมใดๆ เป็นธรรมอันเจริญแล้ว ธรรมนั้นๆ ย่อมมีกิจเป็นอย่างเดียวกัน ชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้นๆ ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำ ธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วว่า ธรรมเหล่านี้ ควรเจริญ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
จบจตุตถภาณวาร

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๕๕๙-๗๒๐ หน้าที่ ๒๓-๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=559&Z=720&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=559&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=8              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=67              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=31&A=773              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=3019              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=31&A=773              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=3019              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]