ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เรื่องพระอชิตะ
[๖๕๐] โดยสมัยนั้นแล พระอชิตะมีพรรษาได้ ๑๐ เป็นผู้สวดปาติโมกข์ แก่สงฆ์ ครั้งนั้น สงฆ์สมมติท่านพระอชิตะให้เป็นผู้ปูอาสนะเพื่อพระเถระทั้งหลาย พระเถระทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ ณ ที่ไหนหนอ แล้วคิด ต่อไปว่า วาลิการามนี้แล เป็นรมณียสถาน มีเสียงน้อย ไม่มีเสียงเอ็ดอึง ถ้าไฉนพวกเราจะพึงระงับอธิกรณ์นี้ ณ วาลิการาม ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย ที่ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ได้พากันไปวาลิการาม ฯ
สมมติตนเป็นผู้ถามและแก้
[๖๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะท่านพระสัพพกามี ท่านพระสัพพกามีประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ญัตติกรรมวาจา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าอันพระเรวตะถามพระวินัยแล้ว จะพึงแก้ ฯ
ถามและแก้วัตถุ ๑๐ ประการ
[๖๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า สิงคิโลณกัปปะ ควรหรือ ขอรับ พระสัพพกามีย้อนถามว่า สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ ร. การเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่า จักปรุงในอาหารที่จืดฉัน ควร หรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์ ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะอาหารที่ทำการสั่งสม ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๑ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๕๓] ร. ทวังคุลกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ทวังคุลกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ ร. การฉันโภชนะในวิกาล เมื่อตะวันบ่ายล่วงแล้วสององคุลี ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์ ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๒ นี้สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๒ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๕๔] ร. คามันตรกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. คามันตรกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ ร. ภิกษุฉันเสร็จห้ามภัตรแล้วคิดว่า จักเข้าละแวกบ้าน ในบัดนี้ ฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์ ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะเป็นอนติริตตะ ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๓ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๓ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๕๕] ร. อาวาสกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. อาวาสกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ ร. อาวาสหลายแห่ง มีสีมาเดียวกัน ทำอุโบสถต่างกัน ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์อุโบสถสังยุต ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดวินัย ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๔ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๔ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๕๖] ร. อนุมติกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. อนุมติกัปปะนั้น คืออะไร ร. สงฆ์เป็นวรรคทำกรรม ด้วยตั้งใจว่า จักให้ภิกษุที่มาแล้วอนุมัติ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองจัมเปยยกะ ปรากฏในเรื่องวินัย ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติทุกกฏ ในเพราะละเมิดวินัย ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๕ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๕ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๕๗] ร. อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. อาจิณณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ ร. การประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌายะของเราเคยประพฤติมา นี้พระอาจารย์ของเราเคยประพฤติมา ควรหรือไม่ ขอรับ ส. อาจิณณกัปปะบางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ขอรับ ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๖ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๖ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๕๘] ร. อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. อมถิตกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ ร. นมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุ ฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์ ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะฉันโภชนะอันเป็นอนติริตตะ ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๗ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๗ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๕๙] ร. การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ชโลคินั้น คืออะไร ขอรับ ร. การดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองโกสัมพี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์ ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๘ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๘ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๖๐] ร. ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองสาวัตถี ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์ ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ต้องตัดเสีย ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๙ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๙ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๖๑] ร. ทองและเงิน ควรหรือไม่ ขอรับ ส. ไม่ควร ขอรับ ร. ทรงห้ามไว้ที่ไหน ส. ในเมืองราชคฤห์ ปรากฏในคัมภีร์สุตตวิภังค์ ร. ต้องอาบัติอะไร ส. ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุที่ ๑๐ นี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุนี้จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้อที่ ๑๐ นี้ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน ฯ [๖๖๒] ร. ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า วัตถุ ๑๐ ประการนี้ สงฆ์วินิจฉัยแล้ว แม้เพราะเหตุนี้ วัตถุ ๑๐ ประการนี้ จึงผิดธรรม ผิดวินัย หลีกเลี่ยงสัตถุศาสน์ ฯ [๖๖๓] พระสัพพกามีกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อธิกรณ์นั่นสงฆ์ชำระแล้ว สงบระงับเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะผม แม้ใน ท่ามกลางสงฆ์ เพื่อประกาศให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ทั่วกัน ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กะท่านพระสัพพกามี แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ท่านพระสัพพกามี อันท่านพระเรวตะถามแล้วๆ ได้วิสัชนา แล้ว ก็ในสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่หย่อน ไม่เกิน เพราะ ฉะนั้น การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ บัณฑิตจึงเรียกว่า แจง ๗๐๐ ดังนี้แล ฯ
สัตตสติกขันธกะ ที่ ๑๒ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๕ เรื่อง
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๘๑๐๖-๘๒๔๘ หน้าที่ ๓๓๖-๓๔๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=8106&Z=8248&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=7&siri=122              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=650              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [650-663] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=650&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- [650-663] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=7&item=650&items=14              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/brahmali#pli-tv-kd22:2.7.24 https://suttacentral.net/pli-tv-kd22/en/horner-brahmali#BD.5.425

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :