ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน [๑๖๐ บท]
[๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การกระทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน บอกคืน เป็นอย่างไร?
กล่าวบอกคืนด้วยคำรำพึงว่าไฉนหนอ [๑๔ บท]
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๓.

๒. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นอุบาสก ปรารถนา ความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็นเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็น สาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน ๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ... ๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ... ๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ... ๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ... ๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ... ๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำรำพึงว่า ไฉนหนอ [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็น สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๔.

๒. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ... ๓. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ... ๔. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ... ๕. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ... ๖. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ... ๗. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ... ๘. ... ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวว่าบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ... ๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ... ๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ... ๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ... ๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ... ๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ... ๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๕.

๑๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ก็ถ้าว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ... ๓. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ... ๔. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ... ๕. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ... ๖. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ... ๗. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ... ๘. ... ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระ- *พุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็น อันบอกคืน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๖.

๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ... ๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ... ๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ... ๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ... ๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ... ๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ... ๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ... ๑๐. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิหาริก ... ๑๑. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า หากว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. ๒. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ... ๓. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ... ๔. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ... ๕. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ... ๖. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๗.

๗. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ... ๘. ... หากว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๑๔ บท]
๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เป็นสมณะ ปรารถนาความ เป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน บอกคืน. ๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ... ๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ... ๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ... ๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ... ๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ... ๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ... ๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาบทไม่เป็นอันบอกคืน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๘.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า ผิว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ... ๓. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ... ๔. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ... ๕. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ... ๖. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ... ๗. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ... ๘. ... ผิว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริ [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอก คืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่ เป็นอันบอกคืน. ๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระธรรม ... ๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสงฆ์ ... ๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนสิกขา ... ๕. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนวินัย ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๙.

๖. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนปาติโมกข์ ... ๗. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนอุเทศ ... ๘. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอาจารย์ ... ๑๐. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... มีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่าง นี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำปริกัป ว่า มีความดำริว่า [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินยอม ใคร่จะเคลื่อนจากความ สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็น คฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอัน บอกคืน ๒. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอุบาสก ... ๓. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นอารามิก ... ๔. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสามเณร ... ๕. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นเดียรถีย์ ... ๖. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นสาวกเดียรถีย์ ... ๗. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่สมณะ ... ๘. ... ข้าพเจ้ามีความดำริว่า ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๐.

อ้างวัตถุที่รำลึก [๑๗ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงมารดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบิดา ... ๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่ชายน้องชาย ... ๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงพี่หญิงน้องหญิง ... ๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบุตร ... ๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงธิดา ... ๗. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงภริยา ... ๘. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่ญาติ ... ๙. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงหมู่มิตร ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงบ้าน ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนิคม ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงนา ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงสวน ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงเงิน ... ๑๕. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงทอง ... ๑๖. ... ข้าพเจ้าระลึกถึงศิลปะ ... ๑๗. ... ข้าพเจ้าหวนรำลึกถึงการหัวเราะ การเจรจา การเล่นในครั้งก่อน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
แสดงความห่วงใย [๙ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความเป็น สมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๑.

*ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดู ท่าน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขา ไม่เป็นอัน บอกคืน. ๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูท่าน ... ๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ... ๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ... ๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ... ๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ... ๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ... ๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา ... ๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเขา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
อ้างที่อยู่ที่อาศัย [๑๖ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า มารดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. ๒. ... บิดาของข้าพเจ้ามี ท่านจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ... ๓. ... พี่ชายน้องชายของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ... ๔. ... พี่หญิงน้องหญิงของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ... ๕. ... บุตรของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๒.

๖. ... ธิดาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ... ๗. ... ภริยาของข้าพเจ้ามี เขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ... ๘. ... หมู่ญาติของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ... ๙. ... หมู่มิตรของข้าพเจ้ามี พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า ... ๑๐. ... บ้านของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยบ้านนั้น ... ๑๑. ... นิคมของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนิคมนั้น ... ๑๒. ... นาของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยนานั้น ... ๑๓. ... สวนของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยสวนนั้น ... ๑๔. ... เงินของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยเงินนั้น ... ๑๕. ... ทองของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยทองนั้น ... ๑๖. ... ศิลปะของข้าพเจ้ามี ข้าพเจ้าจักเลี้ยงชีพได้แม้ด้วยศิลปะนั้น ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
อ้างว่าพรหมจรรย์ทำได้ยาก [๘ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า พรหมจรรย์ทำได้ยาก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน. ๒. ... พรหมจรรย์ทำไม่ได้ง่าย ... ๓. ... พรหมจรรย์ประพฤติได้ยาก ... ๔. ... พรหมจรรย์ประพฤติไม่ได้ง่าย ... ๕. ... ข้าพเจ้าไม่อาจ ... ๖. ... ข้าพเจ้าไม่สามารถ ... ๗. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดี ... ๘. ... ข้าพเจ้าไม่ยินดียิ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพล ให้แจ้ง และสิกขาไม่เป็นอันบอกคืน.
รวมลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน ๑๖๐ บท

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๓.

ลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน [๗๘ บท]
กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๑๔ บท]
[๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน เป็นอย่างไร? ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าบอกคืนพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้อย่างนี้ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าบอกคืนวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าบอกคืนปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าบอกคืนอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าบอกคืนพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำ ความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๔.

