ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑

หน้าที่ ๗๔๑.

อนิยตกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคืออนิยต ๒ สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.
อนิยต สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา
[๖๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นท่านพระอุทายีเป็นพระประจำสกุลในพระนครสาวัตถี เข้าไปหาสกุลเป็นอันมาก สมัยนั้น สาวน้อยแห่งสกุลอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี เป็นสตรีที่ มารดาบิดายกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลหนึ่ง ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงไต่ถามพวกชาวบ้านว่า สาวน้อยผู้มีชื่อนี้อยู่ไหน พวกชาวบ้านตอบอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้าได้ยกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลโน้นแล้ว เจ้าข้า แม้สกุลนั้นแล ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงถามพวกชาวบ้านว่า สตรีผู้มีชื่อนี้ อยู่ไหน? พวกชาวบ้านตอบว่า นางนั่งอยู่ในห้อง เจ้าข้า จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสาวน้อยนั้น ครั้นแล้วสำเร็จการนั่งในที่ลับคือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับสาวน้อยนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา. [๖๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล นางวิสาขา มิคารมาตา เป็นสตรีมีบุตรมาก มีนัดดามาก มีบุตรไม่มีโรค มีนัดดาไม่มีโรค ซึ่งโลกสมมติว่าเป็นมิ่งมงคล พวกชาวบ้านเชิญนางไปให้ รับประทานอาหารก่อนในงานบำเพ็ญกุศล งานมงคล งานมหรสพ ครั้งนั้น นางวิสาขา มิคารมาตา ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น นางได้เห็นพระอุทายี นั่งในที่ลับคือในอาสนะกำบัง ซึ่ง พอจะทำการได้กับหญิงสาวนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่ พระคุณเจ้า การที่พระคุณเจ้าสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับ มาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร แม้พระคุณเจ้าจะไม่ต้องการด้วยธรรมนั้น ก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้านผู้ที่ไม่เลื่อมใส จะบอกให้เชื่อได้โดยยาก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔๒.

ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ก็มิได้เชื่อฟัง เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตา กลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า ดูกรอุทายี ข่าวว่า เธอสำเร็จการนั่ง ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จริงหรือ? ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอจึงได้ สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง ซึ่งพอจะทำการได้กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของเธอนั้น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระอุทายีโดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง ความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสม แก่เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อ ข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔๓.

ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๘. ๑. อนึ่ง ภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้ เห็นภิกษุกับมาตุคาม นั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วย สังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์ บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับ ด้วยธรรมนั้น ธรรมนี้ชื่อ อนิยต.
เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติ อย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ อรรถว่าประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง กันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔๔.

พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้ ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น ไม่ต้องพูดถึงสตรีผู้ใหญ่ บทว่า กับ คือ ร่วมกัน คำว่า รูปเดียว ... ผู้เดียว ได้แก่ภิกษุ ๑ มาตุคาม ๑ ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา ๑ ที่ลับหู ๑ ที่ลับตา ได้แก่ที่ซึ่งเมื่อภิกษุหรือมาตุคามขยิบตา ยักคิ้ว หรือชูศีรษะ ไม่มีใครสามารถ จะแลเห็นได้ ที่ลับหู ได้แก่ ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้ อาสนะที่ชื่อว่า กำบัง คือเป็นอาสนะที่เขากำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใดอย่างหนึ่ง บทว่า พอจะทำการได้ คือ อาจเพื่อจะเสพเมถุนธรรมได้ คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุนั่งใกล้หรือนอนใกล้ ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้ก็ดี นั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคน ก็ดี [๖๓๔] อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาที่เชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ บทว่า เห็น คือ พบ [๖๓๕] อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใด อย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่ง การนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม ๓ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔๕.

ปฏิญญาตกรณะ
เห็นนั่งกำลังเสพเมถุนธรรม
[๖๓๖] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรม ในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่าข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
เห็นนอนกำลังเสพเมถุนธรรม
[๖๓๗] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรม ในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะ การนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรมใน มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังเสพเมถุนธรรมใน มาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
เห็นนั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
[๖๓๘] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับตามอาบัติ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔๖.

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
เห็นนอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย
[๖๓๙] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึง ด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับ เพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย กับมาตุคาม ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
เห็นนั่งในที่ลับ
[๖๔๐] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะ การนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็น พระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับ คือนั่งในอาสนะ กำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้า นอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔๗.

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็น พระคุณเจ้ารูปเดียวนั่งในที่ลับ คือในอาสนะ กำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.
เห็นนอนในที่ลับ
[๖๔๑] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับ คือ ในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับ เพราะการนอน หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับ คือใน อาสนะกำบัง พอจะกระทำได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอนในที่ลับ คือในอาสนะ กำบัง พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้า ยืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ. [๖๔๒] บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นปาราชิกก็ได้ เป็นสังฆาทิเสส ก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้.
บทภาชนีย์
[๖๔๓] ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับตามอาบัติ ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับเพราะการนั่ง ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึงปรับ.
อนิยต สิกขาบทที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๙๒๑๙-๑๙๓๙๔ หน้าที่ ๗๔๑-๗๔๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=19219&Z=19394&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=58              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=631              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [633-645] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=633&items=13              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=3136              The Pali Tipitaka in Roman :- [633-645] https://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=633&items=13              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=3136              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ay1/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :