ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
ปัญหาวาร
[๓๐๓] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยเหตุปัจจัย มี ๓ นัย [๓๐๔] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรม ฯลฯ แล้ว พิจารณาซึ่งกุศลกรรมนั้น บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลาย ที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน จากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณากิเลสที่ละ- *แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นโลกิยธรรม โดย เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต- *ปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล โดยอารัมมณปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค แล้วพิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่อาวัชชนะ โดย อารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลายรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นโลกุตตร- *ธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๓๐๕] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโปสถกรรม ฯลฯ ในกาลก่อน ฯลฯ จากฌาน ฯลฯ พระเสกขบุคคลทั้งหลาย กระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำโวทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้วพิจารณา จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ- *ความยินดีนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่- *สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล โดย อธิปติปัจจัย ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำ- *มรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น แล้ว พิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน โดยอธิปติปัจจัย ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๓๐๖] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดหลังๆ ฯลฯ อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอนันตรปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของบุคคลผู้ออกจาก นิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรค เป็นปัจจัย แก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล โดยอนันตรปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๕ ปัจจัยสงเคราะห์ ไม่มี ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๒ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๗ นัย [๓๐๗] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็น โลกิยธรรมแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ยังอภิญญาให้เกิดขึ้น ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นโลกิยธรรม ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นโลกิยธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ เป็นโลกิยธรรม ฯลฯ แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล เป็นปัจจัยแก่วิบาก โดยอุปนิสสยปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัย แก่ปฐมมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัย แก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค โดยอุปนิสสยปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายเข้าไปอาศัยมรรค แล้วยังสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้วพิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา มรรคของพระอริยะเหล่านั้น ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ความฉลาดในฐานะ และอฐานะ โดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติ เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย [๓๐๘] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความ เป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณ ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นโลกิยธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ วัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๓๐๙] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กาย นี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๓๑๐] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โดยอาเสวนปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดย อาเสวนปัจจัย [๓๑๑] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่ วิบากขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัย แก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๓๑๒] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกิยธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปากปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยวิปากปัจจัย มี ๓ นัย [๓๑๓] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ กพฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอาหารปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยวิปากปัจจัย มี ๓ นัย [๓๑๔] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอินทริยปัจจัย พึงกระทำปฏิสนธิ จักขุนทรีย์เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายินทรีย์เป็นปัจจัย แก่กายวิญญาณโดยอินทริยปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอินทริยปัจจัย มี ๓ นัย [๓๑๕] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยฌานปัจจัย มี ๑ นัย โลกุตตรธรรม ฯลฯ มี ๓ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย ในโลกิยธรรม มี ๑ นัย ใน โลกุตตรธรรม มี ๓ นัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๑ นัย โลกุตตรธรรม ฯลฯ มี ๑ นัย [๓๑๖] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตต- *ปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นโลกิยธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย [๓๑๗] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ฯลฯ ตลอดถึงอสัญญสัตว์ ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ เหมือนกับ ปุเรชาตปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม โดย อัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกิยธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย กพฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิ- *ปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอัตถิปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม โดยอัตถิปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิ- *ปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม โดย อัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอัตถิ- *ปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม และมหาภูตรูป ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม และ กพฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นโลกุตตรธรรม และ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นโลกุตตรธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนัตถิปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยวิคตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอวิคตปัจจัย [๓๑๘] ในเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๓ ในอธิปติปัจจัย มี " ๔ ในอนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสหชาตปัจจัย มี " ๕ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๒ ในนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในอุปนิสสยปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๒ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๒ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๒ ในกัมมปัจจัย มี " ๔ ในวิปากปัจจัย มี " ๔ ในอาหารปัจจัย มี " ๔ ในอินทริยปัจจัย มี " ๔ ในฌานปัจจัย มี " ๔ ในมัคคปัจจัย มี " ๔ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๒ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในอัตถิปัจจัย มี " ๗ ในนัตถิปัจจัย มี " ๔ ในวิคตปัจจัย มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย มี " ๗
อนุโลม จบ
[๓๑๙] โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย โลกิยธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัย โดยปุเรชาตปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาต- *ปัจจัย โลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม โดย สหชาตปัจจัย โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยสหชาต- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัย โดยอินทริยปัจจัย โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่โลกุตตรธรรม โดย สหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย [๓๒๐] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๗
ฯลฯ
ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๗
ฯลฯ
ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๔
ปัจจนียะ จบ
[๓๒๑] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔
ปัจจนียานุโลม จบ
[๓๒๒] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔
พึงกระทำอนุโลมมาติกา
ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มี " ๗
ปัจจนียานุโลม จบ
โลกิยทุกะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๕๑๔๖-๕๔๗๔ หน้าที่ ๒๑๐-๒๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=5146&Z=5474&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=42&A=5146&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=42&siri=33              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=303              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=42&A=3262              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=42&A=3262              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_42

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]