ธุดงควรรคที่ ๖
ถืออยู่ป่าเป็นต้น
[๑๑๙๑] อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก. ๕ จำพวก อะไรบ้าง? คือ:-
๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถืออยู่ป่า
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึงถืออยู่ป่า
๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถืออยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า สรรเสริญ จึงถืออยู่ป่า
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัย
ความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถืออยู่ป่า
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก นี้แล.
อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้า มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถือทรงผ้า ๓ ผืน มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถือเที่ยวตามแถว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถือการนั่ง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง มีเท่าไรหนอแล พระพุทธ
เจ้าข้า? ...
อุ. ภิกษุผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตร มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?
พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรนี้มี ๕ จำพวก. ๕ จำพวกอะไรบ้าง? คือ:-
๑. เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
๒. เพราะผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
๓. เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถือฉันเฉพาะในบาตร
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงถือฉันเฉพาะ
ในบาตร
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และอาศัยความ
เป็นแห่งการฉันเฉพาะในบาตร มีประโยชน์ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถึงฉันเฉพาะในบาตร
ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก นี้แล.
ธุดงควรรคที่ ๖ จบ
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวรรค
[๑๑๙๒] ถืออยู่ป่า ๑ ถือเที่ยวบิณฑบาต ๑ ถือทรงผ้าบังสุกุล ๑ ถืออยู่โคนไม้ ๑
ถืออยู่ป่าช้าเป็นที่ครบห้า ๑ ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง ๑ ถือทรงผ้า ๓ ผืน ๑ ถือเที่ยวตามแถว ๑
ถือการนั่ง ๑ ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ๑ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ๑ ถือห้ามภัตรที่
เขานำมาถวายเมื่อภายหลัง ๑ ถือฉันเฉพาะในบาตร ๑.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๑๔๑๘-๑๑๔๕๘ หน้าที่ ๔๓๘-๔๔๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=11418&Z=11458&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=8&A=11418&pagebreak=0
อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :-
http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=8&siri=111
ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1191
พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=8&A=9619
The Pali Tipitaka in Roman :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=8&A=9619
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘
http://84000.org/tipitaka/read/?index_8
อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :-
https://suttacentral.net/en/pi-tv-pvr17#Prv.17.6
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
