ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

หน้าที่ ๓๑๔.

มังคลพุทธวงศ์ที่ ๓
ว่าด้วยพระประวัติพระมงคลพุทธเจ้า
[๔] สมัยต่อมาจากพระโกณฑัญญะ มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามงคล ทรง กำจัดความมืดในโลกแล้ว ทรงชูคบเพลิงคือ พระธรรมสว่างไสว พระองค์มีพระรัศมีไม่มีอะไรเปรียบปาน ยิ่งกว่าพระพิชิตมารอื่นๆ ทรงกำจัดรัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ ส่องแสงไพโรจน์ในหมื่น จักวาล แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ทรงประกาศจตุสัจธรรมอัน ประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์ได้ดื่มรสสัจธรรมแล้ว ย่อมบรรเทา ความมืดตื้อได้ ในคราวที่พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันไม่มี อะไรเปรียบแล้ว ทรงแสดงธรรมครั้งแรก ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมที่พิภพของท้าว สักกะจอมอสูร ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ทวยเทพ แสนโกฏิ ในกาลเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า สุนันทะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าทรงตีกลองธรรมเภรีอันประเสริฐสุด และครั้งนั้น บริวารของพระเจ้าสุนันทะ มีประมาณเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๒ พระสาวกมาประชุมกันแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ พระสาวก มาประชุมกันเก้าสิบโกฏิ การประชุมครั้งนั้น ล้วนแต่พระขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามว่าสุรุจิ เป็น ผู้เล่าเรียน ทรงมนต์ รู้จบไตรเพท เราได้เข้าเฝ้าพระศาสดาพระองค์ นั้น ได้ถึงพระองค์เป็นสรณะและได้บูชาพระสงฆ์ อันมีพระสัม- พุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของหอมและดอกไม้ อังคาสด้วยน้ำนมโค จนสำราญพระทัย แม้พระพุทธมงคลผู้อุดมกว่าสัตว์พระองค์นั้น ก็ พยากรณ์เราว่า ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ........... ..................... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๕.

ฟังพระพุทธพยากรณ์แม้นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เรา อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ยิ่งขึ้น ครั้งนั้น เราพอก พูนปีติ เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ จึงถวายเรือนของเรา แก่พระพุทธเจ้า แล้วออกบวชในสำนักของพระองค์ เราเล่าเรียน พระสูตรและพระวินัย อันเป็นสัตถุศาสน์มีองค์ ๙ ประการแล้ว ทำพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม ครั้งนั้น เราเป็นผู้ไม่ประมาท เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงที่สุดในอภิญญาแล้วได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อว่าอุตระพระมหากษัตริย์พระนามว่าอุตระ เป็นพระชนก ของพระมงคลบรมศาสดาพระชนนีพระนามว่า อุตรา พระองค์ทรง ครอบครองอาคารสถานอยู่เก้าหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่ายสวา สุจิมาและสิริมา มีพระสนมนารีกำนัล ในสามหมื่นนาง ล้วนแต่ประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระ- นามว่ายสวดี พระราชโอรสพระนามว่าสีวละ พระชินเจ้าทรงเห็น นิมิต ๕ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยอัสสวราชยานต้น ทรง บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม พระมงคลมหาวีรเจ้าผู้เป็นนายก ของโลกอุดมกว่าสัตว์ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศ พระธรรมจักร พระองค์มีพระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระเป็น อัครสาวก พระเถระชื่อปาลิตะ เป็นอุปัฏฐากพระสีวลาเถรีและพระ- อโสกาเถรีเป็นอัครสาวิกา ไม้โพธิ์ของพระผู้มีพระภาคนั้น เรียก กันว่าต้นกากะทิง นันทอุบาสก และวิสาขอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก อนุฬาอุบาสิกาและสุมนาอุบาสิกาเป็นอุปัฏฐายิกา พระมงคลมหามุนี สูง ๘๐ ศอก พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระองค์ ไปไกลหลายแสน โลกธาตุในขณะนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี พระองค์ทรงดำรง พระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มาก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๑๖.

มาย สาวกของพระองค์ใครๆ ไม่สามารถจะนับได้ ฉะนั้น ครั้งนั้น พระสัมพุทธมงคลผู้เป็นนายกของโลก ทรงดำรงพระชน มายุอยู่เพียงนั้น ในพระศาสนาของพระองค์ไม่มีการตายอย่างคนมี กิเลสเลย พระองค์ผู้ทรงยศใหญ่ทรงชูดวงไฟคือพระธรรมสว่างจ้า ทรงช่วยมหาชนให้ข้ามพ้นวัฏสงสาร ทรงรุ่งเรืองเหมือนดาวธุมเกต แล้วเสด็จนิพพาน ทรงแสดงสภาวะแห่งสังขาร ในมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ทรงรุ่งเรืองเหมือนกองไฟ แล้วเสด็จเข้านิพพาน เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต ฉะนั้น พระพุทธมงคลเสด็จปรินิพพาน ที่พระราชอุทยานชื่อเวสสระ พระสถูปของพระองค์สูง ๓๐ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ในพระราชอุทยานนั้น.
จบมังคลพุทธวงศ์ที่ ๓

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๓๒๐-๗๓๗๘ หน้าที่ ๓๑๔-๓๑๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=7320&Z=7378&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=33&A=7320&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=33&siri=195              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=184              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=33&A=9109              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=6913              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=33&A=9109              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=6913              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]