กล่าวกำหนดภาวะด้วยคำเป็นปัจจุบัน [๘ บท]
๑. อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้ มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ... ๓. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอารามิก ... ๔. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสามเณร ... ๕. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นเดียรถีย์ ... ๖. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นสาวกเดียรถีย์ ... ๗. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่สมณะ ... ๘. ... ขอท่านจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำเป็นปัจจุบันว่าไม่เกี่ยวข้อง [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยวินัย ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๕.

๖. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่เกี่ยวข้องด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่าจะต้องการอะไร [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระสัทธิวิหาริก ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๖.

๑๑. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าจะต้องการอะไรด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า ไม่ต้องการ [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็น ผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระสิทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าไม่ต้องการด้วยพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๗.

กล่าวบอกคืนด้วยคำว่า พ้นดีแล้ว [๑๔ บท]
๑. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ กระสัน ไม่ยินดี ใคร่จะเคลื่อนจากความ เป็นสมณะ อึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความเป็นภิกษุ ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนา ความเป็นอุบาสก ปรารถนาความเป็นอารามิก ปรารถนาความเป็นสามเณร ปรารถนาความเป็น เดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นสาวกเดียรถีย์ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้ มิใช่สมณะ ปรารถนาความเป็นผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบว่า ข้าพเจ้า พ้นดีแล้วจากพระพุทธเจ้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน. ๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระธรรม ... ๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสงฆ์ ... ๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากสิกขา ... ๕. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากวินัย ... ๖. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากปาติโมกข์ ... ๗. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากอุเทศ ... ๘. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอุปัชฌายะ ... ๙. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอาจารย์ ... ๑๐. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระสัทธิวิหาริก ... ๑๑. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระอันเตวาสิก ... ๑๒. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอุปัชฌายะ ... ๑๓. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระผู้ร่วมอาจารย์ ... ๑๔. ... ข้าพเจ้าพ้นดีแล้วจากพระเพื่อนพรหมจารี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า การทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็นอันบอกคืน.
รวมลักษณะสิกขาที่เป็นอันบอกคืน ๗๘ บท
ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ก็อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์แห่งพระพุทธเจ้าก็ดี ไวพจน์แห่งพระธรรมก็ดี ไวพจน์แห่ง พระสงฆ์ก็ดี ไวพจน์แห่งสิกขาก็ดี ไวพจน์แห่งวินัยก็ดี ไวพจน์แห่งปาติโมกข์ก็ดี ไวพจน์แห่ง อุเทศก็ดี ไวพจน์แห่งพระอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระอาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระสัทธิวิหาริก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๘.

ก็ดี ไวพจน์แห่งพระอันเตวาสิกก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วมอุปัชฌายะก็ดี ไวพจน์แห่งพระผู้ร่วม อาจารย์ก็ดี ไวพจน์แห่งพระเพื่อนพรหมจารีก็ดี ไวพจน์แห่งคฤหัสถ์ก็ดี ไวพจน์แห่งอุบาสกก็ดี ไวพจน์แห่งอารามิกก็ดี ไวพจน์แห่งสามเณรก็ดี ไวพจน์แห่งเดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งสาวก- *เดียรถีย์ก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่สมณะก็ดี ไวพจน์แห่งบุคคลผู้มิใช่เชื้อสายพระศากยบุตรก็ดี แม้อย่างอื่นใด มีอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวให้ผู้อื่นทราบด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็นอาการ เป็นลักษณะ เป็นนิมิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่าการทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง และสิกขาก็เป็น อันบอกคืน.
ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน
[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาไม่เป็นอันบอกคืนเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ย่อมเป็นอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ บอกคืนด้วยไวพจน์เหล่าใด อันเป็นอาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต ภิกษุวิกลจริต บอกคืนสิกขาด้วยไวพจน์เหล่านั้น อันเป็น อาการ เป็นเพศ เป็นนิมิต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน. ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักภิกษุวิกลจริต สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา บอกคืนสิกขา สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขา ในสำนักภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา สิกขาย่อมไม่เป็นอัน บอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักสัตว์ดิรัจฉาน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๙.

ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติอริยกะ ด้วยภาษาชนชาติอริยกะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขาในสำนักแห่งชนชาติมิลักขะ ด้วยภาษาชนชาติมิลักขะ ถ้าเขาไม่เข้าใจ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวเล่น สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุประสงค์จะประกาศ แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๓] ที่ชื่อว่า เมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคน เป็นคู่ๆ พึงประพฤติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม. [๓๔] ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใดสอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต สอดองค์กำเนิดเข้า ไปทางองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่า เสพ. [๓๕] คำว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร จะกล่าวไปไยในหญิงมนุษย์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย. [๓๖] คำว่า เป็นปาราชิก ความว่า บุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็น อยู่ ชื่อแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อ สายพระศากยบุตร เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เป็นปาราชิก. [๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุ นั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๘๐๓-๑๒๕๓ หน้าที่ ๓๒-๔๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=803&Z=1253&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=6              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=30              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [30-37] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=30&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=6144              The Pali Tipitaka in Roman :- [30-37] https://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=30&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=6144              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj1/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj1:8.2.4

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :