ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
รูปังมัคโคติกถา
[๑๓๗๙] ส. สกวาที รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. รูปนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ความผูกใจ ความสนใจ ความ ทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ของรูปนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของรูปนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า รูปนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ รูปนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค [๑๓๘๐] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาวาจานั้นไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า สัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของสัมมาวาจานั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาวาจาเป็นมรรค [๑๓๘๑] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของ สัมมาอาชีวะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า สัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความ ตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้นไม่มี ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัมมาอาชีวะเป็นมรรค [๑๓๘๒] ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นมีอยู่ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้น มีอยู่หรือ ป. ถูกแล้ว ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้นมีอยู่ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ [๑๓๘๓] ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้น มีอยู่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมมีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น มีอยู่หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘๔] ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาทิฏฐิ เป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาทิฏฐินั้นไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สัมมาวาจา เป็นมรรค และสัมมาวาจานั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาวาจานั้นไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘๕] ส. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาอาชีวะนั้น ไม่มี หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้น เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของสัมมาสมาธินั้นไม่มี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๓๘๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรค ด้วยเหตุ นั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า รูปของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยมรรค เป็นมรรค
รูปังมัคโคติกถา จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๓๗๐๕-๑๓๗๙๕ หน้าที่ ๕๗๑-๕๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13705&Z=13795&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=13705&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=117              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1379              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=9003              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=5618              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=9003              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=5618              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv10.2/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]