ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑๐ ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
ปัจจยวาร
[๑๖๑] จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัย คือ จิต อาศัยหทัยวัตถุ ในปฏิสนธิขณะ เหมือนกับปฏิจจวาร. จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยจิต ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตต- *สมุฏฐานธรรม อาศัยหทัยวัตถุ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตต- *สมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ ในปฏิสนธิขณะเหมือนกับ ปฏิจจวาร ทั้ง ๒ นัย. จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจิต ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ เป็นที่จิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ เหมือน กับปฏิจจวารทั้ง ๒ นัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต- *สมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ จิต อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๓ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ และจิต อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. [๑๖๒] จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย มี ๓ นัย เหมือนกับปฏิจจวาร. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ จักขุวิญญาณ อาศัยจักขายตนะ กายายตนะ ฯลฯ จิต อาศัยหทัยวัตถุ. จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยจักขุวิญญาณ กายวิญญาณ ฯลฯ สัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย อาศัยจิต ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยหทัยวัตถุ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำทั้ง ๒ นัย. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยธรรมที่ไม่ใช่จิตต- *สมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยจักขายตนะ กายายตนะ ฯลฯ จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ ปฏิสนธิ. จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจิต ขันธ์ ๒ ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ พึงทำ ทั้ง ๒ นัย. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต- *ฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ จักขุวิญญาณ อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และจักขายตนะ ที่ สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ จิตอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ ๒ และจักขุวิญญาณ อาศัยขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ และ จักขายตนะ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิต อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทัยวัตถุ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๑๖๓] ในเหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙. [๑๖๔] จิตตสมุฏฐานธรรม อาศัยจิตตสมุฏฐานธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย พึงกระทำหัวข้อปัจจัยหมดทั้ง ๙ ข้อ เหมือนกับปฏิจจวาร แม้ปัญจวิญญาณ ก็พึง กระทำโมหะ มีทั้ง ๓ นัย. [๑๖๕] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีวาระ ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปยุตตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๖.
การนับทั้งสองนอกจากนี้ก็ดี นิสสยวารก็ดี พึงกระทำอย่างนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔๓ บรรทัดที่ ๒๕๒๔-๒๖๐๖ หน้าที่ ๙๘-๑๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=43&A=2524&Z=2606&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=43&A=2524&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=43&siri=18              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=43&A=1822              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=43&A=1822              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_43

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]