ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
ผู้ทำลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย
[๔๑๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า มีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำ ลายสงฆ์ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อุ. และมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ พ. มี อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ อุ. พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ เป็นไฉน พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้ จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบ ใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่ว กัป ช่วยเหลือไม่ได้ อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรม นั้นว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง ความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นในอธรรม นั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในการแตกกันว่าเป็นอธรรม ... ... มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีความสงสัยในความแตกกัน ... ... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็น อธรรม ... ... มีความสงสัยในอธรรมนั้นมีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม ... ... มีความสงสัยในอธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพราง ความเห็น อำพรางความถูกใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อม ประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับ สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้ อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงสิ่งมิใช่ วินัยว่าเป็นวินัย ย่อมแสดงวินัยว่ามิใช่วินัย ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัส ภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ ว่าเป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาแล้ว ว่าเป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาแล้ว ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่าเป็นสิ่งที่ตถาคตมิ ได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ ย่อม แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา ย่อมแสดง อาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ว่าเป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ย่อม แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มี ความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มี ความสงสัยในความแตกกัน มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน ความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความสงสัยใน ความแตกกัน มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม มีความสงสัยในธรรมนั้น มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม มีความสงสัย ในธรรมนั้น มีความสงสัยในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความถูก ใจ อำพรางความชอบใจ อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ต้องเกิดในอบาย ตกนรก อยู่ ชั่วกัป ช่วยเหลือไม่ได้
ผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องเกิดในอบาย
[๔๑๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ เป็นไฉน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่า เป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพรางความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ อนึ่ง อุบาลี ภิกษุย่อมแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ... ย่อมแสดงอาบัติชั่ว หยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นใน ความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความถูกใจ ไม่อำพราง ความชอบใจ ไม่อำพรางความจริง ย่อมประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านทั้งหลาย จงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แม้นี้แล ไม่ต้องเกิดในอบาย ไม่ตกนรก อยู่ชั่วกัป พอช่วยเหลือได้ ฯ
ตติยภาณวาร จบ
สงฆ์เภทขันธกะ ที่ ๗ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๔๑๙๐-๔๒๗๕ หน้าที่ ๑๗๔-๑๗๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=4190&Z=4275&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=56              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=411              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [411-412] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=411&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [411-412] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=411&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/brahmali#pli-tv-kd17:5.5.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd17/en/horner-brahmali#Kd.17.5.5

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :