ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
โธตกเถราปทานที่ ๔ (๔๐๔)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายสะพาน
[๔๐๖] ในกาลนั้น แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรสี ไหลมาจากภูเขาหิมวันต์ ไหลผ่านไป ทางประตูพระนครหงสวดี อารามชื่อโสภิตะ มหาชนสร้างไว้อย่างสวยงาม ใกล้ฝั่งแม่น้ำ พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้นำของโลก ประทับ อยู่ในอารามนั้น พระผู้มีพระภาคอันหมู่มนุษย์แวดล้อมแล้ว ประทับนั่ง ในอารามนั้น ดังพระอินทร์จากดาวดึงส์ ไม่ครั่นคร้ามดุจไกรสีหราช ข้าแต่พระมหามุนี ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์มีนามชื่อว่าฉฬังคะ อยู่ในนคร หงสวดีมีชื่ออย่างนั้น ในกาลนั้น ศิษย์ ๑๘๐๐ คนแวดล้อมข้าพระองค์ ข้าพระองค์พร้อมด้วยศิษย์เหล่านั้นเข้าไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ ได้เห็นพระหลายรูปผู้ไม่คดโกง ผู้ชำระบาปแล้ว กำลังข้ามแม่น้ำภาคีรสีอยู่ ขณะนั้นข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า บุตรแห่งพระพุทธเจ้าผู้มียศมากเหล่านี้ ข้ามแม่น้ำทั้งเย็นและเช้า ย่อมทำตนให้ลำบาก ย่อมทำตนให้เดือดร้อน บัณฑิตย่อมกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศของโลก พร้อมทั้ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐๙.

เทวโลก เครื่องสักการะสำหรับชำระทางคือคติในทักขิณาของเราไม่มี ถ้า เช่นนั้น เราพึงทำสะพานข้ามแม่น้ำถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เถิด ครั้นเราให้ทำสะพานนี้แล้ว จะข้ามภพนี้ได้ ข้าพระองค์ได้ให้ทรัพย์ ๑๐๐ (บ้าง) ๑๐๐๐ (บ้าง) แล้วให้ทำสะพาน ด้วยข้าพระองค์เชื่อว่า กุศลที่เราทำแล้วนี้จักไพบูลย์ ข้าพระองค์ให้ทำสะพานนั้นเสร็จแล้ว ได้ เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้นำของโลก ประนมอัญชลีเหนือเศียร แล้วได้ กราบทูลดังนี้ว่า ข้าพระองค์ให้ทรัพย์ ๑๐๐ (บ้าง) ๑๐๐๐ (บ้าง) แล้วให้ ทำสะพานนี้ ข้าแต่พระมหามุนี ขอได้โปรดทรงรับสะพานใหญ่ เพื่อ ประโยชน์แก่พระองค์เถิด พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้ให้ทำสะพานด้วยมือของ ตนให้แก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นี้แม้ตก ลงในเหวก็ดี จากภูเขาก็ดี จากต้นไม้ก็ดี แม้จุติแล้วจักได้ที่ตั้งมั่น นี้ เป็นผลแห่งการให้สะพาน ศัตรูทั้งหลายย่อมข่มขี่ไม่ได้ เปรียบเหมือนลม ข่มขี่ต้นไทรอันมีรากและย่านงอกงามไม่ได้ ฉะนั้น นี้เป็นผลแห่งการ ถวายสะพาน พวกโจรย่อมข่มเหงไม่ได้ กษัตริย์ทั้งหลายย่อมไม่ดูหมิ่น ผู้นี้จักข้ามพ้นศัตรูทั้งปวง นี้เป็นผลแห่งการถวายสะพาน ผู้นี้ประกอบ ด้วยบุญกรรม ถึงจะอยู่ในโอกาสแจ้ง ถูกแดดกล้าจัดแผดเผา ก็จักไม่มี เวทนา ในเทวโลกก็ดี ในมนุษยโลกก็ตาม ยานช้างอันตกแต่งดีแล้ว ดังจะรู้ความดำริของผู้นั้น จักบังเกิดในทันที ม้าสินธพ ๑๐๐๐ ม้าอันเป็น พาหนะมีกำลังวิ่งเร็วดังลม จักคอยรับใช้ทั้งเวลาเย็นและเช้า นี้เป็นผล แห่งการถวายสะพาน ผู้นี้มาเกิดเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้มีความสุข แม้ ในการเกิดเป็นมนุษย์นี้ ก็จักมียานช้าง ในแสนกัลปแต่กัลปนี้ พระศาสดา มีพระนามชื่อว่าโคดม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จ อุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นทายาท ในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑๐.

โอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ นิพพาน โอ เราได้ทำกุศลกรรมแล้วในพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ผู้อุดม เราเป็นผู้บรรลุความสิ้นอาสวะ เพราะได้ทำกุศลกรรมในพระพุทธ- เจ้าพระองค์นั้น เราเป็นผู้ทำความเพียร มีตนส่งไปแล้ว สงบระงับ ไม่ มีอุปธิ ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ เรา เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดัง ช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้า ของเรานี้ เป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระโธตกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ โธตกเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๙๐๐๘-๙๐๕๙ หน้าที่ ๔๐๘-๔๑๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=32&A=9008&Z=9059&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=32&A=9008&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=406              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=406              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=32&A=10681              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=50&A=5421              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=32&A=10681              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=50&A=5421              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_32              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/tha-ap406/en/walters

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]