ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
หัวข้อประจำขันธกะ
[๓๑๙] ๑. ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง เอง ได้เข้าไปหาภิกษุผู้เช่นกัน แล้วให้ขมักเขม้นในการก่อความบาดหมางขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายตัวออกไป ภิกษุ ทั้งหลายที่มักน้อย มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเพ่งโทษในบริษัท พระพุทธชินเจ้าผู้สยัมภูอัครบุคคล ผู้ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลง ตัชชนียกรรม ณ พระนครสาวัตถี ตัชชนีกรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย คือ ทำลับหลังไม่สอบถาม ก่อนแล้วทำ ไม่ทำตามปฏิญาณ หมวด ๑ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ทำเพราะอาบัติ มิใช่เทสนาคามินี ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว หมวด ๑ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ไม่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๒.

ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ หมวด ๑ ทำลับหลัง ทำโดย ไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ทำตามปฏิญาณ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์ เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรค ทำ หมวด ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์ เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็น วรรคทำ หมวด ๑ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั่นแหละ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุใด สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุนั้น ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล คลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด ๑ วิบัติ ในอธิศีล ในอัธยาจาร ในอติทิฐิ หมวด ๑ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หมวด ๑ สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง รูปหนึ่งเป็นพาล รูปหนึ่งคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด ๑ รูปหนึ่งวิบัติในศีล รูปหนึ่งวิบัติในอัธยาจาร รูปหนึ่งวิบัติในอติทิฐิ หมวด ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ หมวด ๑ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้ คือ ไม่ ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ไม่สั่งสอนภิกษุณี และได้ สมมติแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัตินั้น ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกันและอาบัติ ยิ่งกว่านั้น ไม่ติกรรม ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ไม่ห้ามอุโบสถ ปวารณา แก่ปกตัตตะภิกษุไม่ทำการไต่สวน ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ และไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๓.

ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ให้สามเณร อุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี แม้ได้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนและองค์ ๕ คือ ต้อง อาบัตินั้น ต้องอาบัติอันเช่นกัน และต้องอาบัติที่ยิ่งกว่านั้น ติกรรม ติภิกษุทั้ง หลายผู้ทำกรรม สงฆ์ไม่ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ คือ ห้ามอุโบสถ ปวารณา ทำการไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น ให้ภิกษุอื่นให้การ และให้สู้ อธิกรณ์กัน ย่อมไม่ระงับจากตัชชนียกรรม ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั้นแหละ ๒. พระเสยยสกะเป็นพาล มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ พระสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนี รับสั่งให้ลงนิยสกรรม ๓. ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทั้งสอง ในชนบทกิฏาคีรี ไม่สำรวม ประพฤติแม้ซึ่งอานาจารมีอย่างต่างๆ พระสัมพุทธชินเจ้ารับสั่งให้ลง ปัพพาชนียกรรม ในพระนครสาวัตถี ๔. พระสุธรรมเป็นเจ้าถิ่นของจิตตะคฤหบดีในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ด่าจิตตะ ผู้อุบาสก ด้วยถ้อยคำกระทบชาติ พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณียกรรม ๕. พระชินเจ้าผู้อุดม ทรงบัญชาให้ลงอุกเขปนียกรรม ในเพราะไม่เห็น อาบัติ แก่พระฉันนะผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในพระนครโกสัมพี ๖. พระฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้นแล พระพุทธเจ้าผู้ดำรง ตำแหน่งนายกพิเศษ รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติต่อไป ๗. ทิฐิอันเป็นบาป อาศัยความไม่รู้ บังเกิดแก่พระอริฏฐะ พระชินเจ้า ดำรัสให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฐิ นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม และ ปฏิสารณียกรรม ก็เหมือนกัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๔.

บทเกินเหล่านี้มีในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ และมิจฉาชีพ ฐานไม่เห็นและไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่ สละทิฐิ บทเกินเหล่านี้มีในปฏิสารณียกรรมคือ มุ่งความไม่มีลาภ กล่าวติเตียน มีนามว่า ปัญจกะ ๒ หมวดๆ ละ ๕ แม้กรรมทั้งสอง คือ ตัชชนียกรรม และ นิยสกรรม ก็เช่นกัน ปัพพานียกรรม และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน ๘ ข้อ ๒ หมวด โดยการจำแนกอุกเขปนียกรรม ๓ อย่างนั้นเช่นเดียวกัน ปราชญ์พึงทราบกรรมที่เหลือ แม้ตามนัยแห่งตัชชนียกรรม เทอญ ฯ
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๓๕๓๑-๓๕๙๖ หน้าที่ ๑๕๑-๑๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=3531&Z=3596&pagebreak=1              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=6&siri=15              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=319              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [319] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=6&item=319&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [319] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=6&item=319&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/horner-brahmali#BD.5.40 https://suttacentral.net/pli-tv-kd11/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :