ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สิกขาบทวิภังค์
[๓๐๓] บทว่า เป็นไปด้วยความจงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจละเมิด บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุกกะมี ๑๐ อย่าง คือ สุกกะสีเขียว ๑ สุกกะสีเหลือง ๑ สุกกะสีแดง ๑ สุกกะสีขาว ๑ สุกกะสีเหมือนเปรียง ๑ สุกกะสีเหมือนน้ำท่า ๑ สุกกะสีเหมือน น้ำมัน ๑ สุกกะสีเหมือนนมสด ๑ สุกกะสีเหมือนนมส้ม ๑ สุกกะสีเหมือนเนยใส ๑ การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานตรัสเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่าปล่อย บทว่า เว้นไว้แต่ฝัน คือ ยกเว้นความฝัน บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นได้ ชักเข้าหาอาบัติ เดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของหมวดอาบัติ นั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
บทภาชนีย์
(อุบาย ๔)
[๓๐๔] ภิกษุปล่อยสุกกะในรูปภายใน ๑ ปล่อยสุกกะในรูปภายนอก ๑ ปล่อยสุกกะ ในรูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก ๑ ปล่อยเมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ ๑
(กาล ๕)
ปล่อยเมื่อเวลาเกิดความกำหนัด ๑ ปล่อยเมื่อเวลาปวดอุจจาระ ๑ ปล่อยเมื่อเวลาปวด ปัสสาวะ ๑ ปล่อยเมื่อเวลาต้องลม ๑ ปล่อยเมื่อเวลาถูกบุ้งขน ๑
(ความประสงค์ ๑๐)
ปล่อยเพื่อประสงค์ความหายโรค ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ความสุข ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็น ยา ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ให้ทาน ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นบุญ ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์บูชายัญ ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ไปสวรรค์ ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์เป็นพืช ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์จะทดลอง ๑ ปล่อยเพื่อประสงค์ความสนุก ๑
(วัตถุประสงค์ ๑๐)
ปล่อยสุกกะสีเขียว ๑ ปล่อยสุกกะสีเหลือง ๑ ปล่อยสุกกะสีแดง ๑ ปล่อยสุกกะสีขาว ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนเปรียง ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนน้ำท่า ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนน้ำมัน ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมสด ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนนมส้ม ๑ ปล่อยสุกกะสีเหมือนเนยใส ๑ [๓๐๕] บทว่า รูปภายใน ได้แก่รูปที่มีวิญญาณครอง เป็นภายใน บทว่า รูปภายนอก ได้แก่รูปที่มีวิญญาณครอง หรือรูปที่ไม่มีวิญญาณครอง เป็นภายนอก บทว่า รูปทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอก ได้แก่รูปทั้งสองนั้น บทว่า เมื่อยังสะเอวให้ไหวในอากาศ คือเมื่อพยายามในอากาศ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ ใช้การได้ บทว่า เมื่อเวลาเกิดความกำหนัด คือเมื่อถูกราคะบีบคั้นแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ ใช้การได้ บทว่า เมื่อเวลาปวดอุจจาระ คือเมื่อปวดอุจจาระ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ บทว่า เมื่อเวลาปวดปัสสาวะ คือเมื่อปวดปัสสาวะ องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ บทว่า เมื่อเวลาต้องลม คือเมื่อถูกลมโชยแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ บทว่า เมื่อเวลาถูกบุ้งขน คือเมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องค์กำเนิดเป็นอวัยวะ ใช้การได้ บทว่า เพื่อประสงค์ความหายโรค คือเพื่อหวังว่าจักเป็นคนไม่มีโรค บทว่า เพื่อประสงค์ความสุข คือเพื่อหวังว่าจักยังสุขเวทนาให้เกิด บทว่า เพื่อประสงค์เป็นยา คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นยา บทว่า เพื่อประสงค์ให้ทาน คือเพื่อมุ่งว่าจักให้ทาน บทว่า เพื่อประสงค์เป็นบุญ คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นบุญ บทว่า เพื่อประสงค์บูชายัญ คือเพื่อมุ่งว่าจักบูชายัญ บทว่า เพื่อประสงค์ไปสวรรค์ คือเพื่อมุ่งว่าจักได้ไปสวรรค์ บทว่า เพื่อประสงค์เป็นพืช คือเพื่อมุ่งว่าจักเป็นพืช บทว่า เพื่อประสงค์ทดลอง คือเพื่อมุ่งว่าจักทดลองดูว่า สุกกะจักเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีเหมือนเปรียง สีเหมือนน้ำท่า สีเหมือนน้ำมัน สีเหมือนนมสด สีเหมือน นมส้ม หรือสีเหมือนเนยใส บทว่า เพื่อประสงค์ความสนุก คือมีความมุ่งหมายจะเล่น.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๑๔๗๐-๑๑๕๒๐ หน้าที่ ๔๔๑-๔๔๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=11470&Z=11520&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=34              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=301              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [303-305] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=303&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [303-305] https://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=303&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss1/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :