ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับจีวร
[๑๔๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนถือจีวรมาสู่อาราม พวกเขาหาภิกษุเจ้าหน้าที่รับ ไม่ได้จึงนำกลับไป จีวรเกิดขึ้นน้อย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มี- *พระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร คือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๓.

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ ๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รับไว้ และยังมิได้รับ
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้. สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้เก็บจีวร
[๑๔๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร รับจีวรแล้วทิ้งไว้ใน ที่นั้นแหละ แล้วหลีกไป จีวรเสียหาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร คือ:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๔.

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ ๕. รู้จักจีวรจำนวนที่เก็บไว้ และยังมิได้เก็บ
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้. สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร นี้เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธานุญาตเรือนคลัง
[๑๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บจีวร ได้เก็บจีวรไว้ในมณฑป บ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ชายคาบ้าง ที่กลางแจ้งบ้าง จีวรถูกหนูกัดบ้าง ถูกปลวกกินบ้าง ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติ วิหาร เพิง เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำ ที่สงฆ์จำหมายให้เป็นเรือนคลัง.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๕.

วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง นี้เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง การ สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
องค์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง
[๑๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล จีวรในเรือนคลังของสงฆ์ ไม่มีคนเฝ้า ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ สมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง คือ:- ๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ ๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความเกลียดชัง ๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความงมงาย ๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว และ ๕. รู้จักจีวรจำนวนที่รักษา และยังมิได้รักษา
วิธีสมมติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ สงฆ์พึงขอร้องภิกษุก่อน ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๖.

กรรมวาจาสมมติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง นี้เป็นญัตติ. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษา เรือนคลัง การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้น พึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด. สงฆ์สมมติ ภิกษุมีชื่อนี้ ให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลังแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
พระพุทธบัญญัติห้ามย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง
[๑๔๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ย้ายเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง ย้ายเจ้าหน้าที่ผู้รักษาเรือนคลัง รูปใดย้าย ต้องอาบัติทุกกฏ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๓๗๓๔-๓๘๑๘ หน้าที่ ๑๕๒-๑๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=3734&Z=3818&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=5&A=3734&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=5&siri=35              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=141              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=5&A=4040              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=4693              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=5&A=4040              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=4693              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/brahmali#pli-tv-kd8:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd8/en/horner-brahmali#Kd.8.4.5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]