ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
อันตรายิกธรรมของภิกษุณี
[๕๗๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีนิมิตบ้าง มีสักแต่ว่านิมิตบ้าง ไม่มีโลหิตบ้าง มีโลหิตเสมอบ้าง มีผ้าซับในเสมอบ้าง มีน้ำ มูตรกะปริบกะปรอยบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นหญิงบัณเฑาะก์บ้าง เป็นหญิงคล้ายชาย บ้าง เป็นหญิงมีมรรคระคนกันบ้าง เป็นหญิง ๒ เพศบ้าง ... ภิกษุทั้งหลายกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถาม อันตรายิกธรรม ๒๔ ประการ แก่ภิกษุณีผู้จะอุปสมบท
วิธีถามอันตรายิกธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงถามอย่างนี้:- เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ มิใช่ผู้ไม่มีโลหิต หรือ มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๗๙.

มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอ หรือ มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกะปริบกะปรอย หรือ มิใช่ผู้มีเดือย หรือ มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์ หรือ มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ มิใช่ผู้เป็นหญิงมีมรรคระคนกัน หรือ มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ อาพาธเหมือนอย่างนี้ ของเธอ มีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เธอเป็นมนุษย์ หรือ เป็นหญิง หรือ เป็นไทย หรือ ไม่มีหนี้สิน หรือ ไม่เป็นราชภัฏ หรือ มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้ว หรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ บาตร จีวรของเธอครบแล้ว หรือ เธอ ชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร ฯ [๕๗๔] สมัยนั้น ภิกษุถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณี หญิงผู้อุปสัมปทา- *เปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นางอุปสัมปทา- *เปกขะอุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ แล้วอุปสมบทใน ภิกษุสงฆ์ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘๐.

[๕๗๕] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถามอันตรายิกธรรมกะนางอุปสัมปทา- *เปกขะผู้ยังไม่ได้สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจ ตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อน แล้วถามอันตรายิกธรรมต่อภายหลัง ภิกษุณี ทั้งหลายสอนซ้อมในท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง นางอุปสัมปทาเปกขะยังกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้เหมือนอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อม ณ สถานที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามอันตรายิกธรรมในท่ามกลางสงฆ์
วิธีสอนซ้อม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสอนซ้อมอย่างนี้ พึงให้ถืออุปัชฌายะก่อน ครั้นแล้วพึงบอกบาตรจีวรว่า นี้ บาตรของเธอ นี้ ผ้าสังฆาฏิ นี้ ผ้าอุตราสงค์ นี้ ผ้าอันตรวาสก นี้ ผ้ารัดอก นี้ ผ้าอาบน้ำ เธอจงไปยืนอยู่ ณ โอกาสโน้น ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด สอนซ้อม นางอุปสัมปทาเปกขะผู้ถูกสอน ซ้อมไม่ดี ย่อมกระดาก เก้อเขิน ไม่อาจตอบได้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้เขลา ไม่ฉลาด ไม่พึง สอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีมิได้รับสมมติสอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘๑.

*ผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีมิได้รับสมมติไม่พึงสอนซ้อม รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วสอนซ้อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล พึงสมมติอย่างนี้ ตนเองพึงสมมติตน หรือ ผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น ฯ
วิธีสมมติตน
[๕๗๖] ก็ตนเองพึงสมมติตน อย่างไร ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจาสมมติตน
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทา- *เปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ดิฉันพึง สอนซ้อมนางชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่าตนเองสมมติตน ฯ
วิธีสมมติผู้อื่น
[๕๗๗] ก็ผู้อื่นพึงสมมติผู้อื่น อย่างไร ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจาสมมติผู้อื่น
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทา- *เปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ภิกษุณี ชื่อนี้ พึงสอนซ้อมนางชื่อนี้ อย่างนี้ชื่อว่าผู้อื่นสมมติผู้อื่น ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘๒.

