ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
อัตถุทธารกัณท์
ติกะ
[๘๗๘] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน? จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล. ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต [๘๗๙] ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก และฝ่ายกิริยา (อย่างละ) ๕ ดวง ฌาน ๓ (ในจตุกกนัย) และ ๔ (ในปัญ- *จกนัย) ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา, ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกขเวทนา เว้นทุกขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยทุกข- *เวทนา. ธรรมสหรคตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตตรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นอทุกขมสุขเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา. เวทนาทั้ง ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้จะกล่าวว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสุขเวทนา ก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยทุกขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าธรรมสัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาก็ไม่ได้. [๘๘๐] ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก. ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก. ธรรมไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก เป็นไฉน? กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นวิบาก และไม่เป็นเหตุแห่งวิบาก. [๘๘๑] อุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนุปาทานิยธรรม. อนุปาทินนุปาทานิยธรรม เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนุปาทานิยธรรม. อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อนุปาทินนานุปาทานิยธรรม. [๘๘๒] ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? จิตตุปบาทฝ่ายอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเศร้าหมองและเป็นอารมณ์ ของสังกิเลส. ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมดสภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส. ธรรมไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส เป็นไฉน? มรรค ๔ ซึ่งเป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เศร้าหมองและไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส. [๘๘๓] ธรรมมีวิตกมีวิจาร เป็นไฉน? กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกามวจรกุศลวิบาก ๑๑ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๒ ดวง ฝ่ายกิริยา ๑๑ ดวง รูปาวจรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตตรปฐมฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นวิตกและวิจารที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีวิตกมีวิจาร. ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร เป็นไฉน? ทุติยฌานในรูปาวจรปัญจกนัย ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ทุติยฌานในโลกุตตร- *ปัญจกนัย ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นวิจารที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจาร. ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่าย กิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก วิจารที่บังเกิดในทุติยฌานในปัญจกนัย รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร. วิจารที่บังเกิดร่วมกับวิตกจะกล่าวว่า มีวิตกมีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตกแต่มีวิจารก็ไม่ได้ ว่าไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็ไม่ได้ [๘๘๔] ธรรมสหรคตด้วยปีติ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๕ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๒ และ ๓ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นปีติ ที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยปีติ. ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโสมนัสเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๔ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๕ ดวง ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นโลกุตตระ ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบาก เว้นสุข เวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยสุขเวทนา. ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา ฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง ฝ่ายอกุศล ๖ ดวง ฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง ฝ่ายอกุศลวิบาก ๖ ดวง ฝ่ายกิริยา ๖ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา โลกุตตรจตุตฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายวิบากเว้นอุเบกขาเวทนาที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา. ปีติไม่สหรคตด้วยปีติ แต่สหรคตด้วยสุขเวทนา ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนา. สุขเวทนาไม่สหรคตด้วยเวทนา แต่ที่สหรคตด้วยปีติ ไม่สหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่า สหรคตด้วยปีติก็มี. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง กายวิญญาณที่สหรคตด้วยทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ จะกล่าวว่าสหรคตด้วยปีติก็ไม่ได้ ว่าสหรคต ด้วยสุขเวทนาก็ไม่ได้ ว่าสหรคตด้วยอุเบกขาเวทนาก็ไม่ได้. [๘๘๕] ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาสภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณ. ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส เวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมอันมรรค เบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี. ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ ไม่ประหาณ. [๘๘๖] ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาเว้นโมหะที่บังเกิด ในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณ. ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เว้นโมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทเหล่านี้เสีย สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณ. จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัส เวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคประหาณก็มี ที่เป็นธรรมมีสัมปยุตตเหตุอันมรรคเบื้องสูง ๓ ประหาณก็มี. ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ เป็นไฉน? โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มีสัมปยุตตเหตุอัน โสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องสูง ๓ จะประหาณ. [๘๘๗] ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ และอกุศล สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ. ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน. ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ และไม่เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน. [๘๘๘] ธรรมเป็นของเสกขบุคคล เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตระ และสามัญญผล ๓ เบื้องต่ำ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น ของเสกขบุคคล. ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน? อรหัตผลเบื้องสูง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นของอเสกขบุคคล. ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปและนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นของเสกขบุคคล และไม่เป็นของอเสกขบุคคล. [๘๘๙] ธรรมเป็นปริตตะ เป็นไฉน? กามาวจรกุศล อกุศล กามาวจรวิบากทั้งหมด กามาวจรกิริยาอัพยากฤตและรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมปริตตะ. ธรรมเป็นมหัคคตะ เป็นไฉน? กุศลธรรมและอัพยากตธรรม ที่เป็นรูปาวจร อรูปาวจร สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นมหัคคตะ. ธรรมเป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัปปมาณะ. [๘๙๐] ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ เป็นไฉน? กามาวจรวิบากทั้งหมด กิริยามโนธาตุ อเหตุกกิริยา มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วย โสมนัสเวทนา สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นปริตตะ. ธรรมมีอารมณ์เป็นมหัคคตะ เป็นไฉน? วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์ เป็นมหัคคตะ. ธรรมมีอารมณ์เป็นอัปปมาณะ เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ และสามัญญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมี อารมณ์เป็นอัปปมาณะ. จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุต ฝ่ายกิริยา ๔ ดวง อกุศลจิตทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์ เป็นมหัคคตะ แต่ไม่มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็มี ที่จะกล่าวว่ามีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามี อารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ก็มี. จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุต ฝ่ายกิริยา ๔ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่ สหรคตด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นปริตตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็มี ที่จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะ ก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้ก็มี. ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นปริตตะก็ ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นมหัคคตะก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอัปปมาณะก็ไม่ได้. รูปและนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ. [๘๙๑] ธรรมทราม เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่เป็นอกุศล ๑๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมทราม. ธรรมปานกลาง เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด สภาวธรรม เหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมปานกลาง. ธรรมประณีต เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมประณีต. [๘๙๒] ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสเวทนา ๒ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นมิจฉาสภาวะ และให้ผลแน่นอนก็มี ที่ให้ผลไม่แน่นอนก็มี. ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน? มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นสัมมาสภาวะ และให้ ผลแน่นอน. ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะวิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมให้ผลไม่แน่นอน. [๘๙๓] ธรรมมีมรรคเป็นอารมณ์ เป็นไฉน? จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง จิตตุปบาทที่เป็นญาณสัมปยุต ฝ่ายกิริยา ๔ ดวง สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีเหตุคือมรรคก็มี ที่มีมรรค เป็นอธิบดี แต่จะกล่าวว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ ว่ามีมรรคเป็นอธิบดีก็ไม่ได้ก็มี. อริยมรรค ๔ ไม่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่มีเหตุคือมรรค ที่มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี ที่จะ กล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอธิบดีก็มี. รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุที่สหรคต ด้วยอุเบกขา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีมรรคเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีเหตุคือมรรค ไม่มีมรรคเป็นอธิบดี ก็มี ที่จะกล่าวไม่ได้ว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ก็มี. จิตตุปบาทที่เป็นญาณวิปปยุตฝ่ายกามาวจรกุศล ๔ ดวง อกุศลทั้งหมด กามาวจรวิบาก ทั้งหมด จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๖ ดวง ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจรฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และ ฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อรูป ๔ ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก และฝ่ายกิริยา สามัญญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ จะกล่าวว่า มีมรรคเป็นอารมณ์ก็ไม่ได้ ว่ามีเหตุคือมรรคก็ไม่ได้ ว่ามีมรรค เป็นอธิบดีก็ไม่ได้. รูปทั้งหมด และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ. [๘๙๔] ธรรมเกิดขึ้นแล้ว เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๔ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ ที่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็มี แต่จะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้น. กุศลในภูมิ ๔ อกุศล กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น สภาวธรรม เหล่านี้ ที่เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็มี ที่เป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้น แต่จะกล่าวไม่ได้ว่า เป็นธรรม จักเกิดขึ้นก็มี. นิพพาน จะกล่าวว่า เป็นธรรมเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ ว่าเป็นธรรมจักเกิดขึ้นก็ไม่ได้. [๘๙๕] ธรรมทั้งปวง เว้นนิพพานเสีย ที่เป็นอดีตก็มี ที่เป็นอนาคตก็มี ที่เป็นปัจจุบัน ก็มี. นิพพาน จะกล่าวว่าเป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่าเป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่าเป็นปัจจุบันก็ไม่ได้. [๘๙๖] ธรรมมีอารมณ์เป็นอดีต เป็นไฉน? วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมี อารมณ์เป็นอดีต. ธรรมที่จัดว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตโดยเฉพาะ ไม่มี. ธรรมมีอารมณ์เป็นปัจจุบัน เป็นไฉน? ปัญจวิญญาณทั้ง ๒ ฝ่าย มโนธาตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็น ปัจจุบัน. จิตตุปบาทฝ่ายกามาวจรกุศลวิบาก ๑๐ ดวง มโนวิญญาณธาตุที่สหรคตด้วยอุเบกขา ฝ่าย อกุศลวิบาก อเหตุกกิริยามโนวิญญาณธาตุ ที่สหรคตด้วยโสมนัส สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์ เป็นอดีตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอนาคตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันก็มี. กามาวจรกุศล อกุศล จิตตุปบาทฝ่ายกิริยา ๙ ดวง รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และ ฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นอดีตก็มี ที่มีอารมณ์เป็นอนาคตก็มี ที่มีอารมณ์เป็น ปัจจุบันก็มี ที่จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นอดีตก็ไม่ได้ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์ เป็นปัจจุบันก็ไม่ได้ก็มี. ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ และสามัญผล ๔ สภาวธรรม เหล่านี้ จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นอดีตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นอนาคตก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็น ปัจจุบันก็ไม่ได้. รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ. [๘๙๗] ธรรมทั้งปวง เว้นรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน ที่เป็นภายในก็มี ที่เป็นภายนอกก็มี ที่เป็นทั้งภายในและภายนอกก็มี. รูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ และนิพพาน จัดเป็นภายนอก. [๘๙๘] ธรรมมีอารมณ์เป็นภายใน เป็นไฉน? วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์ เป็นภายใน. ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก เป็นไฉน? ฌาน ๓ และ ๔ ที่เป็นรูปาวจร ฝ่ายกุศล ฝ่ายวิบาก ฝ่ายกิริยา จตุตถฌานวิบาก อากาสานัญจายตนะ มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ และสามัญผล ๔ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์เป็นภายนอก. กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจรทั้งหมด เว้นรูปเสีย, รูปาวจรจตุตถฌาน ฝ่ายกุศล และฝ่ายกิริยา สภาวธรรมเหล่านี้ ที่มีอารมณ์เป็นภายในก็มี ที่มี อารมณ์เป็นภายนอกก็มี ที่มีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอกก็มี. อากิญจัญญายตนะ จะกล่าวว่า มีอารมณ์เป็นภายในก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นภายนอก ก็ไม่ได้ ว่ามีอารมณ์เป็นทั้งภายในและภายนอกก็ไม่ได้. รูป และนิพพาน จัดเป็นอนารัมมณะ. [๘๙๙] ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้ เป็นไฉน? รูปายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เห็นได้และกระทบได้. ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ เป็นไฉน? จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เห็นไม่ได้แต่ กระทบได้. ธรรมที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ อกุศล วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ รูปที่เห็นไม่ได้และ กระทบไม่ได้ แต่นับเนื่องในธัมมายตนะ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมที่เห็น ไม่ได้และกระทบไม่ได้.
ติกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๗๕๘๓-๗๘๓๓ หน้าที่ ๓๐๒-๓๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=34&A=7583&Z=7833&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=34&A=7583&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=34&siri=66              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=878              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=34&A=6800              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=11578              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=34&A=6800              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=11578              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_34

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]