ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
ปิฏฐิทุกะ
[๘๑๐] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส. [๘๑๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน? ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม ของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูป ในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือ เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ. [๘๑๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน? ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา. [๘๑๓] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน? ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรต ของสมณพราหมณ์ ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่น ว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส. [๘๑๔] สัญโญชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ สัญโญชน์ ๓ นั้น. เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรค ประหาณ. ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ เป็นไฉน? เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคไม่ประหาณ. [๘๑๕] ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ และกิเลสซึ่งตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ. ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน? เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต ธรรม ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ. [๘๑๖] ธรรมมีสัปปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? สัญโญชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส. [๘๑๗] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน? ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม ของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปเป็นตน หรือเห็นตนมีรูป เห็นรูป ในตน เห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณเป็นตน หรือ เห็นตนมีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนในวิญญาณ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ. [๘๑๘] วิจิกิจฉา เป็นไฉน? ปุถุชนเคลือบแคลง สงสัย ในพระศาสดา ฯลฯ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา. [๘๑๙] สีลัพพตปรามาส เป็นไฉน? ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยศีล ด้วยพรต ของสมณพราหมณ์ในภายนอก แต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาส. [๘๒๐] สัญโญชน์ ๓ ดังกล่าวมานี้ และกิเลสที่ตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ ๓ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีสัญโญชน์ ๓ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคประหาณ. สัญโญชน์ ๓ คือ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ. โลภะ โทสะ โมหะ อันตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับสัญโญชน์ ๓ นั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ. ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น. เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอัน โสดาปัตติมรรคประหาณ. ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคจะประหาณ เป็นไฉน? เว้นธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต- *ธรรมที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปวจร โลกุตตระ คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ- *ขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดา ปัตติมรรคจะประหาณ. [๘๒๑] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? โลภะ โทสะ โมหะ ที่เหลือ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า สัมปยุตตเหตุอันมรรค เบื้องสูง ๓ ประหาณ. ส่วนกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกับ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วย โลภะ โทสะ โมหะ นั้น, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมี โลภะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมี สัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ. ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ เป็นไฉน? เว้นธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุ อันมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ. [๘๒๒] ธรรมมีวิตก เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิตกนั้น ในภูมิแห่งจิตมีวิตก ที่เป็น กามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ เว้นวิตกเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิตก. ธรรมไม่มีวิตก เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิตก ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตตระ, วิตก รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตก. [๘๒๓] ธรรมมีวิจาร เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยวิจารนั้น ในภูมิแห่งจิตมีวิจาร ที่เป็น กามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ เว้นวิจารเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีวิจาร. ธรรมไม่มีวิจาร เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีวิจาร ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ, วิจาร รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่มีวิจาร. [๘๒๔] ธรรมมีปีติ เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีตินั้น ในภูมิแห่งจิตมีปีติ ที่เป็น กามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีปีติ. ธรรมไม่มีปีติ เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในภูมิแห่งจิตไม่มีปีติ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มี ปีติ [๘๒๕] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยปีตินั้น ในภูมิแห่งจิตมีปีติ ที่เป็น กามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ เว้นปีติเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ. ธรรมไม่สรหคตด้วยปีติ เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งปีติ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ ปีติ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่ สหรคตด้วยปีติ. [๘๒๖] ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยสุขเวทนานั้นในภูมิแห่ง สุขเวทนา ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ เว้นสุขเวทนาเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา. ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งสุขเวทนา ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ สุขเวทา รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยสุขเวทนา. [๘๒๗] ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน? สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนานั้นในภูมิแห่ง อุเบกขาเวทนา ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และโลกุตตระ เว้นอุเบกขาเวทนาเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา. ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ ในจิตอันไม่เป็นภูมิแห่งอุเบกขาเวทนาที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ อุเบกขาเวทนา รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่า นี้ชื่อว่า ธรรมไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา. [๘๒๘] ธรรมเป็นกามาวจร เป็นไฉน? ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ นับเนื่องอยู่ ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดอเวจีนรกเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชั้น ปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกามาวจร. ธรรมไม่เป็นกามาวจร เป็นไฉน? รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่ เป็นกามาวจร. [๘๒๙] ธรรมเป็นรูปาวจร เป็นไฉน? ธรรมคือจิตและเจตสิก ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐธรรมสุขวิหาร (กิริยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ นับเนื่อง อยู่ ในภูมิระหว่างนี้ คือ เบื้องต่ำกำหนดพรหมโลกเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนดเทพชั้นอกนิษฐ์ เป็นที่สุด อันใด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นรูปาวจร. ธรรมไม่เป็นรูปาวจร เป็นไฉน? กามาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่ เป็นรูปาวจร. [๘๓๐] ธรรมเป็นอรูปาวจร เป็นไฉน? ธรรมคือจิตและเจตสิก ของท่านผู้เข้าสมาบัติ (กุศลฌาน) หรือของท่านผู้อุปบัติ (วิปากฌาน) หรือของท่านผู้อยู่ด้วยทิฏฐิธรรมสุขวิหาร (กิริยาฌาน) ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ นับเนื่องอยู่ ในภูมิระหว่างนี้ คือเบื้องต่ำกำหนดเทพผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภูมิเป็นที่สุด เบื้องสูงกำหนด เทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ เป็นที่สุด สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอรูปาวจร. ธรรมไม่เป็นอรูปาวจร เป็นไฉน? กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อปริยาปันนธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่ เป็นอรูปาวจร. [๘๓๑] ธรรมเป็นปริยาปันนะ เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นปริยาปันนะ. ธรรมเป็นอปริยาปันนะ เป็นไฉน? มรรค ผลของมรรค และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอปริยาปันนะ. [๘๓๒] ธรรมเป็นนิยยานิกะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิยยานิกะ. อนิยยานิกธรรม เป็นไฉน? เว้นนิยยานิกธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อนิยยานิกธรรม. [๘๓๓] ธรรมให้ผลแน่นอน เป็นไฉน? อนันตริยกรรม ๕ นิยตมิจฉาทิฏฐิ และมรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมให้ผลแน่นอน. ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน? เว้นนิยตธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เหลือ ซึ่งเป็น กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมให้ผลไม่แน่นอน. [๘๓๔] ธรรมยังมีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมยังมี ธรรมอื่นยิ่งกว่า. ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. [๘๓๕] ธรรมเกิดกับกิเลส เป็นไฉน? อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และกิเลสอันตั้งอยู่ฐานเดียวกันกับอกุศลมูล นั้น. เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ อันสัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น. กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีอกุศลมูลนั้นเป็นสมุฏฐาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเกิดกับกิเลส. ธรรมไม่เกิดกับกิเลส เป็นไฉน? กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เกิดกับกิเลส.
ปิฏฐิทุกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๑๐๙-๗๒๘๙ หน้าที่ ๒๘๓-๒๘๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=7109&Z=7289&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=34&A=7109&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=64              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=810              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=34&A=6396              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11062              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=34&A=6396              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11062              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en331

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]