คำสอนซ้อม
[๕๗๘] ภิกษุณีผู้ได้รับสมมติแล้วนั้น พึงเข้าไปหานางอุปสัมปทาเปกขะ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า นางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริง ของเธอ เมื่อถูกถาม ในท่ามกลางสงฆ์ ถึงสิ่งอันเกิดแล้ว มีอยู่ พึงบอกว่ามี ไม่มี พึงบอกว่าไม่มี เธออย่ากระดาก เธออย่าเก้อเขิน ภิกษุณีทั้งหลายจักถามเธอ อย่างนี้:- เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ มิใช่ผู้ไม่มีโลหิต หรือ มิใช่ผู้มีโลหิตเสมอ หรือ มิใช่ผู้มีผ้าซับในเสมอ หรือ มิใช่ผู้มีน้ำมูตรกระปริบกระปรอย หรือ มิใช่ผู้มีเดือยหรือ มิใช่เป็นหญิงบัณเฑาะก์ หรือ มิใช่เป็นหญิงคล้ายชาย หรือ มิใช่เป็นหญิงมีมรรคระคนกัน หรือ มิใช่เป็นหญิง ๒ เพศ หรือ อาพาธเหมือนอย่างนี้ ของเธอ มีหรือ คือ โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ ลมบ้าหมู เธอเป็นมนุษย์ หรือ เป็นหญิง หรือ เป็นไทย หรือ ไม่มีหนี้สิน หรือ ไม่เป็นราชภัฏ หรือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘๓.

มารดาบิดา สามี อนุญาตแล้ว หรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว หรือ มีบาตรจีวรครบแล้ว หรือ เธอ ชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร ภิกษุณีผู้สอนซ้อม กับนางอุปสัมปทาเปกขะมาพร้อมกัน ... ไม่พึงมา พร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงมาก่อนแล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางชื่อนี้เป็นอุปสัมปทา- *เปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ นางอันดิฉันสอนซ้อมแล้ว ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว นางชื่อนี้พึงมา ภิกษุณีนั้นพึงกล่าวว่า เธอจงมา พึงให้นางอุปสัมปทาเปกขะห่มผ้าเฉวียง- *บ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุณีทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่งประคองอัญชลี ขออุปสมบท ว่าดังนี้:-
คำขออุปสมบท
แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้น เถิด เจ้าข้า แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สอง ขอสงฆ์ โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า แม่เจ้า เจ้าข้า ดิฉันขออุปสมบทกะสงฆ์ เป็นครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรด เอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘๔.

ญัตติกรรมวาจา
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุป- *สัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ดิฉันพึงถามอันตรายิกธรรมกะนางชื่อนี้
คำถามอันตรายิกธรรม
แน่ะนางชื่อนี้ เธอจงฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริง ของเธอ ฉันถาม ถึงสิ่งที่เกิดแล้ว มีอยู่ เธอพึงบอกว่ามี ไม่มี เธอพึงบอกว่า ไม่มี เธอมิใช่ผู้ไม่มีนิมิต หรือ มิใช่ผู้มีสักแต่ว่านิมิต หรือ ... เธอ ชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอ ชื่ออะไร ภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรม- *วาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติจตุตถกรรมวาจา
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุป- *สัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรม ทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มี แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัม- *ปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตรจีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อ นี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘๕.

การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ดิฉันกล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังดิฉัน นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ บริ- *สุทธิ์แล้วจากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย บาตร จีวรของเธอครบแล้ว นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นาง ชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทนางชื่อนี้ มี แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ดิฉันทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ [๕๗๙] ขณะนั้นเอง ภิกษุณีทั้งหลาย พึงพานางเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มผ้าเฉวียงบ่า ให้ไหว้เท้าภิกษุทั้งหลาย ให้นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลี ขอ อุปสมบท ว่าดังนี้:-
คำขออุปสมบท
พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุป- *สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ สงฆ์ ขอสงฆ์โปรดเอ็นดู ยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุป- *สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ สงฆ์ แม้ครั้งที่สอง ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า พระคุณเจ้าข้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุป- *สมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ ดิฉันขออุปสมบทกะ สงฆ์ แม้ครั้งที่สาม ขอสงฆ์โปรดเอ็นดูยกดิฉันขึ้นเถิด เจ้าข้า ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๘๖.

[๕๘๐] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ- *จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติจตุตถกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัม- *ปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็น ปวัตตินี ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้นางชื่อนี้อุป- *สมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัม ปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัต- *ตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุปสมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุป- *สมบทของนางชื่อนี้ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จง ฟังข้าพเจ้า นางมีชื่อนี้ผู้นี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ นางชื่อนี้ ขออุปสมบทกะสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้นางชื่อนี้อุป- *สมบท มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี การอุปสมบทของนางชื่อนี้ มีแม่ เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด นางชื่อนี้อันสงฆ์อุปสมบทแล้ว มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ชอบ แก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๖๗๓๓-๖๙๓๖ หน้าที่ ๒๗๘-๒๘๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=6733&Z=6936&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=7&A=6733&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=90              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=573              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=7&A=7104              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=7&A=7104              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/brahmali#pli-tv-kd20:17.1.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd20/en/horner-brahmali#BD.5.375

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]