ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
ตีณิปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๘๐)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุม ๓ ดอก
[๘๒] ในกาลนั้น พระชินเจ้าพระนามปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงฝึก พระองค์เองแล้ว ทรงแวดล้อมด้วยพระสาวกผู้ฝึกตนแล้ว เสด็จออกจาก นคร เวลานั้น เราเป็นช่างดอกไม้ อยู่ในพระนครหงสวดี เราถือดอก ปทุม ๓ ดอก อย่างดีเลิศ (จะไป) ในพระนครนั้น ได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากธุลี เสด็จดำเนินอยู่ในละแวกตลาด พร้อมกับได้เห็นพระ- สัมพุทธเจ้า เราได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่เราด้วย ดอกไม้เหล่านี้ ที่เราบำรุงพระราชา เราจะพึงได้บ้านหรือคามเขตหรือ ทรัพย์พันหนึ่ง (เท่านั้น) เราบูชาพระพุทธเจ้าผู้ฝึกคนที่มิได้ฝึกตน ผู้แกล้ว กล้า ทรงนำสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งปวง เป็นนาถะของโลกแล้ว จักได้ ทรัพย์อันไม่ตาย ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส แล้วจับดอกปทุม ๓ ดอกโยนขึ้นไปบนอากาศ ในกาลนั้น พอเราโยนขึ้น ไป ดอกปทุมเหล่านั้นก็แผ่ (บาน) อยู่ในอากาศ มีขั้วขึ้นข้างบน ดอกลงข้างล่าง ทรงอยู่เหนือพระเศียรในอากาศ มนุษย์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เห็นแล้ว พากันโห่ร้องเกรียวกราว ทวยเทพเจ้าในอากาศพากันซ้องสาธุ การว่า ความอัศจรรย์เกิดขึ้นแล้วในโลก เราทั้งหลายจักนำดอกไม้มาบูชา พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เราทั้งหมดจักฟังธรรม จักนำดอกไม้มาบูชา พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงสมควรรับเครื่อง บูชา ประทับยืนอยู่ที่ถนนนั่นเอง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า มาณพใด ได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัวแดง เราจักพยากรณ์มาณพนั้น ท่าน ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว มาณพนั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่น กัลป และจักได้เป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๓๐ ครั้ง จักมี วิมานชื่อมหาวิตถาริกะในเทวโลกนั้นสูง ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๑๕๐ โยชน์ พวงดอกไม้ ๑๔๐,๐๐๐ พวงที่เทวดานิรมิตอย่างสวยงามห้อยอยู่ที่ปราสาท อันประเสริฐ และประดับที่นอนใหญ่ นางอัปสรแสนโกฏิ มีรูปอุดม ฉลาดในการฟ้อน การขับรำและการประโคม จักแวดล้อมอยู่โดยรอบ ในกาลนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์มีสีแดง จักตกลงในวิมานประเสริฐ อัน เกลื่อนกล่นด้วยหมู่เทพนารีเช่นนี้ แก้วปทุมราคะโตประมาณเท่าจักร จัก ห้อยอยู่ที่ตะปูฝาที่ไม้ฟันนาค ที่บานประตู และที่เสาระเนียด ที่วิมานนั้น นางเทพอัปสรทั้งหลายจักลาด จักห่มด้วยใบบัว นอนอยู่ภายในวิมานอัน ประเสริฐซึ่งดาดาษด้วยใบบัว ดอกบัวแดงล้วนเหล่านั้น แวดล้อมภพ ส่งกลิ่นหอมตลบไปประมาณร้อยโยชน์โดยรอบ มาณพนี้จักได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับ มิได้ ได้เสวยสมบัติทั้ง ๒ แล้ว หากังวลมิได้ ไม่มีอันตราย เมื่อกาล เป็นที่สุดมาถึงแล้ว จักได้บรรลุนิพพาน พระพุทธเจ้าเราได้เห็นดีแล้ว หนอ การค้าเราประกอบแล้ว เราบูชา (พระพุทธเจ้าด้วย) ดอกบัว ๓ ดอกแล้ว ได้เสวยสมบัติ ๓ ดอกบัวแดงอันบานงาม จักทรงไว้บน กระหม่อมของเราผู้บรรลุธรรม พ้นวิเศษแล้วโดยประการทั้งปวงในวันนี้ เมื่อพระปทุมุตรบรมศาสดาตรัสกรรมของเราอยู่ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ หลายแสน ในกัลปที่หนึ่งแสนแต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง (การบูชาด้วย) ดอกบัว ๓ ดอก เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นแล้ว อาสวะทั้งหมดสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระตีณิปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ตีณิปทุมิยเถราปทาน.
-----------------------------------------------------
รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. นาคสมาลเถราปทาน ๒. ปทสัญญกเถราปทาน ๓. สุสัญญกเถราปทาน ๔. ภิสาลุวทายกเถราปทาน ๕. เอกสัญญกเถราปทาน ๖. ติณสันถารทายกเถราปทาน ๗. สูจิทายกเถราปทาน ๘. ปาฏลิปุปผิยเถราปทาน ๙. ฐิตัญชลิยเถราปทาน ๑๐. ตีณิปทุมิยเถราปทาน
มีคาถา ๗๕ คาถา
จบ นาคสมาลวรรคที่ ๘.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๒๙๓๑-๒๙๘๘ หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=2931&Z=2988&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=32&A=2931&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=82              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=82              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=32&A=3656              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=2744              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=32&A=3656              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=2744              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap82/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]